จิตวิทยาองค์การ

Organizational Psychology

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา  1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับศึกษาความหมาย  ความเป็นมา ขอบข่ายของวิชาจิตวิทยาองค์การ  2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับระบบองค์การ สภาพแวดล้อมในการทำงาน การบริหาร  การทำงานเป็นทีม การสรรหา การคัดเลือก และการพัฒนาบุคลากร 3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต
 
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา              เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางจิตวิทยาองค์การที่มีความทันสมัยและถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  และนำความความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันและสังคมต่อไป
ศึกษาความหมายและขอบข่ายของวิชาจิตวิทยาองค์การ ระบบองค์การ พฤติกรรมบุคคลในองค์การ สภาพแวดล้อมในการทำงาน การบริหารและการทำงานเป็นทีม การสรรหา การคัดเลือก การพัฒนาบุคลากร
 -   อาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาติดต่อโดยตรง ติดต่อผ่านทาง e-mail  เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำ              ทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ  โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
 -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์               (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. คุณธรรม จริยธรรม 1.1    คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา 1.1.1    เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 1.1.2    มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.1.3    ตระหนักในคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม และความมีเหตุผล 1.1.4    มีความเสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต 1.1.5    เคารพกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างของสถาบัน องค์กร และสังคม 1.1.6    มีความเป็นผู้นำ มีภาวะความเป็นผู้นำ ผู้ตาม ทำงานเป็นทีมได้ 1.1.7    มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ  
1.2    วิธีการสอน   1.2.1    กำหนดนโยบายการเรียนการสอน 1.2.2    บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง พร้อมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 1.2.3    มอบหมายงาน กำหนด ติดตามควบคุม ให้นักศึกษาปฏิบัติงานได้ถูกต้อง 1.2.4    ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน นำเสนองาน ซักถาม ความคิดเห็น และข้อปรับปรุงข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้งานมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 1.2.5    ประเมินผลการปฎิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
1.3 วิธีการประเมินผล 1.3.1   การเข้าชั้นเรียน 1.3.2   ส่งงานตามที่กำหนด 1.3.3   มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน 1.3.4   ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายหน้าชั้นเรียน โดยโปรแกรมPower point วีดิทัศน์                   และอื่น ๆ 1.3.5   ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงานและต้องมีเอกสาร อ้างอิงอย่างน้อย 5 เล่ม
2. ความรู้ 2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ                นักศึกษาต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับความหมายของจิตวิทยา บทบาทของจิตวิทยาองค์การต่อการพัฒนาองค์การ เข้าใจพฤติกรรมของของพนักงานในองค์การเพื่อตอบสนองความต้องการให้กับพนักงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เข้าใจหลักการสรรหา การคัดเลือก ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้ที่รู้จักเพิ่มพูนความรู้ความสามารถตลอดเวลา มีความสุขในการทำงาน งานที่ทำมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้องค์บรรลุวัตถุประสงค์ตรงตามเป้าหมาย
2.2 วิธีการสอน บรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องติดตามข่าว  สารคดี  เศรษฐกิจพอเพียงตามหัวข้อที่เรียน โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning) 
2.3 วิธีการประเมินผล 2.3.1   กิจกรรมชั้นเรียน 2.3.2   รูปเล่มรายงาน 2.3.3   การนำเสนองานในชั้นเรียน 2.3.4   การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
3. ทักษะทางปัญญา       3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา 3.1.1   มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ 3.1.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ    การสอนวิชาจิตวิทยาเพื่อการดำเนินชีวิตและการทำงานเป็นการสอนให้นักศึกษาเข้าใจรากฐานในการเกิดพฤติกรรมของตนเอง เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลอื่น และเข้าใจสิ่งแวดล้อมพร้อมปรับตัวเองให้สามารถอยู่ได้ทุกสถานการณ์อย่างมีความสุข  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อการคิดและตัดสินใจ  ที่ดีและถูกต้อง สามารถอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคมได้    และเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
3.2 วิธีการสอน 3.2.1   การบรรยายประกอบสื่อการสอน และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน 3.2.2   ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อน                        รายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point 3.2.3   ให้นักศึกษาดู Clip , วีดีทัศน์ , สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ , โฆษณา , นิทาน                       แล้วร่วมวิพากษ์วิเคราะห์ในชั้นเรียน  3.2.4   เกมส์ / กิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน 3.2.5   การเลือกทำโครงการตามที่นักศึกษาสนใจ การลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล และการนำเสนอผลงาน
 
3.3 วิธีการประเมินผล 3.3.1   การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา 3.3.2   รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน   3.3.3   สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค   
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ   4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 4.1.1   มีน้ำใจต่อผู้อื่นในสังคม  ไม่เห็นแก่ตัว 4.1.2   มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบ 4.1.3   แลกเปลี่ยน  รวมถึงแบ่งปันองค์ความรู้ต่อเพื่อนร่วมงาน 4.1.4   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม - พัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์  การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน   - พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม - พัฒนาทักษะคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพ  ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม   
4.2 วิธีการสอน 4.2.1   จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม 4.2.2   กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ  4.2.3   ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุป            เพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม   4.2.4   กรณีศึกษา            - สื่อจาก Clip , วีดีทัศน์, สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ , โฆษณา  และนิทาน น
4.3 วิธีการประเมินผล 4.3.1  ให้นักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ 4.3.2  ครูประเมินตามแบบการนำเสนอ 4.3.3  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 4.3.4  การคิดวิเคราะห์จากกรณีศึกษา Clip , วีดีทัศน์, สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ ,           โฆษณา  และนิทาน  
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 5.1.1   พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูล   5.1.2   พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สื่อ            จาก Internet  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนด้านการเพิ่มพูนความรู้  
5.2 วิธีการสอน 5.2.1   ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD,                           วีดีทัศน์  และเทปเสียง 5.2.2   การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point และ/หรือ Clip   
5.3 วิธีการประเมินผล 5.3.1   ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2 ด้านความรู้ 3 ด้านทักษะทางปัญญา 4 ด้านทักษะความสัมพันธฺระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 13062005 จิตวิทยาองค์การ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.3 2.1,2.3 การทดสอบย่อยครั้งที่ 1 7 5%
2 3.1,3.2 4.1,4.3 การทดสอบย่อยครั้งที่ 2 16 5%
3 1.1 - 2.31.2 สอบกลางภาค 8 20%
4 3.1 - 5.3 สอบปลายภาค 17 30%
5 2.3 , 4.1, 4.4,5.2 วิเคราะห์กรณีศึกษา/ค้นคว้า/การนำเสนอแบ่งกลุ่มอภิปราย โดยใช้ Power point ตลอดภาคการศึกษา 10%
6 3.3,4.4 5.3 การบูรณาการการเรียนรู้ การลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล การนำเสนองาน ตลอดภาคการศึกษา 20%
7 1.1 - 5.3 3.3 การเข้าชั้นเรียน, จิตพิสัย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก   บุญมั่น ธนาศุภวัมน์. จิตวิทยาองค์การ. โอเดียนสโตร์:กรุงเทพฯ. ครั้งที่ 1 : 2559
2. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ  กันยา สุวรรณแสง  จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพฯ : รวมสาสน์  พิมพ์ครั้งที่ 5, 2544.  จิราภา  เต็งไตรรัตน์ และคณะ  จิตวิทยาทั่วไป  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2 , 2543. ดวงกมล เวชบรรยงรัตน์ และคณะ จิตวิทยาทั่วไป  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2539. ทิพยวรรณ  กิตติพร จิตวิทยาทั่วไป  พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร 2543. นพมาศ ธีรเวคิน  จิตวิทยาสังคมกับชีวิต  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่3, 2542. นพมาศ ธีรเวคิน  ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2540. ประมวล ดิคคินสัน  จิตวัฒนา:จิตวิทยาเบื้องต้น กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช พิมพ์ครั้งที่ 2 , 2524.
3. เอกสารและข้อมูลแนะนำ
พิสมัย วิบูลย์สวัสดิ์ และคณะ  จิตวิทยาทั่วไป  เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ช้างเผือก 2527. ไพบูลย์ เทวรักษ์  จิตวิทยา กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ เอส ดี เพรส 2537. สุชา จันทร์เอม และสุรางค์ จันทร์เอม  สุขภาพจิต  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา 2521. สุชา จันทร์เอม  จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชจำกัด 2542.       
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความคิดเห็นจากนักศึกษาดังนี้ 1.1    การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2    นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3    นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน  
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน       การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้ 2.1   สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนในการอภิปรายรายกลุ่มใหญ่ 2.2   สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน 2.3   ประเมินจากผลการนำเสนอ 2.4   ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค 
3. การปรับปรุงการสอน หลังจากการประเมินผลในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอนวิชานี้ คือ 3.1   แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัย 3.2   ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ 3.3   ทำวิจัยในและนอกชั้นเรียน 3.4   การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา  ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา การตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนน ของนักศึกษาแต่ละคน และแจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนภายหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้ 4.1   การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1   วิชาจิตวิทยาองค์การต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 3 ปี  5.2   เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้ 5.3   จัดดำเนินโครงการในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย และต่อเนื่อง 5.4   จัดทัศนศึกษานอกพื้นที่  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนและได้ประสบการณ์จริง  5.5   ให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนในการพัฒนามหาวิทยาลัย พัฒนาชุมชนและสังคม