ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ

Correspondence English for Tourism Business and Hospitality

เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีบุคลิกภาพและทักษะในกลุ่มวิชาภาษาเพื่ออาชีพทางธุรกิจ ซึ่งสามารถปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยว และงานบริการโรงแรมบนพื้นฐานของความเป็นไทย 1. นักศึกษาได้ศึกษาทักษะการเขียนข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและงานบริการ 2.นักศึกษาได้ศึกษาการให้บริการเชิงธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและการบริการ การประชาสัมพันธ์ 3. นักศึกษาได้ศึกษา ฝึกทักษะการเขียนโต้ตอบ ทำแผ่นพับใบปลิวเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวและ การบริการ 4. นักศึกษาได้ศึกษา ฝึกทักษะการนำเสนอด้านการตลาดการท่องเที่ยวและการบริการ
1. เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของท้องถิ่นและของประเทศ 2. เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ มีใจรักงาน และสำนึกในจรรยาบรรณทางวิชาชีพมัคคุเทศก์ ความรับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย
ศึกษาคำศัพท์ สำนวน รูปแบบภาษา ฝึกปฏิบัติใช้ภาษาอังกฤษในบริบททางธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม มุ่งเน้นทักษะการเขียนเพื่อติดต่อสื่อสารและโต้ตอบทางธุรกิจการประชาสัมพันธ์ การทำแผ่นพับใบปลิว การเขียนจดหมายโต้ตอบกับลูกค้า การนำเสนอด้านการตลาดการท่องเที่ยวและการบริการ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.1.2 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ 1.1.3 มีความรับผิดชอบในหน้าที่เป็นสมาชิกที่ดีและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการพัฒนามีภาวะผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น 1.1.4 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทาง คุณธรรม จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ 1.2.2 อภิปรายกลุ่ม 1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการโรงแรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก 2.1.2 มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.3 มีความรู้ในกระบวนการ และเทคนิคการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ในงานอาชีพ 2.1.4 สามารถประยุกต์ความรู้จากทฤษฏีสู่การปฏิบัติ
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอหน้าชั้นเรียน การฝึกปฏิบัติบทบาทสมมุติโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอ 2.3.3 ประเมินจากการสอบปฏิบัติ
3.1.1 มีความสามารถประมวลและศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและความขัดแย้ง รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก 3.1.2 มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม 3.1.2 มีความสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ และจากศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานให้เกิดประสิทธิผล
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน 3.2.2 อภิปรายเดี่ยวและกลุ่ม 3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา โดยใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ และจากศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.2.4 การปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม 3.2.5 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน 3.3.3 ประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม 3.3.4 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 4.1.1 มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ได้ 4.1.2 มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องและตรงตามมาตรฐานสากล
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์ศึกษา 4.2.2 มอบหมายงานกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา 4.2.3 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน และการจัดทำรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 5.1.1 มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.2 มีความสามารถในการสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม 5.1.3 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่อง และผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.4 มีความสามารถในการใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในการประมวลการแปลความหมาย และการวิเคราะห์ข้อมูล ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอนที่เกี่ยวกับข้อมูล 5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.3 การฝึกปฏิบัติแสดงบทบาทสมมุติการเป็นมัคคุเทศก์ และนักท่องเที่ยว
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 Unit 1-3 Unit 4-6 Practical Examination Midterm Examination Practical Examination Final Examination การวิเคราะห์และการนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 8 9 16 17 ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 20% 15% 20% 15% 20% 10%
- Student Workbook (Correspondence English for Tourism and Hospitality)ที่พัฒนาโดยอาจารย์ผู้สอน
-
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ