การฟัง พูดในชีวิตประจำวัน

Listening and Speaking in Everyday Life

          1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความสุขและสนุกที่ได้เรียนทักษะพื้นฐานของการฟังและพูดภาษาอังกฤษ
          1.2 นักศึกษาจะได้เรียนการใช้สำนวน (idioms) คำสแลง (Slang) และคำศัพท์ที่ใช้ในการฟังพูดต่างๆ
          1.3 นักศึกษาได้เข้าใจถึงรูปแบบการใช้ภาษาทางการและไม่เป็นทางการที่ใช้โดยเจ้าของภาษา
          1.4 นักศึกษาได้ฝึกฟังและพูดผ่านทางกิจกรรมและแบบฝึกหัดออนไลน์ต่างๆ
         เพื่อให้นักศึกษาได้มีการพัฒนาทักษะการฟังและพูดของตนเองผ่านหัวข้อและกิจกรรมต่างๆที่ได้เรียนในรายวิชานี้ ซึ่งหัวข้อและกิจกรรมต่างๆเหล่านี้จะช่วยเพิ่มและพัฒนาความรู้ทางด้านคำศัพท์และทักษะการฟังของนักศึกษาอีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษากล้าพูดกล้าแสดงออกอีกด้วย
รายวิชานี้จัดสอนเพื่อให้นักศึกษาได้มีการพัฒนาทักษะการฟังและพูดของตนเองผ่านหัวข้อและกิจกรรมต่างๆที่ได้เรียนในรายวิชานี้ ซึ่งหัวข้อและกิจกรรมต่างๆเหล่านี้จะช่วยเพิ่มและพัฒนาความรู้ทางด้านคำศัพท์และทักษะการฟังของนักศึกษาอีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษากล้าพูดกล้าแสดงออกและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ หรือ เบอร์โทรศัพท์ส่วนตัว
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.  ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral)
š1.3 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
˜1.4 มีภาวะความเป็นผู้นำผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
 
1. ประเมินจากการสังเกตุพฤติกรรมของนักศึกษาว่ามีทักษะผู้นำในการทำกิจกรรมและทักษะในการทำงานเป็นทีมในชั้นเรียนหรือไม่
2. ความตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน
3. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ได้รับมอบหมาย 4. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
ประเมินการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา และปฏิบัติตนในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. การประเมินจากแบบทดสอบ
3. การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ได้รับมอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
4. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม
2.  ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge)
 ˜ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตาม ความก้าวหน้าทวงวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
˜ 2.2 มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและดำรงชีวิตประจำวัน
   
2.2.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
2.2.2 ผลการฝึกปฏิบัติ / การทำกิจกรรมของนักศึกษา
1. การสอบย่อย การสอบกลางภาคและการปลายภาค
2. รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบแบบทดสอบ
3. ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
4. ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
 
3.  ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills)
š3.3 คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษาและประสบการณ์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
   
ประเมินจากการสังเกตุพฤติกรรมของนักศึกษาว่ามีวิจารณญาณ การคิดเป็นระบบในการทำกิจกรรมและทักษะในการทำงานเป็นทีมในชั้นเรียนและดูคะแนนจากการทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
 
1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ในสถานประกอบการ
2. การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบนริบทต่างๆ
3. การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จำลอง
 
4.  ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility)
˜4.5 สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   
1. Cooperative Team Learning
2. Role play
 
4.1 ให้นักศึกษาประเมินกันเองในกิจกรรมกลุ่มโดยฝึกการฟังและพูดภาษาอังกฤษระหว่างตัวนักศึกาด้วยกันเอง 4.2 ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม/เดี่ยวโดยมีกิจกรรมที่นักศึกษาต้องพูดตามสถานการณ์ต่างๆให้ได้ 4.3 สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
5.  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical  Analysis, Communication  and Information Technology Skills)
5.2 ส่งเสริมและพัฒนาให้นักศึกษาสามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิค วิธีการ เครื่องมือสื่อสาร และเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
     
1. Cooperative Team Learning
2. Jigsaw Reading
3. Brainstorming,
4. Role play
ดูจากการเรียนในแต่ละครั้งและผลการศึกษาจากเว็บไซต์ที่มอบหมาย ความรู้ที่ได้รับ ผลการเรียนหลังการศึกษาค้นคว้า และการฝึกฝนด้วยตนเอง
6.  ด้านทักษะพิสัย
 ˜6.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
  
1. Cooperative Team Learning
2. Jigsaw Reading
3. Brainstorming,
4. Role play
 
ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม/เดี่ยวโดยมีกิจกรรมที่นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติตามสถานการณ์ต่างๆให้ได้  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC106 การฟัง พูดในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1, 2, 3, 4, 5, 6 1, 2, 3, 4, 5, 6 1, 2, 3, 4, 5, 6 Quizzes Midterm Final Listening and speaking exercises 2,4,6,9 8 16 10,12,14 15% 20% 20% 15%
2 All units except midterms, finals and class performance Skill in Speaking Skill in Listening All weeks excepts tests and quizzes days 10% 10%
3 3, 6 Role – play and group discussion 7, 15 10%
Chatpunnarangsee, Kwanjira. Conversation Matters.  Thammasat University Press. 2008.
Ruangprach, Nantawan. English for Business Communication 2. Triple Education LTD. 2005.
Narinrat, Siriluck, et al. Listening Skill Development, English for International Communication,    Faculty of Business and Liberal Arts
Audio CDs (CNN NewsBits)
http://www.google.com
    http://www.britishcouncil.com
    http://www.youtube.com
    http://www.examenglish.com
    http://www.dkefe.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
                      2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา
                      2.3   ประเมินจากผลการสอบกลางภาค ปลายภาคและผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน
3.2   สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
3.3   สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
                      ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
5.3   ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี