เตรียมสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

Pre Co-operative Education and Job Internship in Business Information Systems

 
เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ภายใต้การกำกับดูแลของพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการและอาจารย์ที่ปรึกษา สหกิจศึกษาทำให้นักศึกษามีความรู้และประสบการณ์ พร้อมทำงานได้ทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษา
การปฏิบัติสหกิจศึกษาหรือการฝึกงาน เป็นการเสริมทักษะและประสบการณ์ให้นักศึกษามีความพร้อมสำหรับการทำงานทั้งในระหว่างที่ศึกษาและหลังสำเร็จการศึกษา โดยนักศึกษาจะได้นำความรู้จากภาคทฤษฎีไปสู่การฝึกการปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนด ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จะช่วยให้นักศึกษาเห็นภาพที่แท้จริงในการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาทราบความต้องการในการทำงานที่แท้จริงทั้งของตนเองและหน่วยงาน/สถานประกอบการ การปฏิบัติสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานจะทำให้นักศึกษาตระหนักถึงภาระหน้าที่รับผิดชอบต่อตนเอง หลักสูตรสาขาวิชา มหาวิทยาลัย และหน่วยงาน /สถานประกอบการ และเป็นการเพิ่มทักษะ ความรู้ที่จำเป็นก่อนการทำงานจริง การฝึกระเบียบวินัย ความตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรของหน่วยงาน/สถานประกอบการได้ นักศึกษาปฏิบัติสหกิจศึกษาหรือฝึกงานที่ดีจะต้องศึกษาข้อมูล กฎ ระเบียบของหน่วยงาน/สถานประกอบการ ก่อนเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มีสติและมีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตรงต่อเวลา ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด รักษาชื่อเสียงและเกียรติภูมิของตนเอง หลักสูตรสาขาวิชา คณะและมหาวิทยาลัย การพัฒนาปรับปรุงรายวิชาเพื่อเป็นรายวิชาที่นักศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการทำงาน ทำให้มีการพัฒนามาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน ซึ่งถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาที่จะทำงานในวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อสำเร็จการศึกษา
การฝึกงานทางบริหารธุรกิจ (Job Internship in Business Administration) ศึกษาการปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นักศึกษาจะเข้าฝึกปฏิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานนั้น โดยมีพนักงานที่ปรึกษาที่องค์กรมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานของนักศึกษา มีการกำหนดลักษณะแผนงานการปฏิบัติงานให้นักศึกษา และนักศึกษาจะต้องทำรายงานภายหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานเพื่อการประเมินผลการศึกษา
1 ชั่วโมง
การพัฒนาผลการเรียนรู้ในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่มุ่งหวัง ต้องสอดคล้องกับที่ระบุไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) มาตรฐานผลการเรียนรู้ แต่ละด้านจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับความรู้หรือทักษะมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ต้องการจะพัฒนาจากประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการ กระบวนการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องพัฒนาความรู้หรือทักษะและวิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่เกี่ยวข้องดังนี้ นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณวิชาชีพในการใช้ความรู้และทักษะทางวิชาชีพการบริหารธุรกิจในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำงานของตนต่อองค์กร การพัฒนาผลการเรียนรู้ในรายวิชาสหกิจศึกษาด้านคุณธรรมจริยธรรมมีดังนี้ 1)  มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 2)  มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันและสังคม 3)  สามารบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม 4)  มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1)  การปฐมนิเทศนักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นพนักงานที่ดีในสถานประกอบการด้านคุณธรรมจริยธรรม เช่น การวางตน ระเบียบวินัย วัฒนธรรมองค์กรที่พึงปฏิบัติ การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ การรักษาความลับของสถานประกอบการ ความขยันหมั่นเพียร อดทนเอื้อเฟื้อต่อสมาชิกในการทำงาน 2)  การจัดทำแผนปฏิบัติงานโดยกำหนดภาระงาน ขอบเขตของงาน ตารางเวลาปฏิบัติงาน การบันทึกเวลาปฏิบัติงาน 3)  การมอบหมาย กำหนดเวลา ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการเช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร 4)  การประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
1)  ประเมินผลการทำงานของนักศึกษา โดยพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยง ประเมินจากแบบบันทึกเวลาทำงานของนักศึกษา การสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างปฏิบัติงานให้มีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยทุกครั้ง 2)  การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา จากแบบบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติงานของนักศึกษา การสัมภาษณ์พนักงานที่ปรึกษา เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างานและผู้เกี่ยวข้อง และบันทึกผลการประเมิน
นักศึกษาต้องสามารถบูรณาการความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางวิชาชีพ และด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีองค์ความรู้ใหม่โดยเรียนรู้จากทำงานในสถานประกอบการ การพัฒนผลการเรียนรู้ในรายวิชาสหกิจศึกษาด้านความรู้ มีดังนี้ 1)  มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบริหารธุรกิจ 2)  มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบริหารธุรกิจโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 3)  มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบริหารธุรกิจและอื่นๆ  โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
1)  สถานประกอบการจัดพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำในด้านวิชาการและการปฏิบัติงาน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และทำงานได้ด้วยตนเองเยี่ยงพนักงานของสถานประกอบการ 2)  อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาให้คำปรึกษาทางวิชาการและวิชาชีพ และให้คำแนะนำในการปรับตัวให้เข้ากับการปฏิบัติงาน 3)  อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษากับพนักงานที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง จัดประชุมสัมมนาร่วมกัน เพื่อพัฒนาความรู้ การติดตามงานที่มอบหมายให้กับนักศึกษาในระยะเวลาที่กำหนด
1)  ประเมินผลความสามารถในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักศึกษา 2)  ประเมินผลรายงานโครงงานของนักศึกษา 3)  ประเมินผลรายงานบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติงานของนักศึกษา
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาสติปัญญาของตนเองโดยเรียนรู้จากการทำงาน การแก้ไขปัญหาการแสวงหาข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ตลอดจนทักษะการใช้ความเข้าใจ ดุลพินิจในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่การงานได้ การพัฒนาผลการเรียนรู้ในรายวิชาสหกิจศึกษาด้านทักษะทางปัญญา มีดังนี้ 1)  ความสามารถสืบค้น ประมวลข้อมูล หลักฐาน แนวคิดต่างๆ ในการระบุและการวิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตนเอง 2)  สามารถประยุกต์ความรู้ทางการบริหารธุรกิจและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 3)  สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1)  การกำหนดโจทย์ปัญหาหรือโครงงานหรืองานที่สถานประกอบการต้องการให้นักศึกษาได้ศึกษาและวิเคราะห์ผลสรุปประเด็นปัญหา 2)  การจัดทำรายงานผลการศึกษาและนำเสนอผลงานของโครงงานหรือการปฏิบัติงาน 3)  การกำกับดูแลการปฏิบัติงานของนักศึกาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
1)  การประเมินผลจากรายงานโครงงานหรือการปฏิบัติงานที่นักศึกษาจัดทำโดยพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยง 2)  การประเมินผลจากรายงานโครงงานหรือการปฏิบัติงานและความสมบูรณ์ของงานที่นักศึกษานำเสนอ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา 3)  การประเมินผลความสามารถในการทำงานของนักศึกษาจากรายงานบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติ
นักศึกษาต้องพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบ และพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างกัน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาผลการเรียนรู้ในรายวิชาสหกิจศึกษาด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีดังนี้ 1)  สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 2)  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 3)  สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำหรือบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน 4)  มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพการบริหารธุรกิจของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1)  การประเมินผลการปฏิบัติงานนักศึกษา โดยการสังเกต การสัมภาษณ์ การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 2)  การมอบหมายงานที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน 3)  ประชุมร่วมกันระหว่างนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาและพนักงานที่ปรึกาหรือพนักงานพี่เลี้ยง เพื่อมอบหมายงาน ติดตามงานและการประเมินผล
1)  การประเมินผลการปฏิบัติงานนักศึกษา โดยใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานหรือผู้เกี่ยวข้อง 2)  การประเมินผลจากการได้รับมอบหมายงานจากพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยง
นักศึกษาต้องพัฒนาทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารให้เข้าใจ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย การพัฒนาผลการเรียนรู้ในรายวิชาสหกิจศึกษาด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้ 1)  มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง 2)  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่าง 3)  สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
1)  การมอบหมายงานที่ต้องใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณและนำเสนอข้อมูลอย่างครบถ้วนและถูกต้อง 2)  การปฏิบัติงานในหน้าที่ที่มีการติดต่อสื่อสาร การมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ กับสถานประกอบการ 3)  การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในการแก้ปัญหาหรือนำเสนอผลงาน
1)  การประเมินผลรายงานกิจกรรมการปฏิบัติงานในสถานประกอบการของนักศึกษา 2)  การประเมินผลรายงานและการนำเสนอโครงงานของนักศึกษา
นักศึกษาต้องพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบ และพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างกัน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาผลการเรียนรู้ในรายวิชาสหกิจศึกษาด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีดังนี้ 1)  สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 2)  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 3)  สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำหรือบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน 4)  มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพการบริหารธุรกิจของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1)  สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 2)  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 3)  สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำหรือบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน 4)  มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพการบริหารธุรกิจของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1)  การประเมินผลการปฏิบัติงานนักศึกษา โดยใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานหรือผู้เกี่ยวข้อง 2)  การประเมินผลจากการได้รับมอบหมายงานจากพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม 1) มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ 2) มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดพอประมาณ 3) มีความเคารพต่อกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1) ประเมินผลการทำงานของนักศึกษา โดยพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยง ประเมินจากแบบบันทึกเวลาทำงานของนักศึกษา การสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างปฏิบัติงานให้มีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยทุกครั้ง 2) การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา จากแบบบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติงานของนักศึกษา การสัมภาษณ์พนักงานที่ปรึกษา เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างานและผู้เกี่ยวข้อง และบันทึกผลการประเมิน 17 10
2 ด้านความรู้ 1) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ 2) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งปรับปรุงแผนงาน 1) ประเมินผลความสามารถในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักศึกษา 2) ประเมินผลรายงานโครงงานของนักศึกษา 3) ประเมินผลรายงานบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติงานของนักศึกษา 17 20
3 ด้านทักษะทางปัญญา 1) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรมหรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ 2) สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเหมาะสม 3) สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้ 1) การประเมินผลจากรายงานโครงงานหรือการปฏิบัติงานที่นักศึกษาจัดทำโดยพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยง 2) การประเมินผลจากรายงานโครงงานหรือการปฏิบัติงานและความสมบูรณ์ของงานที่นักศึกษานำเสนอ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา 3) การประเมินผลความสามารถในการทำงานของนักศึกษาจากรายงานบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติ 17 20
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 1) มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา 2) มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ 3) มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวัดที่เหมาะสม 4) มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ 1) การประเมินผลการปฏิบัติงานนักศึกษา โดยใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานหรือผู้เกี่ยวข้อง 2) การประเมินผลจากการได้รับมอบหมายงานจากพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยง 14 20
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1) ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี 2) ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน 1) การประเมินผลรายงานกิจกรรมการปฏิบัติงานในสถานประกอบการของนักศึกษา 2) การประเมินผลรายงานและการนำเสนอโครงงานของนักศึกษา 17 10
6 ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-On) 1) สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นามาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง 2) สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดาเนินชีวิต 1) ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนาเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม 2) พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 3) พฤติกรรมที่แสดงออกจากการเข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ ตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน 4) การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5) นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้ 17 20
คู่มือสหกิจศึกษา (Cooperative Education Handbook) สำหรับนักศึกษาและคณาจารย์นิเทศ การเขียนรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา/ฝึกงาน
คู่มือสหกิจศึกษา (Cooperative Education Handbook) สำหรับนักศึกษาและคณาจารย์นิเทศ
คู่มือสหกิจศึกษา (Cooperative Education Handbook) สำหรับนักศึกษาและคณาจารย์นิเทศ การเขียนรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา/ฝึกงาน
การปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์ภาคสนามในสถานประกอบการระบบสหกิจศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร กำหนดให้มีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1)  การรับสมัครและคัดเลือกนักศึกษาให้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด 2)  การปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนการออกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ 3) การเรียนรู้และการปฏิบัติงานจริงร่วมกับบุคคลอื่นในสถานประกอบการในเรื่องเกี่ยวกับ ก.  การเรียนรู้วิธีการทำงานในสถานประกอบการ ข.  การนำความรู้ในวิชาชีพมาประยุกต์ใช้กับงานที่ได้รับมอบหมาย ค.  การสัมมาร่วมกันระหว่างนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบระหว่างการปฏิบัติ เพื่อรับทราบข้อมูลจากการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนาระบบสหกิจศึกษา ง.  การจัดทำรายงานสหกิจศึกษา ในรูปโครงงานหรือการปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่ผ่านความเห็นชอบของพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยง และการให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกาสหกิจศึกษา 4)  การปัจฉิมนิเทศและการนำเสนอผลงานโครงงานหลังจากสิ้นสุดการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ รายงานหรืองานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย 1)  รายงานหรืองานที่ได้รับมอบหมาย  -  ชื่อโครงงานหรืองานที่ได้รับมอบหมาย -  การกำหนดแผนการจัดทำรายงานหรือโครงงาน -  ผลการวิเคราะห์งานหรือโครงการ -  การสรุปผล -  การรายงานผล 2)  กำหนดส่งรายงานหรืองานที่ได้รับมอบหมาย หลังสิ้นสุดการปฏิบัติงาน 1 สัปดาห์ การติดตามผลการเรียนรู้ภายหลังสิ้นสุดการปฏิบัติงานในสถานประกอบการของนักศึกษา 1)  การจัดการประชุมผู้เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา และให้นักศึกษานำเสนอการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานจริง 2)  อาจารย์ที่ปรึกาสหกิจศึกาชี้นำให้เห็นความสำคัญและผลกระทบต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่มีต่อการทำงานในอนาคต 3)  การนำผลการประเมินนักศึกษาสหกิจศึกษามานำเสนอและอภิปราย เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาครั้งต่อไป 4)  สนับสนุนให้นำปัญหาที่พบในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษามาเป็นกรณีศึกษาหรือโจทย์ในการทำโครงงานต่อไป หน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงของสถานประกอบการที่ดูแลกิจกรรมในการปฏิบัติงานจริง 1)  การตรวจสอบแผนปฏิบัติงานของนักศึกษา 2)  การจัดกิจกรรมสำหรับการพัฒนาทักษะของนักศึกษา ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา 3)  การให้คำแนะนำแก่นักศึกษาเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง กฎระเบียบ ข้อบังคับ วัฒนธรรมของหน่วยงาน 4)  ติดตามความก้าวหน้า การประเมินผลการปฏิบัติงาน รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา 5)  ประสานงานร่วมประชุมกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาเพื่อให้ความเห็นในการปรับปรุงในการทำงานของนักศึกษา 6)  ให้คำปรึกษาในงานโครงงานหรือรายงานผลการปฏิบัติงานและร่วมประเมินผลงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา หน้าที่และความรับผิดชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา 1)  การให้คำปรึกษา การประสานและร่วมวางแผนกับพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงของสถานประกอบการ 2)  การวางแผนสำหรับการออกนิเทศนักศึกษา 3)  ให้คำปรึกษาหรือแนะนำแก่นักศึกษาเกี่ยวกับทักษะการทำงานในองค์กร 4)  การประเมินผลนักศึกษา 5)  ให้คำปรึกษาในงานโครงงานหรือรายงานผลการปฏิบัติงานและร่วมประเมินผลงานกับพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยง 6)  สอบทานปรับปรุงแผนงานระบบสหกิจศึกษาเป็นระยะๆ การเตรียมการในการแนะแนวและช่วยเหลือนักศึกษา 1)  ปฐมนิเทศพร้อมให้เอกสารคู่มือการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาก่อนการออกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ 2)  จัดอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกาดำเนินการนิเทศนักศึกษา ซึ่งต้องกำหนดแผนการนิเทศล่วงหน้า 3)  ประสานงานกับสถานประกอบการในเรื่องการจัดพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษารวมถึงการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา สิ่งอำนวยความสะดวกและการสนับสนุนที่ต้องการจากสถานที่ที่จัดการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ 1)  พนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงที่คอยให้คำปรึกษาและแนะนำ 2)  สวัสดิการที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานของนักศึกษา เช่น ที่พัก ค่าตอบแทน 3)  ค่าใช้จ่ายที่สนับสนุนในการเดินทางกรณีที่ให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ (ถ้ามี) 4)  คู่มือที่ใช้ในการประกอบการทำงาน ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน 5)  แหล่งข้อมูลเพื่อการค้นคว้าและการเรียนรู้ด้วยตนเอง
หลักการประเมินการสอน การประเมินผลการเรียนรู้ ผู้ประเมินเพื่อการบรรลุผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 6 ด้าน ดังนี้ สถานประกอบการหรือพนักงานที่ปรึกษา ผู้ประเมิน         40 คะแนน อาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมสหกิจศึกษา                   10 คะแนน อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา                                   50 คะแนน รวมคะแนน                                            100 คะแนน การกำหนดค่าระดับคะแนน คือ คะแนน  80 – 100     ระดับคะแนนเกรด A คะแนน  75 – 79                 ระดับคะแนนเกรด B+ คะแนน  70 – 74                 ระดับคะแนนเกรด B คะแนน  65 – 69                 ระดับคะแนนเกรด C+ คะแนน  60 – 64                 ระดับคะแนนเกรด C คะแนน  55 – 59                 ระดับคะแนนเกรด D+ คะแนน  50 – 54                 ระดับคะแนนเกรด D คะแนน  0 – 49                   ระดับคะแนนเกรด F กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา 1)  นักศึกษาประเมินตนเองจากบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 2)  พนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาจาก ก.  แบบประเมินการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ข.  แบบประเมินรายงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา 3)  อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา อาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษาประเมินผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาจาก ก.  แบบบันทึกการนิเทศงานสหกิจศึกษา ข.  แบบประเมินรายงานและการนำเสนอของนักศึกษาสหกิจศึกษา ความรับผิดชอบของพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงต่อการประเมินนักศึกษา พนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงจะให้ข้อมูล คำปรึกษา คำแนะนำ การสอนงาน การปฏิบัติตนในองค์กร ในระหว่างที่นักศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา รวมถึงการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและการจัดทำรายงานและมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาที่อยู่ในความดูแล ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบสหกิจศึกษาต่อการประเมินนักศึกษา 1)  การจัดปฐมนิเทศ การสัมมนานักศึกษาระหว่างการออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา การจัดปัจฉิมนิเทศ 2)  การจัดตารางนิเทศงานสหกิจศึกษา 3)  การให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา 4)  การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนรายงาน การบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา การสรุปผลการประเมินที่แตกต่าง อาจารย์ผู้รับผิดชอบสหกิจศึกษา หัวหน้าสาขาวิชา และหรือหน่วยงานสหกิจศึกษา ประสานงานกับสถานประกอบการเพื่อทำความเข้าใจในผลการประเมินหากเกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ โดยประชุมร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องและพิจารณาหาข้อสรุป
การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของการฝึกประสบการณ์ภาคสนามจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1)  นักศึกษา นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาโดยการตอบแบบสอบถามการปฏิบัติสหกิจศึกษา 2)  พนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ มีส่วนร่วมในการประเมินสหกิจศึกาว่ากิจกรรมได้จัดองค์ความรู้ให้นักศึกษาเรียนรู้ครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือไม่ 3)  อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษา ประเมินสหกิจศึกษาทั้งในส่วนสถานประกอบการและกิจกรรมที่จัดให้ปฏิบัติงานทำให้นักศึกษามีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่คาดหวังหรือไม่ 4)  บัณฑิตจบใหม่ ติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของบัณฑิตที่ตรงตามวิชาชีพการบริหารธุรกิจ โดยสำรวจแบบสอบถามจากผู้ประกอบการและบัณฑิตใหม่
1)  อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษา ประมวลผลการจัดสหกิจศึกษาจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากนักศึกษา พนักงานพี่เลี้ยง จัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอหัวหน้าสาขาบริหารธุรกิจ 2)  ประชุมคณะกรรมการสหกิจศึกษาระดับคณะ เพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับการใช้ในรอบปีการศึกษาต่อไป โดยนำไปแสดงในรายงานผลการดำเนินการประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ. 6) และรายงานผลการดำเนินการหลักสูตร (มคอ. 7)
การวางแผนและการเตรียมการ การกำหนดสถานประกอบการ 1)  หน่วยงานหรืออาจารย์ที่รับผิดชอบสหกิจศึกษา พิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการที่ยินดีรับนักศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา โดยดูจากลักษณะงานที่เหมาะสม ตรงหรือสอดคล้องสัมพันธ์กับสาขาวิชาชีพของนักศึกษา และมีความพร้อมในเรื่องต่างๆ ดังนี้ ก.  เข้าใจและสนับสนุนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ข.  สามารถจัดพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงเพื่อดูแลนักศึกษาได้ ค.  มีความปลอดภัยของสถานที่ตั้ง ความเหมาะสมในการเดินทาง และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ง.  วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามลักษณะวิชาชีพ จ.  ยินดีและเต็มใจให้นักศึกษามาฝึกปฏิบัติงาน 2)  หน่วยงานหรืออาจารย์ที่รับผิดชอบสหกิจศึกษาควรประสานงานดำเนินการล่วงหน้าก่อนที่นักศึกษาออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา อย่างน้อย 4 เดือน การจัดนักศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษาควรเป็นไปตามความสมัครใจ โดยนักศึกษาอาจหาสถานประกอบการเองแต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสาขาวิชา การเตรียมนักศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบสหกิจศึกษาจัดปฐมนิเทศสหกิจศึกษา พร้อมมอบคู่มือการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ควรดำเนินการก่อนการออกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ เนื้อหาที่กำหนดในการปฐมนิเทศ ประกอบด้วย  1)  จุดมุ่งหมายในการออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 2)  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 3)  การปฏิบัติตนระหว่างการปฏิบัติงาน 4)  กิจกรรมที่จัดให้นักศึกษาระหว่างการปฏิบัติงาน 5)  การจัดอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา 6)  การติดตามประเมินผล 7)  การวางตนในสถานประกอบการ 8)  การป้องกันหลีกเลี่ยงอันตรายจากการฝึกงาน 9)  การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการก่อนการออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษาการเตรียมอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา 1)  จัดประชุมชี้แจงก่อนนักศึกษาออกปฏิบัติงาน เพื่อทำความเข้าใจจุดมุ่งหมายของสหกิจศึกษา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกา การดูแลนักศึกษา กิจกรรมและตารางเวลาการปฏิบัติงานของนักศึกษา การติดตามและการประเมินผลนักศึกษา 2)  จัดสรรนักศึกษาให้อยู่ในความดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาตามความเชี่ยวชาญของอาจารย์ ให้สอดคล้องกับโจทย์โครงงานหรือปัญหาที่สถานประกอบการต้องการ การเตรียมพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงในสถานประกอบการ จัดประชุมพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงเพื่อชี้แจ้งให้ทราบ และติดต่อประสานงานระหว่างพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงของสถานประกอบการกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัย 1)  วัตถุประสงค์ที่คาดหวังจากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 2)  การบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติงานของนักศึกษา 3)  แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 4)  การตรวจประเมินรายงานโครงการหรือการปฏิบัติงาน 5)  รายละเอียดในคู่มือสหกิจศึกษา การจัดการความเสี่ยง อาจารย์ผู้รับผิดชอบสหกิจศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาประชุมร่วมกันเพื่อประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับนักศึกษาและก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถานประกอบการ เช่น 1)  ความเสี่ยงจากการเดินทาง สภาพแวดล้อมของสถานประกอบการ 2)  ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุจากการทำงาน 3)  ความเสี่ยงจากจริยธรรมในการทำงาน