การบัญชีชั้นสูง 2

Advanced Accounting 2

เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และวิธีการต่างๆ ทางการบัญชีสำหรับการรวมกิจการ เงินลงทุนในบริษัทย่อยและรวม ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบัน การทำงบการเงินรวม งบกระแสเงินสดรวม การบัญชีเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา และกิจการที่มีปัญหายุ่งยากทางการเงิน กิจการไม่หวังผลกำไร และการบัญชีกองทุน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ วิธีการจัดทำงบการเงินรวมสำหรับกลุ่มกิจการที่มี โครงสร้างแบบบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้า การจัดทำบัญชี กองทุนหรือกิจการที่ไม่หวังผลกำไร และอื่นๆ ตามความสนใจของนักศึกษา เพื่อฝึกหัดการนำ แนวคิด หลักการ และวิธีการทางบัญชี ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบันไปใช้ในทางปฏิบัติอย่างถูกต้อง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
การพัฒนาความสามารถของนักศึกษา ในการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบัน เฉพาะฉบับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา การใช้ศัพท์เทคนิคทางการบัญชี อย่างถูกต้อง
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชี สำหรับการรวมธุรกิจในรูปแบบต่างๆ การบัญชีสำหรับบริษัทร่วม บริษัทใหญ่ บริษัทย่อยและกิจการร่วมค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ การทำงบการเงินรวม งบกระแสเงินสดรวม การบัญชรเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา และกิจการที่มีปัญหายุ่งยากทางการเงิน กิจการไม่หวังผลกำไร และการบัญชีกองทุน และกิจการไม่หวังผลกำไร
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
 
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

อธิบายจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีได้ สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และ ข้อตกลงการเรียนได้ สามารถทำงานที่มอบหมายทั้งงานกลุ่ม และงานเดียว ภายในเวลาที่กำหนดได้
1) การบรรยายและกรณีศึกษา เกี่ยวกับ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
2) กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน และระเบียบปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับนักศึกษา ได้แก่ การลงทะเบียน การสอบ วินัยนักศึกษา การเข้าเรียน การทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นกลุ่ม การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
3) การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม นักศึกษา และจรรยาบรรณ
1) ติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน สัปดาห์ละครั้ง ตลอดภาคการศึกษา และให้คะแนน 10%
แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และวิธีการทางการบัญชีเกี่ยวกับ การรวมธุรกิจ การบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วม บริษัทย่อย และวิธีการบัญชีการจัดทำงบการเงินรวมของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน การบัญชีเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา กิจการที่มีปัญหายุ่งยากทางการเงิน การบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร ความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ พระราชบัญญัตบริษัทมหาชน ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานทางการเงิน การดำเนินงานของกิจการไม่หวังผลกำไร เทคนิคการจัดทำและนำเสนองบการเงินรวม บริษัทใหญ่และบริษัทย่อย และการรวมกิจการ สามารถระบุได้ประเด็นสำคัญการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง
1) การบรรยาย ยกตัวอย่าง และ การถาม-ตอบในชั้นเรียน
2) การฝึกหัดแก้ไขโจทย์ปัญหา
1) การทดสอบย่อย
2) การสอบกลางภาค
3) การสอบปลายภาค
สามารถสืบค้นงบการเงินรวมจากเวปไซต์ อ่านและอธิบายฐานะการเงิน ผลประกอบการในภาพรวมได้ สามารถประยุกต์ความรู้ด้านการรวมธุรกิจ สู่แนวทางการปฏิบัติการจัดทำงบการเงินรวมตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผล เกี่ยวกับงบการเงินรวม และระบบบัญชีของกิจการที่ไม่หวังผลกำไรได้
1) การบรรยาย ยกตัวอย่าง และ การถาม-ตอบในชั้นเรียน
2) การให้นักศึกษาแสดงมโนทัศน์และการสรุปความรู้ เกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินรวมของบริษัทใหญ่ และบริษัทย่อย และการสรุปความรู้
3) การฝึกหัดแก้ไขโจทย์ปัญหา
1) การทดสอบย่อย
2) การสอบกลางภาค
3) การสอบปลายภาค
4) คุณภาพงานที่มอบหมายให้ทำ
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่มได้ และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมของกลุ่มได้ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มงาน มีความรับผิดชอบในการพัฒนาความรู้ และทักษะทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1) ทำงานกลุ่มมี 2 หัวข้อให้เลือก การบัญชีสำหรับกิจการไม่หวังผลกำไร หรือการบัญชีกองทุน โดยนักศึกษาสามารถกำหนดกิจการเป้าหมายได้เอง โดยทำเป็นรูปเล่มรายงานผลการศึกษา
2) ให้นักศึกษาจัดทำสื่อประกอบการรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
 
1) คุณภาพของรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
สามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์งบการเงินรวม ในการอธิบายความแตกต่างในฐานะการเงิน และ ผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท กับของบริษัทใหญ่ สามารถรายงานผลการศึกษาค้นคว้า ทั้งการรายงานด้วยวาจา และการเขียนรายงาน ที่เหมาะสมกับกลุ่มเรียน สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
1) ทำรายงานกลุ่ม มี 2 หัวข้อให้เลือก การบัญชีสำหรับกิจการไม่หวังผลกำไร หรือ การบัญชีกองทุน โดยนักศึกษาสามารถกำหนดกิจการเป้าหมายได้เอง
2) จัดทำสื่อประกอบการรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1) คุณภาพของสื่อ และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม 1. มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนตคิที่ดีต่อวิชาชีพ 2. สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม 3. มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม 1. มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฏี หลักการ และวิธีการทางบัญชี 2. มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 3. มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยวิธีการเรียนรู้ประสบการณ์ 4. สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงวทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 1. ความสามรถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 1. สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 2. สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน 1. มีมนุษยสัมพันธ์ทมี่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 1. สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 2. มีความริดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในทบบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน 3. มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง 1. มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แต้ง
1 11011301 การบัญชีชั้นสูง 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-8 และ 10-16 การสอบย่อย 2-7 และ 10-16 25%
2 1-8 การสอบกลางภาค 9 25%
3 10-16 การสอบปลายภาค 18 25%
4 1-16 การส่งงาน การรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้น 1-17 15%
5 1-17 การสังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียน 1-17 10%
สุรชัย เอมอักษร. การบัญชีชั้นสูง 2. ปรับปรุง2555.
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ปรับปรุง 2559 ฉบับที่3 เรื่องการรวมธุรกิจ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ปรับปรุง 2559 ฉบับที่10 เรื่องงบการเงินรวม
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ปรับปรุง 2559 ฉบับที่11 เรื่องการร่วมการงาน
มาตรฐานการบัญชี ปรับปรุง 2559 ฉบับที่1 เรื่องการนำเสนองบการเงิน
มาตรฐานการบัญชี ปรับปรุง 2559 ฉบับที่7 เรื่องงบกระแสเงินสด
มาตรฐานการบัญชี ปรับปรุง 2559 ฉบับที่21 เรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
มาตรฐานการบัญชี ปรับปรุง 2559 ฉบับที่27 เรื่องงบการเงินเฉพาะกิจการ
มาตรฐานการบัญชี ปรับปรุง 2559 ฉบับที่28 เรื่องเงินลงทุนนบริษัทร่วมและการร่วมค้า
มาตรฐานการบัญชี ปรับปรุง 2559 ฉบับที่31 เรื่องส่วนได้เสียในการร่วมค้า
มาตรฐานการบัญชีไทย ปรับปรุง 2559 ฉบับที่104 เรื่องการบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา
ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ที่ควรติดตาม ได้แก่ ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียน และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้จาก เวปไซต์ ต่อไปนี้
www.fap.or.th
www.sec.or.th
www.bot.or.th
www.set.or.th
www.rd.go.th
ใช้การทดสอบย่อยในแต่ละบท
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยในช่วง 3 สัปดาห์สุดท้ายก่อนสอบปลายภาค
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการบัญชี และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่เกี่ยวข้อง
ให้อาจารย์ผู้สอน เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบ และ การตัดเกรด
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ เป็นผู้นำเสนอข้อสอบ และ การตัดเกรด ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2 ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และเนื้อหารายวิชา