หลักการลงทุน

Principles of Investment

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ และลักษณะของหลักทรัพย์ชนิดต่าง ๆ  
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าของหลักทรัพย์ ความเสี่ยงภัยอันตรายและผลตอบแทนของหลักทรัพย์
1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ หลักการลงทุน การวิเคราะห์หลักทรัพย์และจังหวะในการลงทุน รวมถึงการศึกษา การจัดการทรัพย์สินในบางกรณี
2.1 เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนให้เกิดการสร้างสรรค์กลยุทธ์การลงทุนที่ช่วยในการป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์
2.2        เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
          ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ ลักษณะหลักทรัพย์ การประเมินมูลค่าของหลักทรัพย์ความเสี่ยงภัยอันตรายและผลตอบแทน หลักการลงทุน การวิเคราะห์หลักทรัพย์และจังหวะในการลงทุน การศึกษา การจัดการทรัพย์สินในบางกรณี         
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์      
      (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 1.1.1  มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและ    
             สังคม
1.1.2    สามารถบริหารเวลาและปรับวิธีชีวิต อย่างสร้างสรรค์ในสังคม
2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน 1.2 ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

              1.2.3 กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ การทำงานที่ได้รับมอบหมาย การทำโจทย์ปัญหา และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
                 1.2.4 เปิดโอกาสให้นักศึกษา จัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน
มีความรู้ความเข้าใจแนวคิด ทฤษฏี หลักการ และวิธีการในการพิจารณาลงทุน มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการลงทุน

                              3. โดยสามารถนำข้อมูลที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อการลงทุนมาทำการบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้กับการพิจารณาลงทุนได้อย่างเหมาะสม
ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ

    ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการพิจารณาการลงทุน เช่น การสอนแบบบรรยาย  อภิปราย  ให้กรณีศึกษา  แนะแนวทางในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นเพื่อการนำมาใช้ในการวางแผน  ควบคุม  พิจารณาตัดสินใจในการลงทุน

 การถาม-ตอบ ปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน

                             3.  มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับหลักการลงทุน
ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอ การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือการสอบปฏิบัติ

                              3. การตอบคำถามในชั้นเรียน
               3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์
ข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
    3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ที่มีอยู่รอบตัวทุกๆ ด้านที่สัมพันธ์กับการลงทุน ใช้ทักษะทางวิชาชีพ และดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
    3.1.3 สามารถกำหนดวิธีการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ที่มีความแตกต่างกัน รวมทั้งสามารถเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการลงทุน
    3.1.4 สามารถติตาม ประเมินผลการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    3.1.5 สามารถสื่อสารและให้ข้อเสนอแนะในการลงทุนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
3.2.1 สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้า หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในการลงทุน
           3.2.2 ให้เอกสารประกอบการเรียนรู้ ให้โอกาสนักศึกษาได้มีการรายงานหน้าชั้นเรียนในงานที่มอบหมาย   ให้โอกาสในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นให้มากขึ้น
           3.2.3 ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยโจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
          3.2.4 การบรรยาย ยกตัวอย่าง และการถาม – ตอบในชั้นเรียน ทั้งเดี่ยวและเป็นกลุ่ม
          3.2.5 การให้นักศึกษาสรุปความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักในการลงทุนโดยรวม
3.3.1  ประเมินจากผลการแก้ โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
   3.3.2  ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาในการวางแผน  พิจารณา  ตัดสินใจในการลงทุน
   3.3.3  ประเมินจากรายงายผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน การเสนอแนะเกี่ยวกับการลงทุน  รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
  3.3.4  คุณภาพของงานที่มอบหมายให้ทำ
4.1.1   สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2   มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ
วัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.1.3   มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไข
ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน  สามารถแสดงความคิดเห็นเมื่อทำงานกลุ่ม หรือในชั้นเรียน เมื่อมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น หรือแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียน
4.2.1  มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
4.2.2   ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ
4.3.1   ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงาน
ที่มอบหมาย รายงานหน้าชั้นเรียน และระยะเวลาในการส่งงาน
4.3.2   สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน 
4.3.3   ประเมินจากงานที่มอบหมาย
5.1.1   มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการพิจารณาลงทุน พิจารณาการแก้ปัญหา
5.1.2   สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบการ
นำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหา และกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.2.1   มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
5.2.2 ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบ
          รายงาน
5.2.3 มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบ
          สื่ออิเล็กทรอนิกส์
5.3.1  ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย และนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5.3.2 ประเมินจากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค
5.3.3 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 11000401 หลักการลงทุน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบปลายภาค 4, 6, 9 25%, 20%, 25%
2 2,3,5 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนองาน รายงาน การทำงานกลุ่ม การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1,3,5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
    จิรัตน์ สังข์แก้ว. การลงทุน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2544
    เพชรี ขุมทรัพย์.หลักการลงทุน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2540
    ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดการเงินและการลงทุน 
    ในหลักทรัพย์. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 2552
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   ผลการประเมินผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การตรวจสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  โดยการ  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา     รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา        ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ