สถิติวิศวกรรม

Engineering Statistics

ศึกษาและทบทวนความรู้พื้นฐานด้านสถิติวิศวกรรม เช่น ทฤษฏีความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม การสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าสถิติ เข้าใจวิธีการตัดสินใจแบบมีการทดลองและไม่มีการทดลอง รู้วิธีการทดสอบสมมติฐานแบบพาราเมตริกและแบบนอนพาราเมตริก สามารถวิเคราะห์ความแปรปรวนเนื่องจากปัจจัยเดียวและสองปัจจัยได้ สามารถใช้ตัวแบบอนุกรมเวลา สามารถวิเคราะห์การถดถอย สหสัมพันธ์ และเข้าใจการออกแบบการทดลองทางสถิติเบื้องต้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้วิธีการทางสถิติเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จึงมีการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้และตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการผลิตที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ทบทวนความรู้พื้นฐานด้านสถิติวิศวกรรม เช่น ทฤษฏีความน่าจะเป็นตัวแปรสุ่ม การสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าสถิติ ศึกษาการตัดสินใจแบบมีการทดลองและไม่มีการทดลอง การทดสอบสมมติฐาน แบบพาราเมตริก และแบบนอนพาราเมตริก การวิเคราะห์ความแปรปรวนเนื่องจากปัจจัยเดียว และสองปัจจัย แบบอนุกรมเวลา การวิเคราะห์การถดถอย สหสัมพันธ์ และการออกแบบการทดลองทางสถิติเบื้องต้น
- อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงว่างของการเรียน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษา มอบหมายงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพ

ระเบียบข้อบังคับ
1.3.1 ประเมินผลจากการเข้าเรียน
1.3.2 ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตและตรงเวลา
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมการตอบข้อซักถามและการยกตัวอย่างเปรียบเทียบใน ด้านการรักษากฎระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคมองค์กรให้เห็นความมีคุณค่า มีเกียรติ รู้สึกภูมิใจในตนเองและสถาบัน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 บรรยายหลักการ ทฤษฎี ตามคำอธิบายรายวิชา อภิปรายระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
2.2.2 ยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
2.2.3 มอบหมายงานเป็นกลุ่ม
2.2.4 สรุปเนื้อหาบทเรียน
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาคด้วยข้อสอบ
3.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
3.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ
3.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
3.1.5 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
3.2.1 มอบหมายงาน
3.3.1 พิจารณาจากผลงานที่มอบหมาย
3.3.2 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม
4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.3 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.4 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 มอบหมายงานให้ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม, รายบุคคล และมีการนำเสนองานแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น
4.3.1 ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
4.3.2 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
 
5.1.3 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.4 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 นำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.2 อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 อธิบายวิธีการใช้เครื่องคำนวณในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
5.3.1 ผลจากการประเมินการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.3.2 ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการอภิปรายกลุ่มโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGIE101 สถิติวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2.2 , 2.2.3,2.3.1, 3.2.1,4.2.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 18 30% 40%
2 2.1.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า รายงานและการนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 15%
3 1.3.1 4.2.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 1.3.2, 3.3.1 , 4.3.1 การส่งงานตามเวลาที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 5%
รศ.กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ (2550), สถิติสำหรับงานวิศวกรรม เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 9, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น, กรุงเทพฯ
1. ผศ.ดร.ประไพศรี สุทัศน์ ณ อยุธยา และ ผศ.ดร.พงศ์ชนัน เหลืองไพบูลย์ (), สถิติวิศวกรรม (Engineering Statistics), พิมพ์ครั้งที่ 1, บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ

2. Montgomery, D.C. and G.C. Runger (2002), Applied Statistics and Probability for Engineers, 3rd Edition, John Wiley & Son Inc., New York
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์

2. http://www.statistics.ob.tc/basic.htm
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- การสะท้อนคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- ประเมินผลโดยคณะวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินตาม PM-14
- อาจารย์ผู้สอนประเมินผลการสอนของตนเองโดยดูพฤติกรรมการเรียนและผลการสอบของนักศึกษา
- ประชุมผู้สอนเทอมละ 1 ครั้ง เพื่อสรุปประเด็นปัญหาเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอน
- การวิจัยในชั้นเรียน
- อาจารย์มีการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมในการให้คะแนน
- มีการทวนสอบการให้คะแนนในข้อสอบ รายงาน โดยอาจารย์ท่านอื่นที่สอนในรายวิชาเดียวกัน
- จัดทำคลังข้อสอบมาตรฐานสำหรับรายวิชา
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือ ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
- ทำการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อหาค่าความยากง่าย