เทคโนโลยีเครื่องดื่ม

Beverage Technology

เข้าใจความสำคัญของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เข้าใจองค์ประกอบในการทำเครื่องดื่ม นำเทคโนโลยีในการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ไปใช้ได้ มีทักษะในการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เห็นความสำคัญในการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ
1. เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
    กระทรวงศึกษาธิการ
2. เพื่อปรับปรุงรายละเอียดของวิชาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับชนิดและองค์ประกอบของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ ประเภทและวิธีการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น  เครื่องดื่มอัดแก๊สและไม่อัดแก๊ส  น้ำผลไม้  เครื่องดื่มเข้มข้น  เครื่องดื่มผง  สุรา  ไวน์ เบียร์  มีการศึกษานอกสถานที่
3 ชั่วโมง
- พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย ตรงต่อเวลา เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและ - เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัยและสังคม
- มีข้อตกลงกับนักศึกษาเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ในการเข้าชั้นเรียน  โดยนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเงื่อนไข  ผู้สอนบันทึกการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาทุกสัปดาห์
- สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมระหว่างการสอน เช่น ต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น และให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายและสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้เป็นต้น
- สอดแทรกปัญหาผลที่เกิดจากการขาดจิตสำนึกของผู้ผลิตอาหาร เพื่อปลูกจิตสำนึกให้นักศึกษาได้ตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
- พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
- ตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานและการบ้าน
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
- ไม่มีการทุจริตในการทดสอบ
- มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการผลิตเครื่องดื่มในทางอุตสาหกรรม สามารถเชื่อมโยงความรู้กับองค์ความรู้ในรายวิชาอื่นๆ เช่น แปรรูปอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร เคมีอาหาร และรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
- บรรยาย อภิปราย และยกตัวอย่างให้เห็นถึงความเชื่อมโยงหรือความเกี่ยวข้องกัน
- การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุป และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- การสอยย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี
- ประเมินจากรายงานภาคปฏิบัติที่นักศึกษาจัดทำ
- ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
- ความสามารถในการค้นหาข้อมูลสารสนเทศ เรียนรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่สงสัยอันจะนำไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอาหารได้ด้วยตนเอง
- สามารถศึกษาค้นคว้า เข้าถึงแหล่งข้อมูลทางวิชาการ ประมวลและทบทวนเอกสารทางวิชาการการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ
- สามารถใช้ทักษะและความรู้ในรายวิชาเทคโนโลยีเครื่องดื่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และควบคุมกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มได้อย่างมีมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
- สอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) และสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นหรือโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้
- ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเป็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคล และกลุ่ม
- ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
- การทดสอบย่อย การสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
- สามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานภาพ
- ความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งรายบุคคลและงานกลุ่ม
- การเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
- จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาคนอื่นและบุคคลภายนอก
- มอบหมายงานกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น
- กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
- สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มในขณะทำการการทดลองในห้องปฏิบัติการ
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ให้นักศึกษาประเมินนักศึกษาอื่น ๆ ในรายวิชาด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล   
- ทักษะการวางแผนการผลิตอาหารอย่างเป็นกระบวนการ เลือกใช้เทคนิคการถนอมอาหาร และแนวทางการแก้ปัญหาในกระบวนการแปรรูปได้ถูกต้อง
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
- สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
- มีการสอนและอธิบายเชิงทฤษฎีแล้วแสดงขั้นตอนการผลิตและการวิธีการคำนวณที่สอดคล้องกับทฤษฎีเหล่านั้น
- มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสืบค้นกรณีศึกษาเกี่ยวกับวิศวกรรมอาหาร
- แนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศ
- สอนโดยใช้สื่อภาษาอังกฤษร่วมด้วย เพื่อให้นักศึกษาเกิดความคุ้นเคยต่อการศึกษาด้วยตนเอง
- ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์
- ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความสามารถเชิงปฏิบัติการ แสดงออกในการปฏิบัติงานทักษะ มีการจดบันทึกข้อมูลจากการปฏิบัติให้ถูกต้องและ ใกล้เคียงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด
สอนให้มีการปฏิบัติ โดยให้วางแผนการปฏิบัติงานการวัดคุณภาพผลของงานที่ทำ และสรุปความแตกต่างด้วยตนเอง โดยเน้นกระบวนการที่ทำ
1. แบบประเมินกระบวนการ
2. แบบประเมินผลงาน รายงานผลการปฏิบัติงาน
3. การตรงต่อเวลา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล