โปรแกรมประยุกต์ทางฐานข้อมูล

Database Application Software

1.1.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจหลักการออกแบบฐานข้อมูล
1.2.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้โปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูลและใช้ภาษา SQL
1.3.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ การเขียนโปรแกรมแบบ Client/Server ได้
1.4.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้
1.5.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการสร้างโปรแกรมประมวลผลร่วมกับฐานข้อมูล
1.6.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหาและสร้างโปรแกรมมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาได้
2.1 เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบหลักสูตรมาตรฐานคอมพิวเตอร์ศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสามารถบูรณาการเข้ากับสาขาวิชาชีพของผู้เรียน
2.2 เพื่อปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาให้สอบคล้องกับผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
   การออกแบบระบบจัดการฐานข้อมูล หลักและวิธีการสร้างระบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุ ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย การเชื่อมต่อกับผู้ใช้ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ ข้อดีและอุปสรรคต่างๆ ของเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ทางด้านการจัดการฐานข้อมูล การประยุกต์ใช้ระบบฐานข้อมูล
3.1.อาจารย์ประจำรายวิชาแจ้ง Social Media เพื่อให้นักศึกษาสะดวกในการติดต่อและขอคำปรึกษาผ่านทาง Social Media
3.2.อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
   1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละและซื่อสัตย์
   2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
   3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
   4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
   5. เคารพกฎระเบียนและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
   6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม
   7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
   1. สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหารายวิชา
   2. กำหนดกฎระเบียบ แนวปฏิบัติของรายวิชา ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ วินัยและความตรงเวลาในการเข้าเรียนและการส่งงาน  
   3. อภิปรายกลุ่ม การทำงานเป็นทีม
   4. อภิปรายกลุ่มทั้งกลุ่มเฉพาะและกลุ่มใหญ่ มารยาทการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
   5. อธิบายกฎระเบียบและข้อบังคับของรายวิชา เช่น การเข้าชั้นเรียน การแต่งตัว การ
ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ปฏิบัติตนให้อยู่ในกฎระเบียบขององค์กรและสังคม
   6. กำหนดให้นักศึกษาทำรายงานตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
   7. แนะนำส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น มารยาท จรรยาบรรณ
การใช้ Web Board  และ Socail Network
   1. พฤติกรรมการส่งงาน  การคัดลอกงานเพื่อน
   2. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
   3. พฤติกรรมการนำเสนอรายงาน
   4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม เหตุผลถูกต้องเหมาะสม และสร้างสรรค์
   5. พฤติกรรม การแต่งกาย ตามระเบียบของบังคับของสาขาวิชาและมหาวิทยาลัย
   6. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
   7. สอบประเมินข้อเขียน
   1.มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาวิชาโปรแกรมประยุกต์ทางฐานข้อมูล
  2.สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์  รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
   3.สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด
  4.สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
  5.รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
  6.มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
  7.มีประสบการณ์ในการพัฒนาและหรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
  8.สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  1. บรรยาย อภิปราย ประกอบการยกตัวอย่าง ทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน ( ให้นักศึกษามีส่วนร่วม ) และ การทำงานกลุ่ม
  2. นำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา
  3. การติดตั้ง Software เช่น Os Windows / Ms-Visual Basic 2010 / Crystal Report ,
MySQL WorkBench, Dezign For Database , MySQL Front   
  4. นำเสนอรายงานกลุ่ม กรณีศึกษา (ระบบงาน Application)
  5. ปฏิบัติการพัฒนา  Application  (Ms-Visual Basic+MySQL)
  6. มอบหมายให้ค้นคว้าบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ
  7. การศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลักในการเรียน ค้นคว้า พัฒนาประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
  8. หลักการเขียนโปรแกรมภาษ Ms-Visual Basic ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL
  1. ทดสอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค และปลายภาค โดยเน้นที่หลักการและวิธีการคิดโดยข้อสอบมีวิเคราะห์กรณีศึกษา ในการออกแบบฐานข้อมูล
  2. ประเมินผลจากการนำเสนอ
  3. ประเมนผลจากการปฏิบัติ การใช้งาน
  4. ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานจากการพัฒนาระบบ Application  
  5. ประเมินผลจากกิจกรรมปฏิบัติในห้อง Lab
  6. ประเมินผลจากผลงานโครงงานกลุ่ม
  7. ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานจากการพัฒนาระบบ Application  
  8. แบบทดสอบปฏิบัติ
   1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
  2. สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
  3. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
  4. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่าง
เหมาะสม
  1. สอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อย โดยให้นักศึกษาเลือกธุรกิจในปัจจุบัน มาวิเคราะห์ฐานข้อมูลกรณีศึกษา
  2. การสร้างฐานข้อมูลให้กับนักศึกษาโดยให้นักศึกษาทำเป็นโครงการย่อยในการพัฒนาระบบงานจริงภายในองค์กร
  3. กรณีศึกษากิจกรรมกลุ่ม ระบบงาน ปัญหา วิธีการแก้ปัญหา ระบบงานภายในองค์กร การใช้เครื่องมือในการสร้างฐานข้อมูล และการพัฒนาระบบงานใหม่
  4. มอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษ และนำเสนอผลการศึกษา / ผลงานที่ได้พัฒนา
  1. ประเมินผลจากรายงานกลุ่ม
  2. ประเมิลผลงานจากโครงการย่อย
  3. ประเมินผลจากแบบทดสอบเก็บคะแนน วิธีการคิด การวิเคราะห์ออกแบบฐานข้อมูล และ การปฏิบัติการสร้างฐานข้อมูล รวมทั้งการพัฒนาระบบงาน Application
   4. ประเมินผลจากรายงานที่ศึกษาค้นคว้า  การนำเสนอโครงงานกลุ่ม
1.สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
5. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อม
ทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
6. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. นำเสนอผลงานที่มอบหมาย
2. กิจกรรมกลุ่ม มอบหมายให้ทำโครงงานย่อย เพื่อให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์ วางแผน การทำงานเป็นทีม
3. ไม่มี
4. กิจกรรมกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด
5. กิจกรรมกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6. กิจกรรมกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
1. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
2. รายงานที่นำเสนอ สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3. ไม่มี
4. รายงานที่นำเสนอ สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม การอภิปรายและวิธีการอภิปราย
5. รายงานที่นำเสนอ สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
6. แบบฟอร์มประเมินพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปราย หรือนำเสนอผลงาน
 1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2.สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
4. สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
 1. สอนบรรยายเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือการออกแบบระบบฐานข้อมูล(ER-Diagram , Normalization) เพื่อสร้างชิ้นงาน(MS VISUAL BASIC + MySQL)
2. กิจกรรมกลุ่ม โครงงาน
3. ไม่มี
4. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและทำรายงานโดยมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ การนำเสนอโครงงาน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากการนำเสนอโครงงานกลุ่ม ชิ้นงาน การนำเสนอและการมีส่วนร่วมในการอภิปราย
2. โครงงานกลุ่ม ชิ้นงาน
3. ไม่มี
4. ประเมินจากการนำเสนอโครงงานกลุ่ม
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 12031305 โปรแกรมประยุกต์ทางฐานข้อมูล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-16 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 , 8 , 14 , 16 10% , 20% , 10% , 20%
2 1-16 วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1-16 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. นราวิชญ์  ความหมั่น, เอกสารประกอบการสอนวิชา การเขียนโปรแกรมประยุกต์ทาง
ฐานข้อมูล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ลำปาง , 2556.
  2. บัญชา ปะสีละเตสัง. พัฒนาแอปพลิเคชันด้วย Visual Basic 2010. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,
2552
3. กิตินันท์ พลสวัสดิ์. Visual Basic 2010 ฉบับโปรแกรมเมอร์. กรุงเทพฯ : ไอดีซี อินโฟ
ดิสทริบิวเตอร์ เซนเตอร์, 2552
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการสอนในห้องปฏิบัติการ มีดังนี้

Microsoft Visual Basic 2010 MySQL / MySQL Work Bench / MySQL Front Crystal Report XI http://www.narisa.com/forums/index.Ms VisualBasic?showtopic=1036 http://www.cakeMs VisualBasic.in.th/index.Ms VisualBasic?topic=3.0
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่าน Social Network ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้

การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
ลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ