การส่งเสริมการประมง

Fisheries Extension

1.รู้ความสำคัญนโยบายและขอบข่ายงานส่งเสริมการประมง
2.เข้าใจกระบวนการเรียนรู้และการเผยแพร่ความรู้  ด้านการส่งเสริมการประมง
3.เข้าใจวิธีการส่งเสริมและการวางแผนงานการส่งเสริมการประมง
4.วิเคราะห์และประเมินผลการส่งเสริมการประมง
5.มีทัศนคติที่ดีต่องานการส่งเสริมการประมง
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถและเจตคติที่ดีในการบูรณาการส่งเสริมการประมง
2.  เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถอธิบายเรื่องกระบวนการเรียนรู้และการเผยแพร่ความรู้ และเข้าใจแนวทางการส่งเสริมการประมง
3. เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการดำรงชีพ และการประกอบอาชีพในอนาคต
ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญและความจำเป็นพื้นฐานของการส่งเสริมการประมง  นโยบาย  และขอบเขตงานส่งเสริมการประมง  การเรียนรู้และการเผยแพร่ความรู้ด้านการส่งเสริมการประมง  หลักการและรูปแบบการส่งเสริมการประมง   การวางแผนและกระบวนการส่งเสริมการประมง การประมวลและวิเคราะห์ผลการส่งเสริมการประมง
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
    - มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
   - สอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะที่สอนเนื้อหา โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- ร้อยละ 90 ของนักศึกษา เข้าเรียนตรงเวลา
- ร้อยละ 95 ของนักศึกษา ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด
- ไม่มีการทุจริตในการสอบ
- มีวินัยต่อการเรียน ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
- มีความรู้ ความเข้าใจ ทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของวิชาที่ศึกษา
-  ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต    เป็นต้น
- มอบหมายนักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติมและจัดทำเป็นรายงานตลอดจนนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
-  ทดสอบโดยสอบข้อเขียนในการการทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
-  การประเมินผลจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- มีทักษะทางการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ
- การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning:: PBL)
            - ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
            -แนะนำให้ใช้ความรู้ทางทฤษฏีเพื่อการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานในการส่งเสริมการประมง ตามที่ได้รับมอบหมาย
- ฝึกให้วิเคราะห์ปัญหาจากกรณีศึกษาที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว โดยให้ไปค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ ร่วมกับการค้นคว้าจากฐานข้อมูล
- ทดสอบโดยข้อเขียน และสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน
- ดูจากรายงาน การนำเสนอรายงานและการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นในชั้นเรียน
- มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
- สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
- มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษา   ทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
- ให้นักศึกษาแบ่งงานและกำหนดความรับผิดชอบของแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
- ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานที่ทำเป็นกลุ่มหรือโครงงาน
- ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ
- สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
-สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
- มีการนำเสนองานกลุ่มต่อชั้นเรียน พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อเน้นให้นักศึกษาใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจนและกระชับ
- กำหนดให้มีการนำเสนอในรูปแบบของ PowerPoint
- ประเมินจากผลงานที่ต้องวิเคราะห์เชิงปริมาณ
- ประเมินจากการใช้สื่อและภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานและการนำเสนอในชั้นเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1
บุญธรรม  จิตต์อนันต์. 2356. ส่งเสริมการเกษตร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพฯ. 255 หน้า.
ข้อมูล/ สถิติของ กรมประมง กรมส่งเสริมการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร, กรมปศุสัตว์  วีดีทัศน์ ประชาสัมพันธ์ต่างๆ www.youtube.com
วัลลภ  พรหมทอง. 2541. หลักและวิธีส่งเสริมการเกษตร. สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์. กรุงเทพฯ 137 หน้า.
     จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพในรายวิชานี้ดังนี้
            - การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
            - แบบประเมินผู้สอนและรายวิชา
จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพในรายวิชานี้ดังนี้
            - การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
            - แบบประเมินผู้สอนและรายวิชา
- หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหารือกับอาจารย์ที่สอนวิชาอื่น ๆ ในสาขาวิชา และสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา
- มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ โดยให้อาจารย์ที่ไม่ได้ร่วมสอนช่วยประเมินหัวข้อ เนื้อหา ข้อสอบผลการเรียน และการตัดเกรด
- ปรับปรุงวิธีการสอนทุกปี
-ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4