วงจรดิจิทัล

Digital Circuits

ศึกษาวงจรทางตรรกและพีชคณิตแบบบูลีน รหัสคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบความผิดพลาด ตารางความจริง วิธีการลดรูปสมการแบบบูลลีน และวงจรตรรกชนิดต่าง ๆ มัลติเพลกเซอร์ ดีมัลติเพลกเซอร์ วงจรเข้ารหัสและถอดรหัส วงจรบวกลบ วงจรเชิงลำดับ ฟลิปฟลอบ วงจรนับ รีจิสเตอร์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบในระบบดิจิทัลและวงจรตรรก เพื่อให้นักศึกษานำความรู้มาประยุกต์ใช้งานและเตรียมความพร้อมด้านทักษะในการออกแบบวงจรดิจิทัลและวงจรวงจรตรรก โดยการจำลองด้วยโปรแกรมที่ช่วยในการจำลองการทำงานของวงจร
ศึกษาและฝึกปฎิบัติเกี่ยวกับระบบตัวเลขและรหัส พีชคณิตบูลีน การลดทอนฟังก์ชันลอจิก การออกแบบวงจรลอจิกคอมไบเนชัน การออกแบบวงจรซีเควนเชียล หน่วยคำนวณและลอจิกด้านคณิตศาสตร์ในระบบดิจิทัล การแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะล็อก และแอนะล็อกเป็นดิจิทัล การประยุกต์ใช้วงจรดิจิทัลในงานอุตสาหกรรมอุปกรณ์ดิจิทัลสมัยใหม่
5 ชั่วโมง/สัปดาห์
- มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม - มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ - มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม - เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม - ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ - ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด - ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
- สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง - สังเกตุพฤติกรรมนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง - ประเมินจากการขานชื่อเพื่อให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา - สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง
- มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา - สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆของสาขาวิชาที่ศึกษา - สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ - จัดศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมการเรียนรู้       - ฝึกการแก้ปัญหาจากการสร้างสถานการณ์จำลอง
- ประเมินจากการทดสอบย่อย - สังเกตพฤติกรรมและจำนวนนักศึกษาที่เข้าศูนย์การเรียนรู้       - ประเมินจากการทดสอบย่อยโดยใช้ปัญหาจากสถานการจำลอง
- มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ - มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ  
- ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา ( Problem Based Instruction) - มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์
- โดยการสังเกตุผลการปฏิบัติงานจากสถานการณ์จริง - ทดสอบเชิงปฏิบัติการโดยใช้ปัญหาจากสถานการณ์จริง
- มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี - มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ - สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม - สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- ให้คำแนะนำในการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสร กิจกรรมของมหาวิทยาลัยฯเพื่อ ส่งเสริมทักษะการอยู่ในสังคม - ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น (Brainstorming )     - ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม - ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
- ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ   พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล - สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง - ประเมินพฤติกรรมภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีโดยการทำแบบทดสอบ - ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
- สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้อย่างเหมาะสม - สามารถสืบค้นศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม - สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย - ส่งเสริมการค้นคว้า  เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง  และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล - ส่งเสริมการใช้งานภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร
- สังเกตุจากผลงานและการนำเสนอผลงาน - ประเมินจากเอกสารรายงานและการนำเสนอผลงาน - สังเกตุการใช้งานภาษาของนักศึกษาที่ใช้ในการสื่อสาร
- มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลาเครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ - มีทักษะในการปฎิบัติงานกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGEL106 วงจรดิจิทัล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-4 1-7 8-11 1-14 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 9 12 18 10% 25% 10% 25%
2 1-14 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1-14 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
นภัทร  วัจรเทพินทร์. 2545.  วงจรดิจิตอลและการออกแบบลอจิก. กรุงเทพ ฯ : สกายบุ๊กส์. ยืน ภู่วรวรรณ .รศ.2531.,  ทฤษฎีและการใช้งานอิเล็กทรอนิกส์ เล่ม 2. กรุงเทพ, หจก. นําอักษรการพิมพ์.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ