การปรับปรุงพันธุ์สัตว์

Animal Breeding

           เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้เกี่ยวกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม  การเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีน  สภาพสมดุลของยีน  การประมาณพารามิเตอร์  ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม  วิธีการคัดเลือกพันธุ์สัตว์  วิธีการผสมพันธุ์สัตว์  แผนการผสมพันธุ์ต่างๆ  รวมทั้งสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์
          เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ปฏิบัติได้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เทคนิค วิธีการต่างๆ  โดยสามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์ และการศึกษาในขั้นสูงกว่าต่อไปในอนาคต
           ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมในลักษณะคุณภาพและปริมาณของปศุสัตว์  การเปลี่ยนความถี่ของยีนและสภาพสมดุลย์ของยีน การประมาณพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม  ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม วิธีการคัดเลือกและผสมพันธุ์สัตว์  แผนการผสมพันธุ์สัตว์เพื่อการค้า  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงพันธุ์
กำหนดวัน เวลา และสถานที่ให้คำปรึกษาทั้งกลุ่มและรายบุคคล คือวันพุธ  เวลา 15.00 ถึง 16.00 น. ณ ห้องสมุด
                   พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อม  โดยมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ  ภายใต้จิตสำนึกและคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม ตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังต่อไปนี้
                    1.1.1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
                    1.1.2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
                    1.1.3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
                    1.1.4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
                   1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง เกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกที่ดี ถูกต้อง เหมาะสมที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกพันธุ์สัตว์และการผสมพันธุ์สัตว์  เช่น  หลักการการคัดเลือก พันธุ์สัตว์เพื่อการผสมพันธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการคัดเลือกสัตว์ก่อนเข้าสู่ระบบการผสมพันธุ์สัตว์อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึกที่ดี ปราศจากอคติและไม่ผืนธรรมชาติ
                   1.2.2 อธิบายกลุ่ม
                   1.2.3 ฝึกปฏิบัติการในการใช้หลักการ หลักเกณฑ์ เทคนิค และวิธีการที่ถูกต้อง เหมาะสม
                   1.3.1 การเข้าเรียนภาคทฤษฏีสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
                   1.3.2 ฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
                   1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาในแต่ละบทปฏิบัติการ
                   ได้รับความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์ด้านความสำคัญการถายทอดทางพันธุกรรมของลักษณะคุณภาพและปริมาณ    การเปลี่ยนความถี่ของยีนและสภาพสมดุลย์ของยีน   การประมาณพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม  ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม วิธีการคัดเลือกและผสมพันธุ์สัตว์  แผนการผสมพันธุ์สัตว์เพื่อการค้า  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงพันธุ์  ซึ่งต้องมีความเข้าใจทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาข้างต้น  ตลอดจนต้องติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้
                   บรรยาย อธิบาย ปฏิบัติงานบุคคลและกลุ่ม  โดยวิเคราะห์กรณีศึกษาต่างๆ  มอบหมายให้ค้นคว้าเพิ่มเติม  แล้วนำมาสรุปและนำเสนอรายงานส่วนบุคคลและกลุ่มตามกรณีศึกษา  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนทุกรายเป็นสำคัญ
                   2.3.1 ทดสอบย่อย  สอบกลางภาค  สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่ใช้วัดความรู้ ความเข้าใจทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
                   2.3.2 ประเมินจากการนำเสนองานตามกรณีศึกษา และการส่งผลงานที่นำเสนอ
                   พัฒนาทักษะการปฏิบัติที่เกิดจากการนำความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
                   3.2.1 มอบหมายให้ปฏิบัติตามกรณีศึกษาที่กำหนด ภายในเวลาที่กำหนด พร้อมกับนำเสนอผลงาน / รายงานทุกครั้ง
                   3.2.2  อภิปรายกลุ่ม
                   3.2.3 ประยุกต์ใช้เทคนิค วิธีการ เทคโนโลยี ฯลฯ กับกรณีศึกษาต่างๆ
                   3.3.1 ทดสอบย่อย  สอบกลางภาค  สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ  ซึ่งต้องใช้ปฏิภาณและไหวพริบในการแก้ปัญหา
                   3.3.2 สังเกตพฤติกรรมที่จำเป็นต้องวิเคราะห์กรณีศึกษา รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ
                   4.1.1 พัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีม เป็นกลุ่ม และร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
                   4.1.2  พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม  โดยมุ่งเน้นความมีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดี
                   4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้เฉพาะตนอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อให้กลุ่มที่ได้รับงานมอบหมาย ปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา
                   4.2.1 แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมตามกรณีศึกษา
                   4.2.2  มอบหมายงานกลุ่ม ทำการบันทึกผลการปฏิบัติตามขั้นตอน  แล้วนำผลมาวิเคราะห์ร่วมกัน และเขียนรายงานบุคคลทั้งกลุ่มต่อไป
                   4.2.3 นำเสนอรายงานโดยมีการหมุนเวียนผู้นำเสนอ ในแต่ละกรณีศึกษา
                   4.3.1 ประเมินจากรายงานการศึกษาส่วนบุคคลตามกรณีศึกษา
                   4.3.2  ประเมินจากผลการนำเสนองานกลุ่มจากผู้สอน ตนเอง และเพื่อนร่วมชั้น
                   5.1.1 พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ การคิดคำนวณด้วยตัวเลข
                   5.1.2 พัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการนำเสนอใน     ชั้นเรียน  โดยใช้เทคนิค วิธีการ รูปแบบ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
                   5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
                   5.2.2 นำเสนอโดยใช้เทคนิค รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
                   มอบหมายให้ปฏิบัติ และค้นคว้าเพิ่มเติม  แล้วนำมาสรุปเป็นรายงาน นำเสนอหน้าชั้นเรียน  โดยเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
                   5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อที่ใช้เทคโนโลยี
                   5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและอธิบายรายละเอียด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 – 3.3 สอบกลางภาค 8 30%
2 4.1 – 5.4 แบ่งสอบบทที่ 4 และ 5 10 15%
3 6.1 - 8.3 สอบปลายภาค 17 25%
4 1.1 - 8.3 - การนำเสนอรายงาน - การทำงานกลุ่มและผลงาน - การอ่านและสรุปบทความ - การส่งงานตามที่มอบหมายรายบุคคล ตลอดภาคการศึกษา 20%
5 1.1 – 8.3 - การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
จรัญ  จันทลักขณา.  2516.  หลักการปรับปรุงพันธุ์สัตว์.  ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร.  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชาญชัย  รอดอนันต์.  2536.  การผสมพันธุ์สัตว์.  ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์บางพระ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
ไพศาล  เหล่าสุวรรณ.  2520.  พันธุศาสตร์.  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สมชัย  จันทร์สว่าง.  2527.  การปรับปรุงพันธุ์สัตว์.  ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จันทร์จรัส  เรี่ยวเดชะและสุวรรณา  กิจภากรณ์.  2530.  รายงานวิจัยเรื่องผลของการผสมพันธุ์เพื่อการผลิตกระต่าย.  ภาควิชาสัตวบาล
      คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยณรงค์  คันธพนิต.  2530.  วัวสายกำแพงแสน 1 และ 2.  ชาวเกษตร.  7(75) : 22-26.
ไพศาล  เหล่าสุวรรณ.  2520.  พันธุศาสตร์.  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ศิริชัย  ศรีพงศ์พันธุ์.  2528.  บทสังเขปการย้ายฝากเอ็มบริโอโค.  โค-กระบือ.  8(2) : 5-9.
สมิต  ยิ้มมงคล.  2530.  การผสมเทียมกับการปรับปรุงพันธุ์โค.  โค-กระบือ.  10(1) : 20-27.
ฉลองชัย  จันทร์เพ็ญ.  2531.  แนะนำกระต่ายพันธุ์ยักษ์จากเยอรมัน.  ชาวเกษตร.  8(2) : 48-55.
ชวนิศนดากร  วรวรรณ.  2520.  การผลิตโคนม.  ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชาญชัย  รอดอนันต์.  2531.  การเลี้ยงกระต่าย.  วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวะศึกษา.  6(2) : 113-119.
ดำรง  ลีลานุรักษ์.  2529.  การพัฒนาโคนมในเขตร้อนของออสเตรเลีย.  โค-กระบือ.  9(4) : 5-36.
บุญญรัตน์  โพธิ์ฉัตรทอง.  2531.  ผลการใช้น้ำเชื้อกระทิงเขาทุยแช่เย็นผสมกับแม่โคนมพันธุ์ผสม.  โค-กระบือ.  11(2) : 28-31.
ประเสริฐ  คงสะเสน และพรรณพิไล  เสกสิทธิ์.  2527.  แนวทางการทดสอบสกุลพ่อโคผสมเทียมกรมปศุสัตว์.  รายงานการวิจัยสาขาผลิตปศุสัตว์
      กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
รังสรรค์  พาลพ่ายและคณะ.  2530.  การย้ายฝากตัวอ่อน (E.T.) ของโคนมในประเทศไทย.  แก่นเกษตร.  15(6) : 271-280.
สมเกียรติ  ทิมพัฒนพงศ์.  2530.  ประวัติการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย.  แก่นเกษตร.  15(6) : 241-250.
สุชีพ  รัตรสาร.  2520.  คู่มือปฏิบัติการเลี้ยงสุกร.  ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุชีพ  รัตรสาร.  2522.  หลักการผลิตสุกร.  เซ็นทรัล เอ็กซ์เพรสศึกษาการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร.
                   การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
                   1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
                   1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
                   ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้ มีกลยุทธ์ดังนี้
                   2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
                   2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
                   หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรม ในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
                   3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
                   3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
                   ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
                   4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
                   4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบรายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
                   จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
                   5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือ ตามข้อเสนอแนะ และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
                   5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ