โครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

Business Information System Project

1. ใช้ความรู้รวบยอดที่ได้เรียนมาและศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อการทำการวิจัยด้านคอมพิวเตอร์หรือด้านระบบสารสนเทศ
2. เสนอหัวข้อโครงงานตามความเห็นชอบของคณะกรรมการ
3. ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบ
4. ทดสอบและปรับปรุงระบบตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ
5. ติดตั้งระบบเพื่อประเมินผลการใช้ระบบ
6. รายงานการวิจัยของโครงงานต่อคณะกรรมการ
เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ความรู้รวบยอดที่ได้เรียนมาและศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ทำการค้นคว้าวิจัยหัวข้อและเนื้อหา โดยเลือกหัวข้อโครงงานทางด้านคอมพิวเตอร์หรือทางด้านระบบสารสนเทศ จากหัวข้อโครงงานที่อาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาหรือนักศึกษากำหนดขึ้นโดยความเห็นชอบของอาจารย์ประจำหลักสูตร นักศึกษาต้องเขียนรายงาน และนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อแต่งตั้งขึ้นโดยหัวหน้าหลักสูตร
   - อาจารย์ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
   - อาจารย์ประจำวิชา ประกาศให้คำปรึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์
1.1.1 มีความรู้คาวมเข้าใจหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณาวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
1.1.2 มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
1.1.3 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.4 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.5 มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม
1.2.1 กล่าวถึงมารยาท การมีวินัย และความตรงต่อเวลาในกาเรียนรู้ร่วมกัน
1.2.2 บอกถึงผลดีของการมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
1.2.3 ชี้แนะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีเพื่อให้สามารถทำงานเป็นทีมได้ รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้
1.2.4 ให้ข้อคิดในการพิจารณาความสำคัญของลำดับงานตามความเหมาะสมและระยเวลา
1.3.1 ความประพฤติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา
1.3.2 การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนด การมอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.3 ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและอาจารย์
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2.1.2 มีความรู้และเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
2.1.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.1.5 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด
2.1.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์รวมทั้งการนำไปประยุกต์
2.1.7 รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
2.1.8 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.9 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานได้จริง
2.2.1 อธิบายการเขียนหลักการและทฤษฎีในการทำโครงงานเพื่อการวิจัย
2.2.2 ยกตัวอย่างการทำวิจัยด้านสารสนเทศ
2.2.3 ให้นักศึกษาเสนอโครงงานตามที่ตนสนใจ
2.2.4 ฝึกปฏิบัติการทำโครงงานและการนำเสนอโครงงานตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
2.2.5 ให้นักศึกาจัดทำรายงานประกอบโครงงาน
2.3.1 การนำเสนอโครงงาน
2.3.2 การจัดทำรายงานประกอบโครงงาน
3.1.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจและการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
3.1.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
3.1.3 คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
3.1.4 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.5 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 อธิบายความสำคัญในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดอย่างเป็นระบบในทำโครงงาน
3.2.2 ชี้แนะเว็บไซต์สำหรับการสืบค้นการวิจัยด้านระบบสารสนเทศ
3.2.3 ให้แนวทางในการจัดทำโครงงาน โดยการรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการของระบบงาน
3.2.4 แสดงความคิดเห็นในโครงงานที่นักศึกษาได้นำเสนอเพื่อประเมินสารสนเทศถึงจุดเด่นและข้อควรแก้ไข
3.3.1 ผลการสืบค้นระบบสารสนเทศที่ได้นำเสนอในโครงงาน
3.3.2 การพัฒนาระบบงาน
3.3.3 การซักถาม โดยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเพื่ออธิบายข้อซักถามและแสดงถึงปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
4.1.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัอแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
4.1.2 มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.3 มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.5 สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.6 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
4.1.7 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
4.2.1 ให้นักศึกาเรียนรู้จริงจากนำเสนอโครงงานในรูปแบบของการสัมมนา
4.2.2 ชี้แนะการพูดและการใช้วาจาในที่ชุมชน รวมทั้งบุคลิกที่เหมาะสมในการนำเสนอ
4.2.3 กำหนดหัวข้อในการจัดทำโครงงานเพื่อให้นักศึกษาได้จัดทำโครงงานและฝึกซ้อมการนำเสนอตามกำหนด
4.3.1 นำเสนอโครงงานตามหัวข้อที่กำหนด
4.3.2 หัวข้อที่นำเสนอตรงตามกำหนดและมีรายละเอียดครบถ้วน
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจและชีวิตประจำวัน
5.1.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.4 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบัต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.1.5 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
5.1.6 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 อธิบายการจัดทำงานนำเสนอและรายงานการนำเสนอ
5.2.2 นำเสนอซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีที่ในการออกแบบงานนำเสนอ
5.2.3 มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1 การนำเสนองานที่ออกแบบและการทำรายงาน
6.1.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
6.1.2 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจนำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
6.1.3 สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
6.1.4 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล
6.1.5 สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
6.2.1 ให้นักศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์จำลอง
6.2.2 ให้นักศึกษานำเสนอแนวทางในการปฏิบัติงานหรือการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
6.3.1 ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษาจากการจำลองสถานการณ์จริง
6.3.2 ความสามารถในการนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
6.3.3 การนำเสนอผลงาน โครงงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-On) 1. คุณธรรม จริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6
1 BBAIS913 โครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 2.1, 3.1, 3.3, 4.1, 4.4, 5.3 ศึกษาข้อมูลระบบงาน ติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อร่วมหารือในแนวทางในการพัฒนาระบบร่วมกับสถานประกอบการ 1-2 5%
2 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 3.3, 4.1, 4.4, 5.1, 5.3, 5.4 นำเสนอโครงร่าง 3-5 20%
3 1.3, 2.1, 2.2, 2.5, 3.1, 3.2, 3.4, 4.2, 4.4, 5.1, 5.4 ดำเนินการพัฒนาระบบ - วิเคราะห์และออกแบบพัฒนาระบบ - เขียนและทดสอบโปรแกรม - นำเสนอความก้าวหน้าโครงการที่พัฒนา 6-9 10-12 30%
4 1.2, 1.3, 2.1, 2.5, 3.1, 3.4, 4.1, 4.4, 5.1, 5.3, 5.4 สอบโครงการ (สมบูรณ์) 13-15 20%
5 1.2, 2.5, 3.3, 3.5, 4.4, 5.1, 5.3 รูปเล่มรายงาน บันทึกการให้คำปรึกษา 16-17 25%
เอกสารประกอบการสอน. 2561. คู่มือการจัดทำโครงงานระบบสนเทศทางธุรกิจ. หลักสูตรระบบ
สารสนเทศทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก.
-
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับงานวิจัย ที่สอดคล้องกับโครงงานที่พัฒนา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 โครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจที่นักศึกษาได้พัฒนาขึ้น
2.2 รูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงงานที่นักศึกษาได้พัฒนา
-
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการหลักสูตร ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ