การบัญชีต้นทุน

Cost Accounting

เพื่อผลิตนักศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ             พ.ศ. 2552 นักศึกษาต้องมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ ในด้านคุณธรรมจริยธรรม ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม ด้านความรู้ ได้แก่ มีความรู้และเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการทางการบัญชี  มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี               โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชี และอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์  ด้านทักษะทางปัญญา ได้แก่ สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ  เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตัวเอง  และ สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการคิดต้นทุนและการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น โดยเพิ่มการมอบหมายงานให้นักศึกษาไปศึกษากระบวนการผลิตสินค้า จากกิจการจริงและนำมาคำนวณต้นทุนการผลิตสินค้าตามทฤษฎีที่ได้ศึกษา
 
ศึกษาและปฏิบัติวัตถุประสงค์ ความสำคัญและบทบาทการบัญชีต้นทุนในองค์กรธุรกิจ  ความหมายของต้นทุนต่าง ๆ ระบบบัญชีที่ใช้บันทึกต้นทุน  วิธีการบัญชีและการควบคุม  วัตถุดิบ  แรงงาน  ค่าใช้จ่ายการผลิต  ระบบบัญชีต้นทุนงาน สั่งทำ  ระบบต้นทุนช่วงการผลิต  ระบบต้นทุนมาตรฐาน  การบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้  ของเสีย  ของสิ้นเปลือง  งานที่บกพร่อง  เศษซาก  และต้นทุนฐานกิจกรรม
อาจารย์ผู้สอนกำหนดเวลาให้นักศึกษาเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาและแบบฝึกหัดเป็นเวลา                      3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นอย่างน้อย
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม
- ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีการเช็คชื่อนักศึกษาก่อนเรียน กำหนดให้นักศึกษาแต่งกายให้เรียบร้อยตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
   - ประเมินผลโดยการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา ในการเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา การแต่งกาย การส่งงานตามกำหนดและการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชา
  2.1 มีความรู้และเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการทางการบัญชี 
  2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
   2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชี และอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
- อธิบายถึงแนวคิด และ ทฤษฎี เกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน ระบัญชีต้นทุนและการจัดทำงบการเงิน ส่วนประกอบที่สำคัญของต้นทุนการผลิตอาทิเช่น การบัญชีเกี่ยวกับวัตถุดิบการบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน และการบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการเผลิตและระบบต้นทุนฐานกิจกรรม การบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ     การบัญชีต้นทุนกระบวนการ การบัญชีต้นทุนมาตรฐาน รวมถึงการบัญชีและการตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้
    -กำหนดให้นักศึกษาจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต โดยกำหนดให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 คน ลงพื้นที่ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ชุมชนตามที่กลุ่มสนใจ  จากนั้นแจ้งกลุ่มประชากรที่สนใจศึกษาให้กับอาจารย์ประจำวิชาทราบ
-กำหนดให้นักศึกษาจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต โดยกำหนดให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 คน ลงพื้นที่ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ชุมชนตามที่กลุ่มสนใจ  โดยในการจัดทำรายงานนั้น นักศึกษาจะต้องทำการสอบถามผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในส่วนของข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวกับต้นทุนการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต
- ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย
- แบบฟอร์มรายงานการจัดทำต้นทุนการผลิต ประจำกลุ่ม
 - รายงานการจัดทำต้นทุนการผลิต
     3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ  เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตัวเอง 
     กำหนดให้นักศึกษา บันทึกบัญชีต้นทุน มาความสามารถแยกส่วนประกอบการผลิต ในแต่ละประเภท ได้อย่างแม่นยำ ตลอดจนสามารถจัดทำรายงานทางการเงินได้ถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถวิเคราะห์ระบบต้นทุนของกิจการที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบต่างๆได้
   - ทดสอบโดยแบบฝึกหัด , กรณีศึกษา
มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ให้นักศึกษาเห็นความสำคํยของการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม  ตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง  ให้นำหลักธรรมมาปรับใช้เในการปรับการกระทำของตนเอง  ปรับทัศนคติของตนเองในเชิงบวก
การมอบหมายให้มีการทำงานร่วมกัน  ให้ทำกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเสียสละ
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
     จากการที่กำหนดให้นักศึกษาจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต โดยในการจัดทำรายงานนั้น นักศึกษาจะต้องทำการสอบถามผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในส่วนของข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวกับต้นทุนการผลิต โดยทำการจัดทำเก็บข้อมูลที่ไปสอบถามมา โดยบันทึกข้อมูลใส่ลงใน คลิปวีดีโอ เพื่อความครบถ้วน ในการจัดเก็บข้อมูล และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสานสนเทศ ให้เกิดประโยชน์ ต่อนักศึกษา  จากนั้น จะนำมาประเมินผลภายในกลุ่ม ถึงความถูกต้องของข้อมูลที่ได้มา  และจัดทำต้นทุนการผลิต โดยใช้มูลเดิม รวมกับข้อมูลที่ต้องเพิ่มเติมไป เพื่อให้ครบถ้วน ในส่วนของต้นทุนการผลิตที่ถูกต้องตามหลักการบัญชี ออกมาเป็นการจัดทำงบต้นทุนการผลิต งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงินของวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
   - ซีดี การบันทึกการเก็บข้อมูล และ รายงานต้นทุนการผลิตของวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม - ประเมินผลจากรายงานที่นักศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม - ประเมินผลจากการส่งงานตามกำหนด - ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน 1,5,12,13 10 %
2 ด้านความรู้ - ประเมินผลจากใบงานสรุปเนื้อหาที่ ต้องส่งก่อนเรียนในแต่ละหัวข้อ - ประเมินจากแบบฝึกหัดและ กรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย - ประเมินจากการอภิปรายหน้าชั้นเรียน - ประเมินจากการทดสอยย่อย 1-15 50 %
    - เอกสารประกอบการสอนวิชาการบัญชีต้นทุน
    - การบัญชีต้นทุน 1 (เอกสารประกอบการสอน)
   - การบัญชีต้นทุน 1,  รศ.สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์
ไม่มี
วารสารนักบัญชี มาตรฐานการบัญชี เวปไซต์สภาวิชาชีพบัญชี
การประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาในส่วนของนักศึกษาผู้เรียนในแต่ละหมู่นั้น ผู้สอนของทุกหมู่เรียนจะประชุมตกลงกันในกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อให้ได้รับผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาที่สอนในแนวทางเดียวกัน และนำมาวิเคราะห์เพื่อการวางแผนการปรับปรุงต่อไป
          กิจกรรมที่จะนำไปสู่การประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาโดยนักศึกษา  ได้แก่
          1.1  ผู้สอนจัดกิจกรรมพบนักศึกษาเป็นกลุ่มซึ่งใช้กลุ่มที่ได้จัดไว้ในการมอบหมายงานกรณีศึกษา   เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในสาระเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการเรียนการสอนที่ดำเนินอยู่
             1.2  ผู้สอนติดตามผลการมอบหมายงานของนักศึกษาแต่ละกลุ่มเป็นระยะ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน
          1.3  ผู้สอนมอบหมายให้ นักศึกษาแต่ละคนเขียนบันทึกแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนที่ดำเนินอยู่
          1.4  จัดให้มีการประเมินผู้สอนและประเมินรายวิชาโดยใช้แบบประเมินโดยส่วนกลางก่อนสอบกลางภาค เพื่อให้ผู้สอนได้ทราบและสามารถปรับปรุงได้ในภาคการศึกษานั้น หากผลการประเมินพบว่าควรมีการปรับปรุง
การประเมินการสอนโดยผู้ร่วมทีมการสอนและผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการ ดังนี้
             2.1  การประเมินการสอนโดยผู้ร่วมทีมการสอนดำเนินการโดยให้ผู้สอนได้เข้าสังเกตการณ์การสอนของหมู่เรียนอื่น แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันพร้อมข้อเสนอแนะ
          2.2  การประเมินการสอน โดยผู้ร่วมทีมการสอนร่วมกันออกข้อสอบและใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทดสอบผู้เรียนเพื่อวัดผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านตามที่ระบุ
          2.3  การประเมินการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการทวนสอบข้อสอบก่อนนำไปใช้ โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาและเห็นชอบข้อสอบก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
          3.1  จัดให้มีการสัมมนาเพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการพัฒนารายวิชา โดยนำผลการประเมินประสิทธิภาพรายวิชา ผลการประเมินการสอน ผลการสอบ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประกอบการพิจารณา
          3.2  จัดให้มีการวิจัยในชั้นเรียน หรือ การรายงานการปฏิบัติงานสอน ทุกสัปดาห์
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
          4.1  จัดให้มีการสัมมนาเพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการพัฒนารายวิชา โดยนำผลการประเมินประสิทธิภาพรายวิชา ผลการประเมินการสอน ผลการสอบ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประกอบการพิจารณา
          4.2  จัดให้มีการวิจัยในชั้นเรียน หรือ การรายงานการปฏิบัติงานสอน ทุกสัปดาห์
จากผลการประเมินประสิทธิภาพในข้อ 1. และ ข้อ2. ดังกล่าวแล้วข้างต้น รวมทั้งการนำไปปรับปรุงการสอนในข้อ 3. แล้วนั้น เพื่อให้การสอนของรายวิชานี้มีคุณภาพอันนำไปสู่การผลิตบัณฑิตทางการบัญชีที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชีและการเงิน ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน ดังนี้
          5.1  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน โดยการให้มีอาจารย์ผู้สอนเดิมอยู่อย่างน้อย ๑ คน แล้วจัดอาจารย์ผู้สอนใหม่เข้ามาหากสามารถดำเนินการได้ เพื่อให้ได้รับมุมมองใหม่จากอาจารย์ผู้สอนท่านใหม่
          5.2  ทบทวนและปรับปรุงหัวข้อการสอน กลยุทธ์การสอน วิธีการสอน วิธีการวัดผลและประเมินผล ฯลฯ ตามที่ได้รับจากผลการประเมิน