อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

Industrial Electronics

1. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้นิยามและความหมายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง
2. อธิบายการทำงานของอุปกรณ์ไทริสเตอร์
3. อธิบายการควบคุมการนำกระแสและหยุดนำกระแสของอุปกรณ์ไทริสเตอร์
4. อธิบายวิธีการควบคุมอุปกรณ์ไทริสเตอร์แบบอัตโนมัติ
5. ประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์ไทริสเตอร์ในการควบคุมกำลังไฟฟ้าได้
6. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
         ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในงานอุตสาหกรรม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง ไทริสเตอร์ สัญญาณควบคุมไทริสเตอร์ การจุดชนวน การควบคุมเฟส การควบคุมอัตโนมัติโดยอาศัยอุปกรณ์ตรวจจับและอุปกรณ์ขับ กรณีศึกษา การนำเสนอ โครงงานย่อย
         Study of practice of electronic devices used in industrial works, power electronic devices, thyristor, thyristor controlling signal, triggering, phase controller, automatic controller utilizing detectors and driver devices, case study, presentation and mini project.
อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษา ที่บอร์ดหน้าห้องพัก อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของส่วนบุคคล การรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ในการอยู่ร่วมกับเพื่อนทั้งในห้องเรียนและที่บ้าน มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กรสังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
       1.2.1    สอดแทรกในการบรรยาย
       1.2.2    กำหนดให้นักศึกษาทำรายงานเป็นกลุ่มเพื่อฝึกร่วมมือและการทำงานเป็นทีม
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   การแต่งกายอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลจากการทำงานกลุ่ม
           2.1.1 มีความรู้เข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อ และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
           2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเทชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
           2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
           2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
           2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
บรรยาย และซักถาม ตัวอย่างการคำนวณ และกำหนดโจทย์การบ้าน
           สอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
           ตรวจสอบกระบวนการคิดจากโจทย์การบ้านและผลของงานที่มอบหมาย
 3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี  
 3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปกระเด็นปัญหาและความต้องการ
 3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
 3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
บรรยาย ซักถาม การสร้างและนำเสนอโครงงานย่อย
            3.3.1 พิจารณาจากผลการทำโครงงานย่อย การวิเคราะห์หรือแนวคิดที่ใช้ในการออกแบบ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
            3.3.2 ตรวจสอบกระบวนการคิดของนักศึกษาจากโจทย์การบ้านและผลของชิ้นงาน
            4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
            4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่มรวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
 
            4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
            4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
            4.1.5  มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงานและการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
กำหนดให้นักศึกษาทำรายงาน หรืองานที่มอบหมาย
ประเมินจากผลการทำรายงานหรืองานที่มอบหมาย
            5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
           5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
           5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
           5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
           5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
บรรยาย และกำหนดโจทย์การบ้านที่ต้องอาศัยทักษะการคำนวณและทักษะการคนคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลสาระสนเทศ
ตรวจสอบกระบวนการคิด กระบวนการพัฒนาของนักศึกษาจากงานที่มอบหมาย
             6.1.1 ให้มีทักษะในการบริหารจัดการด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             6.1.2 ให้มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการบ่างหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
 - กำหนดให้นักศึกษาทำโครงงานย่อย ที่เกี่ยวกับการควบคุมกำลังไฟฟ้า
                   - ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน การวางแผนทำโครงการย่อย และการนำเสนอ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม คุณธรรม จริยธรรม โดยการสังเกต ทุกครั้ง 10%
2 ความรู้ การสอบ 7 และ 15 30%
3 ทักษะทางปัญญา การสอบ 7 และ 15 40%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ ตรวจสอบรายงานกลุ่ม 6, 14 10%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตรวจสอบงานที่มอบหมาย 7, 15 10%
1. อุดมศักดิ์  ยั่งยืน ผ.ศ., “อิเล็กทรอนิกส์กำลัง”, ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี, เมษายน 2528.
2.ดำรง  จีนขาวขำ ผ.ศ., “อิเล็กทรอนิกส์กำลัง 2”, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2543.