ระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เบื้องต้น

Introduction to Geographic Information System (GIS)

เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ และปฎิบัติการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศและภูมิศาสตร์ รู้จักพื้นฐานของกระบวนการจัดทำแผนที่ ทราบถึงองค์ประกอบของฮาร์ดแวร์ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โครงสร้างข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ ฝึกปฎิบัติใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับฐานข้อมูลประเภทราสเตอร์ และเวคเตอร์ และวิธีการนำเข้าข้อมูล และจัดสร้างแบบจำลองแผนที่ด้วยคอมพิวเตอร์
เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ก้าวไปข้างหน้า
ศึกษาและปฎิบัติการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศและภูมิศาสตร์ พื้นฐานของกระบวนการจัดทำแผนที่ การพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับแผนที่ องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โครงสร้างข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ฐานข้อมูลประเภทราสเตอร์ และเวคเตอร์ และวิธีการนำเข้าข้อมูล การจัดสร้างแบบจำลองแผนที่ด้วยคอมพิวเตอร์
2 ชั่วโมง
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ  มีความสามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
บรรยายภาคทฤษฎี  และฝึกปฎิบัติตามตัวอย่าง กำหนดและชี้แจงกติกาของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ได้แก่ วิธีการให้คะแนนเข้าชั้นเรียน การส่งงาน ส่งเสริมให้มีความเป็นผู้นำ และผู้ตาม มีความสามัคคีในการทำงาน และการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตั้งคำถามและให้โอกาสนักศึกษาได้วิเคราะห์และประเมินผล หรือให้นักศึกษายกตัวอย่างการใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร หรือแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในชั้นเรียน อภิปรายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาการกระทำผิดจรรยาบรรณของวิศวกร และให้มีการอภิปรายกลุ่มในชั่วโมงแรก และสรุปภาพรวมในชั่วโมงสุดท้าย
1.3.1 ให้คะแนนจากการเข้าเรียน ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้ตรงเวลา และ
ความซื่อสัตย์ที่มีต่อชิ้นงาน
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติงานตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ
ที่กำหนดไว้
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 เข้าใจพื้นฐานของกระบวนการจัดทำแผนที่ การพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับแผนที่
2.1.2 สามารถอธิบายองค์ประกอบของฮาร์ดแวร์ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
2.1.3 เข้าใจโครงสร้างข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์
2.1.4 มีทักษะในการใช้ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับงานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
2.1.5 มีทักษะในการการนำเข้าข้อมูลเวคเตอร์ และราสเตอร์เข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
2.1.6 สามารถสร้างแบบจำลองแผนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ได้
บรรยาย อภิปราย การทำงานเดี่ยวและกลุ่ม การนำเสนอผลงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน 
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีนำไปแก้ปัญหาโจทย์
2.3.2 ประเมินจากผลงานการศึกษาและค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา 
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.1 ส่งเสริมการอ่าน การสืบค้นข้อมูล เพื่อให้มีแนวคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์การจัดทำโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
3.2.2 ให้มีการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา (Problem Based Instruction)
3.3.1 วัดผลจากการประเมินโครงงาน การนำเสนอผลงาน และความถูกต้องของโครงงาน
3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 จากโครงงานที่นักศึกษาทำต้องให้แต่ละบุคคลในกลุ่มหมุนเวียนกันมาอภิปราย ซึ่งในหัวข้อต้องมีการบอกการวางแผนของการทำรายงาน การเก็บข้อมูล และบทบาทหน้าที่แต่ละคนที่ได้รับมอบหมาย
4.2.2 สอดแทรกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย การปรับตัวต่อสังคม และความรับผิดชอบต่องานที่ทำ
4.3.1 ประเมินคะแนนจากการอภิปรายของแต่ละบุคคล
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.2.1 ให้ศึกษางานที่มีการใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์และแปลความหมายโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้อง และให้ส่งรายงานโดยทั้งในรูปแบบดิจิตอลไฟล์และรูปแบบเอกสาร
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 ให้นักศึกษาใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูลและการคำนวณ
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ เทคนิคการใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา และพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สรุปเนื้องานที่ต้องลงปฏิบัติในสนามและกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ
6.2.2 ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและหน้าที่ความรับผิดชอบกันเอง
6.3.1 ประเมินจากระยะเวลาแล้วเสร็จของแต่ละงานที่ลงปฏิบัติ
6.3.2 ประเมินจากนำเสนอผลการดำเนินงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หมวด 4 สอบกลางภาคเรียน 8 30%
2 หมวด 4 สอบปลายภาคเรียน 17 30%
3 หมวด 4 รายงาน /โครงานที่ได้รับมอบหมาย การอภิปรายกลุ่ม 12/15/16 30%
4 หมวด 4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน อภิปรายและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดภาคการศึกษา 10%
หนังสือ
การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล, สุรภี  อิงคากุล 2548
คำบรรยายเรื่องการสำรวจจากระยะไกล, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2540
ตำรา เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)2552
 
 website
https://mgimond.github.io/Spatial/introGIS.html
https://docs.qgis.org/3.4/en/docs/gentle_gis_introduction/
https://geogra.uah.es/patxi/gisweb/GISModule/GIST_Vector.htm
https://www.gislounge.com/geodatabases-explored-vector-and-raster-data/
https://docs.qgis.org/2.8/en/docs/index.html