การประลองทางวิศวกรรมเครื่องกลสำหรับวิศวกรรมอุตสาหการ

Production Engineering Workshop for Industrial Engineering

เพื่อให้นักศึกษา

มีทักษะในการฝึกปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกลของวัสดุ เช่น การสมดุล การสั่นสะเทือนทางกล การบิด ความแข็งและความล้า เกี่ยวกับของไหลและความร้อน เช่น การไหลของของไหล การสูญเสียเนื่องจากการไหล การนำความร้อน การพาความร้อน การหาค่าความร้อนเชื้อเพลิง เห็นความสำคัญของการประลองทางวิศวกรรมเครื่องกลสำหรับวิศวกรรมอุตสาหการและผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม
นำผลการประเมินรายวิชาจากครั้งก่อน (ภาค2/2561) มาปรับปรุงดังนี้

การมอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้า/ทำแบบฝึกหัด/รายงาน/กรณีศึกษา

ปรับปรุงโดย 1. เพิ่มการทดสอบย่อยทุกบทเรียน เพื่อทบทวนบทเรียนเก่าก่อนเข้าสู่บทเรียนใหม่
              2. เพิ่มเติมงานมอบหมายในรูปของรายงาน/กรณีศึกษาในแต่ละหน่วยเรียน

แนะนำให้นักศึกษาพัฒนาวิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากตำรา/เอกสาร/แหล่งข้อมูลอื่นๆ

ปรับปรุงโดยแนะนำรายชื่อตำรา/เอกสาร/แหล่งข้อมูลในอินเตอร์เน็ตที่นักศึกษาสามารถเข้าไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้
ฝึกปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกลของวัสดุ เช่น การสมดุล การสั่นสะเทือนทางกล การบิด ความแข็งและความล้า เกี่ยวกับของไหลและความร้อน เช่น การไหลของของไหล การสูญเสียเนื่องจากการไหล การนำความร้อน การพาความร้อน การหาค่าความร้อนเชื้อเพลิง
Practice of the laboratory on the mechanical properties of materials including balancing, vibration, mechanical twisting stiffness and fatigue, the fluid as the fluid flow and heat, the loss due to the flow, thermal conductivity and convection of heating fuel.
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ ผู้สอนสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด
ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริม
หลักสูตร
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความ
รับผิดชอบของนักศึกษา
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกลของวัสดุ เช่น การสมดุล การสั่นสะเทือนทางกล การบิด ความแข็งและความล้า เกี่ยวกับของไหลและความร้อน เช่น การไหลของของไหล การสูญเสียเนื่องจากการไหล การนำความร้อน การพาความร้อน การหาค่าความร้อนเชื้อเพลิง
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการคำนวณของการประลองทางวิศวกรรมเครื่องกล
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของการประลองทางวิศวกรรมเครื่องกล
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในวิชาโครงงานวิศวกรรมอุตสาหการ พลังงานแสงอาทิตย์ การถ่ายเทความร้อน การควบคุมมลพิษ การอนุรักษ์พลังงาน ฯลฯ
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการคำนวณในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในหลักการเกี่ยวกับของไหลและความร้อน เช่น ปั้ม กังหัน การไหลของของไหล การสูญเสียเนื่องจากการไหล การนำความร้อน การพาความร้อน การแผ่รังสี การทำความเย็นและปรับอากาศ เครื่องอัดอากาศ การหาค่าความร้อนเชื้อเพลิง สมรรถนะเครื่องยนต์ และการวิเคราะห์แก๊สไอเสีย พร้อมทั้งมุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักการนำความรู้เกี่ยวกับการประลองทางวิศวกรรมเครื่องกล ไปบูรณาการกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงงานวิศวกรรมอุตสาหการ พลังงานแสงอาทิตย์ การถ่ายเทความร้อน การควบคุมมลพิษ การอนุรักษ์พลังงาน ฯลฯ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทฤษฏีและการคำนวณ
2.3.2 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ แบบฝึกหัด และการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติการคำนวณควบคู่กัน นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work Integrated Learning) มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆโดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาของแต่ละสาขาวิชาชีพเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้องและเน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติการคำนวณจริง ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.3.1 ทดสอบย่อย โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้
3.3.2 การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
3.3.3 การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
3.3.4 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
3.3.5 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.1.4 พัฒนาการใช้ความรู้ในการประลองทางวิศวกรรมเครื่องกล ไปใช้ในการแนะนำผู้อื่น เกี่ยวกับคุณสมบัติทางกลของวัสดุ เช่น การสมดุล การสั่นสะเทือนทางกล การบิด ความแข็งและความล้า เกี่ยวกับของไหลและความร้อน เช่น การไหลของของไหล การสูญเสียเนื่องจากการไหล การนำความร้อน การพาความร้อน การหาค่าความร้อนเชื้อเพลิง
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ธุรกิจ หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
มีทักษะในการวางแผน การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านการประลองทางวิศวกรรมเครื่องกลสำหรับวิศวกรรมอุตสาหการดังข้อต่อไปนี้
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-13 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 90%
2 1-13 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการประลองทางวิศวกรรมเครื่องกลสำหรับวิศวกรรมอุตสาหการ
ไม่มี
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เกี่ยวกับการประลองทางวิศวกรรมเครื่องกลสำหรับวิศวกรรมอุตสาหการ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ