มนุษยสัมพันธ์

Human Relations

1. เข้าใจธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์
2. สามารถใช้มนุษยสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของตนเอง 3. เห็นความสำคัญและนำความรู้ทางมนุษยสัมพันธ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางมนุษยสัมพันธ์ที่มีความทันสมัยและสื่อสารได้ถูกต้องสมบูรณ์ สามารถทำงานได้ และเป็นผู้นำกลุ่ม และนำความความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไป
ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ ทฤษฎีที่เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์การใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงานและการเป็นผู้นำ การสื่อสารเพื่อสร้างมนุษ ตามพื้นฐานวัฒนธรรมไทนและวัฒนธรรมสากลสัมพันธ์
ให้นักศึกษาติดต่อโดยตรงและให้ติดต่อผ่านทาง e-mail เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียนและสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
˜1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
š1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
˜1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
˜1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1 จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2 สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา1.3 สร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
1.4 ส่งเสริมให้นักศึกษารับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเคารพในคุณค่าและศักดิ“ศรีของความเป็นมนุษย์รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม ยกย่องและเชิดชูผู้ที่ทำความดีและเสียสละ
1.1 การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักใน คุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1. 2 การประเมินจากแบบทด
สอบ

การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบ หมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม

1.4 การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
˜2.2 มีสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการเเละเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
˜2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์
2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนี้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ
2. 2 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงาน หรือการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรให้ความรู้
2.3 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2. 1 การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
2.2 รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
2.3 ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills)
˜3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
š3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
3. 1 จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการกับการเรียนการสอนกับการทำงาน
3.2 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
3. 3 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกปฎิบัติผ่านทางบทบาทสมมุติในสถานการณ์จำลอง
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่นในสถานประกอบการ
3.3.2 การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ใขปัญหา และสื่อสารในบริบทต่างๆ
3.3.3 การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
˜4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
˜4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
˜4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังได้อย่างเหมาะสม
4.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
4.2 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและ ผู้ตาม
4.3 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
4.4 มอบหมายให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง
4. 1 การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
4.2 พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
4.3 พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา
4. 4 พฤติกรรมและผลการประเมินการให้บริการวิชาการของนักศึกษา
˜5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
š5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. 1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารการค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
5. 2 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
5.3 จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
5. 1 การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
5. 2 ผลงานของนักศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย
5..3 พฤติกรรมและความสามารถในการใช้ภาษาของนักศึกษาเพื่อสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 GEBSO104 มนุษยสัมพันธ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1-4 บทที่ 5-9 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 20% 20%
2 การส่งงานตามที่มอบหมาย ทำคลิปวิดีโอ การศึกษาค้นคว้าและการนำเสนอ การเข้าร่วมกิจกรรมและการฝึกปฏิบัติ การทำงานกลุ่ม วิเคราะห์ภาพยนตร์ วิเคราะห์ข่าว ทดสอบย่อย ใบงาน ตลอดภาคการศึกษา 50%
3 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
สุกัญญา รุ่งทองใบสุรีย์และคณะ, มนุษยสัมพันธ์, เอกสารประกอบการสอนวิชามนุษยสัมพันธ์, ภาควิชาสังคมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ปทุมธานี
- เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางมนุษยสัมพันธ์
- นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา วิธีการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และการให้ข้อเสนอแนะของนักศึกษา โดยนักศึกษาประเมินผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย
- นักศึกษาเสนอแนะกิจกรรมการเรียนการสอนในสัปดาห์แรกของการเรียน
- นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนของผู้สอนในสัปดาห์สุดท้าย
- นักศึกษาประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมต่างๆ ที่สอดแทรกในบทเรียน
- นักศึกษาประเมินการนำเสนอของเพื่อนที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
- สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียน และการอภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน
- สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
- ประเมินผลจากการนำเสนอและผลงานที่ได้รับมอบหมาย
- ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
- ปรับปรุงเอกสาร เนื้อหา ตำรา สื่อการสอน ให้มีความทันสมัย ทันต่อปัญหาและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา
- ให้นักศึกษาศึกษาความรู้ทางจิตวิทยาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้จากกรณีศึกษา ข่าว หรือเหตุการณ์ปัจจุบัน
- นำผลการประเมินที่ได้จากนักศึกษามาปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
- จัดให้มีการสัมมนาการจัดการเรียนการสอนหรือให้คณาจารย์ได้เข้ารับการอบรมแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการพัฒนารายวิชาให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
- สนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
- สังเกตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเรียนและการใช้ชีวิต การมีวินัย ความรับผิดชอบในการเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามเวลาที่กำหนด
- ระหว่างมีการเรียนการสอน ผู้สอนตรวจสอบความก้าวหน้าของนักศึกษาแต่ละคนจากแบบฝึกหัดและงานที่มอบหมาย โดยผู้สอนแจ้งผลการวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และหาแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน
- มีการจัดตั้งคณะกรรมการในแผนก/สาขา เพื่อตรวจสอบ ประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ผู้สอน และผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบจากวิธีการออกข้อสอบ วิธีการวัดและประเมินผลที่อิงการให้น้ำหนักคะแนนและเกณฑ์ที่ผ่านในรายย่อย
- แผนกวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยผู้เรียน และคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์ในการสอนที่ใช้ และนำเสนอต่อสาขาวิชา และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง โดยให้ข้อคิดเห็นและสรุปวางแผน พัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอต่อแผนกวิชา/สาขา/คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป
- วิชามนุษยสัมพันธ์ ต้องปรับปรุง เอกสาร ตำรา เนื้อหา กิจกรรมการสอน และสื่อการสอน ทุก 2 ปี เพราะปัญหาทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้แก่นักศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเนื้อหาอย่างละเอียด ลึกซึ้ง และสามารถนำไปปรับใช้ในชิตประจำวันได้