ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ

English for Business Communication

เพื่อศึกษาภาษาอังกฤษที่ใช้ในธุรกิจโดยเน้นการฝึกทักษะการเขียนจดหมายโต้ตอบทางธุรกิจชนิดต่างๆ เช่นจดหมายสอบถาม จดหมายตอบสอบถาม
2.1 เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักและเข้าใจตนเอง สร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและบุคลิกภาพ มีวินัย กล้าแสดงออก มีจิตสาธารณะและสามารถทำงานเป็นหมู่คณะ 2.2 เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะด้านภาษา สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้องและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 2.3 เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะทางปัญญา มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ 2.4 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง รู้เท่าทันเหตุการณ์และสามารถนำความรู้ ไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข 2.5 เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม ความเป็นไทย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสามารถดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ศึกษาภาษาอังกฤษที่ใช้ในธุรกิจโดยเน้นการฝึกทักษะการเขียนจดหมายโต้ตอบทางธุรกิจชนิดต่างๆ เช่นจดหมายสอบถาม จดหมายตอบสอบถาม จดหมายร้องเรียน ตอบการร้องเรียน จดหมายสมัครงาน ประวัติส่วนตัวเพื่อการสมัครงาน (E-Resume) รวมทั้งการเขียนบันทึกข้อความและจดหมายอิเล็คทรอนิคส์ (E-Mail)
- อาจารย์ประจำรายวิชา กำหนดเวลาในการให้คำปรึกษา
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะอันเป็นที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการ
- ให้ความรู้และปลูกฝังให้น.ศ.มีระเบียบวินัยโดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ
- กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
- เน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาและแต่งกายให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
- การส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
- การเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมหาวิทยาลัยฯ คณะฯ สโมสรนักศึกษาฯ สาขาฯ หลักสูตรฯ และชมรมได้จัดขึ้น
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม ภาษา การสื่อสาร และความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ส่วนในหลักการปฏิบัติเน้นการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสารอย่างเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์
 -   ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  -  ศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน -  การประยุกต์ใช้ความรู้โดยร่วมกลุ่มอภิปรายคำตอบและระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด -  ศึกษาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีต่างๆเช่น แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ  -  ฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาโดยการแสดงบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จริง  -  การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
- การทดสอบย่อย
- ทดสอบกลางภาคและปลายภาค
- การร่วมกิจกรรมกลุ่มและการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
- การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมและงานมอบหมายอื่นๆ
พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียนและจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียนมาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ เช่น ทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์และบริบททางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
-  ให้นักศึกษาฝึกแก้ไขปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในสถานการณ์การสื่อสาร ตามเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่กำหนด ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย -  ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อเสนอแนะวิธีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ตามบริบทของวัฒนธรรมเฉพาะที่กำหนดในกรณีศึกษา จากนั้นอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะให้แก่กัน
- บทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จำลอง
- การทำกิจกรรมในชั้นเรียนตลอดจนการแก้ไขปัญหาในบริบทต่างๆ
- การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
- การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดีทั้งต่ออาจารย์ผู้สอนเพื่อนร่วมชั้นเรียนสังคมภายนอกชั้นเรียน และกลุ่มสังคมอื่น ๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความตระหนักรู้และมีความเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของกลุ่มสังคมต่าง ๆ รู้แนวทางการปฏิบัติตนตามมารยาทสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ รวมถึงส่งเสริมการนำความรู้นั้นมาช่วยเหลือสังคมในสถานการณ์การสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
- ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติและการวางตนให้เหมาะสมกับกาลเทศะของแต่ละวัฒนธรรม
- จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษามีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถเข้าร่วมกลุ่ม
ได้อย่างสร้างสรรค์
- ทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน ตลอดจนงานมอบหมายโดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการ
ค้นคว้าหรือสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มวัฒนธรรมที่มีแตกต่างกัน
- การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
- แบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
- การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์การสื่อสารเฉพาะ ตามบริบทของวัฒนธรรมสากล
- นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเช่น การใช้ e-mail
- นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียน
ผ่านทางบทเรียนออนไลน์หรือเว็บไซต์ต่างๆ
- นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนองาน
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าข้อมูล
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองาน
- การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BBABA739 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1 - 8 ทดสอบกลางภาค, ทดสอบปลายภาค 9, 17 25%, 25%
2 1-8 ทดสอบย่อย กิจกรรม งานมอบหมายและการนำเสนองาน ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1-8 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
Watcharaporn Nimnual. 2006. Business Correspondence. Triple Education.
Watcharaporn Nimnual. 2006. Business Correspondence. Triple Education.
Parisuthiman, S. (2005). Bangkok: Thammasat University Press.
Rimkeeratikul, S. (2005). English for work. Bangkok: Thammasat University Press.
Shearn, R., Ferris, A., & Tackett, G. (2012). Bangkok: Cengage Learning.
https://www.youtube.com/watch?v=HVK-xbdddhA
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
- การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
- ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
- สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
- สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
- ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา
- ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
- ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน
- สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
- สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
- ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ตามที่ได้ทดสอบไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
- มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ
- ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
- ปรับปรุงเนื้อหาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี