ปฏิบัติการวงจรไฟฟ้า

Electric Circuits Laboratory

 ให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้าตาม  กฎของโอห์มและเคอร์ชอฟฟ์  สัญญาณแบบซายนูซอยดัล  จำนวนเชิงซ้อน  การวิเคราะห์วงจรตามหลักการวงจรโนด  เมช ทฤษฎีบทของเทเวนินและนอร์ตัน  การตอบสนองต่อเวลา  วงจรไฟฟ้าสามเฟส   การแปลงวงจรสามเฟสระหว่างแบบสตาร์กับแบบเดลต้า  การปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า การถ่ายทอดกำลังไฟฟ้าสูงสุด  และวงจรรีโซแนนซ์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานของการปฏิบัติงาน เป็นการเตรียมความพร้อมปฏิบัติวงจรไฟฟ้าที่จะนำความรู้ ความเข้าใจ  ในวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น ไปใช้กับงานที่เกี่ยวข้อง และใช้เครื่องมือในการวัด การตรวจสอบ ของวงจรไฟฟ้าพื้นฐ่นได้
ปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนในวิชา ENGEE101 วงจรไฟฟ้า Practice in ENGEE101 Electric Circuits.
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การ มีความซื่อสัตย์ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ไขในปัญหาในการทำงานมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2 วิธีการสอน
บรรยายพร้อมและยกตัวอย่าง โดยแสดงวิธการคิดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติวงจรไฟฟ้า  สรุปใบปฏิบัติงานกลุ่ม 3.กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง 
1.3 วิธีการประเมินผล
          1.   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการปฏิบัติงานเป็นทีม           2.   วัดผลจากการประเมินใบปฏิบัติงาน  การนำเสนอผลงาน และสรุปผล           3.  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
       มีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับปฏิบัติวงจรไฟฟ้าพื้นฐาน  กฎของโอห์มและเคอร์ชอฟฟ์  สัญญาณแบบซายนูซอยดัล  จำนวนเชิงซ้อน  การวิเคราะห์วงจรตามหลักการวงจรโนด  เมช ทฤษฎีบทของเทเวนินและนอร์ตัน  การตอบสนองต่อเวลา  วงจรไฟฟ้าสามเฟส   การแปลงวงจรสามเฟสระหว่างแบบสตาร์กับแบบเดลต้า  การปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า การถ่ายทอดกำลังไฟฟ้าสูงสุด  และวงจรรีโซแนนซ์
2.2 วิธีการสอน
อ้างอิงจากรายวิชาทฤษฎี และกำหนดใบปฏิบัติงานตามรายวิชา พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำทำการทดลองใบปฏิบัติงานแต่หัวข้อเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตามเจตนาของรายวิชา โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1   สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทางทฤษฏีที่ใช้สำหรับการปฏิบัติใบงาน 2.3.2   ประเมินจากการใบปฏิบัติงาน และสรุปผล
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถสรุปผลการปฏิบัติงานได้
3.2 วิธีการสอน
3.2.1  สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาจากวงจรไฟฟ้าด้วยสัญญาณแบบต่างๆ 3.2.2   สามารถปฏิบัติงานตามการต่อวงจรไฟฟ้า และหลักความปลอดภัยได้ 3.2.3   สรุปผลการปฏิบัติงานในการนำวงจรไฟฟ้าไปใช้ให้เหมาะสมและถูกต้องได้ 3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ ปฏิบัติตามขั้นตอนได้
3.3 วิธีการประเมินผล
          3.3.1   สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทางทฤษฏีที่ใช้สำหรับการปฏิบัติใบงาน           3.3.2   ประเมินจากการใบปฏิบัติงาน และสรุปผล           3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา และลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2 วิธีการสอน
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.2   มอบหมายงานโดยการกำหนดโจทย์สำหรับการปฏิบัติงานวงจรไฟฟ้า
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1  ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 4.3.2  ประเมินจากใบปฏิบัติงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3  ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน หรือใบปฏิบัติงาน 5.1.2   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.2 วิธีการสอน
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  เอกสาร ตำราเรียน 5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1   ประเมินจากรายงานหรือใบปฏิบัติงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย วิธีการอภิปราย และสรุปผล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล