การเขียนความเรียง

Essay Writing

1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถเขียนโครงร่างสำหรับเรียงความ การเขียนบทนำ เขียนลำดับเนื้อเรื่องและเขียนบทสรุป
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนางานเขียนด้วยการใช้เทคนิควิธี ถอดความ สรุปความ เรียบเรียง และการอ้างอิงแหล่งข้อมูล
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถเขียนเรียงความขนาดสั้นในรูปแบบชนิดต่างๆ ที่ถูกต้องประกอบด้วย 3–5ย่อหน้าและเขียนในหัวข้อที่หลากหลาย
1. เพื่อให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปสู่วิชาการแขนงต่างๆ อันเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อในระดับสูง
2. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของสังคมนานาชาติโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ
3. เพื่อให้นักศึกษามีความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แสดงความคิดเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ด้วยโลกทัศน์ที่กว้างขวาง สอดรับรูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ปัจจุบัน
4. เพื่อให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงชนิดต่างๆ โดยเขียนโครงร่างจัดลำดับเนื้อหา คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป พัฒนางานเขียนโดยใช้ทักษะในการถอดความ สรุปความ เรียบเรียง และการอ้างอิงแหล่งข้อมูล
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
2. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม
1. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลาการส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
3. กำหนดงานเป็นกลุ่มเน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น
1. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลาตลอดจนการแต่ง กายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
3. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
4. ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
5. ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
6. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
1. จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
2.ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
3.การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
3. ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
4. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเช่นการบ้านงานที่มอบหมายรายงานการทดสอบย่อยการนำเสนอรายงานการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
2. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
1. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
2. การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
3. การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียนและมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
2. การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาและสื่อสารในบริบทต่าง ๆ
3.ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบโดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหาอธิบายแนวคิดการแก้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
4. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
1. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
1. การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
2. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
3. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
4. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
3. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารการค้นคว้าข้อมูลและการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆจากกรณีศึกษา
3. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
1. การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
2. พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนและความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสารของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
1. จัดกิจกรรมที่สอดแทรกการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในชั้นเรียน
2. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้กับนักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง
1. การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
2. ผลงานนักศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย
3. พฤติกรรมและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาเพื่อสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.6 การเข้าเรียนการแต่งกายการส่งงานการเข้าร่วมกิจกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม ความเอื้อเฟื้อ และความรับผิดชอบในหน้าที่ ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.1, 2.2 สอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค 8 และ 17 40%
3 3.1,3.3 งานที่มอบหมายผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา/ ทดสอบย่อย ช่วงสัปดาห์ 2 – 16 50%
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ