ศิลปหัตถกรรม

Craft

1.1 เพื่อให้เข้าใจประวัติและวิวัฒนาการของงานหัตถกรรม
          1.2 เพื่อให้เข้าใจหลักการและกระบวนการออกแบบงานหัตถกรรม
          1.3 เพื่อให้มีทักษะสร้างสรรค์งานหัตถกรรมจากวัสดุชนิดต่างๆ
          1.4 เพื่อให้รู้จักการเลือกใช้วัสดุชนิดต่างๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานหัตถกรรม
          1.5 เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีและเห็นคุณค่าในการศึกษางานศิลปหัตถกรรม
         
เป็นการปรับรวมวิชาในหลักสูตร เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในการศึกษางานศิลปหัตถกรรม  สามารถสร้างสรรค์งานหัตถกรรมจากวัสดุชนิดต่างๆ และใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างแนวคิดหรือเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานในวิชาต่างๆ ของชั้นปีที่สูงขึ้นไปที่เกี่ยวกับการออกแบบงานหัตถอุตสาหกรรม
ศึกษาและปฏิบัติ วิวัฒนาการของงานหัตถกรรมที่สร้างสรรค์จากวัสดุชนิดต่างๆ การออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ตามลักษณะความสวยงาม รูปทรงและประโยชน์ใช้สอย
 -   อาจารย์ผู้สอน  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Line,  Facebook หรือ ทาง email ของผู้สอน
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ

                                3  มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา  และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคมและ สิ่งแวดล้อม
                                4. เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม  ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน
มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในงานหัตถกรรมที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้าของงานหัตถกรรมและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานหัตถกรรม
จากการทดสอบย่อย
จากการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
และ ประเมินจากผลงานที่นักศึกษาปฏิบัติ
มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้กรณ๊ศึกษา และ การมอบหมายงานทำโครงงานออกแบบงานหัตถกรรม
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานการปฏิบัติงานของนักศึกษาและการนำเสนองาน
มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม

                                        4.สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคมมอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตามการเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
1.สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2.สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาได้วิเคราะห์แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล  โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล   การนำเสนอที่เหมาะสม
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข  การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบายการนำเสนอ
1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
.ใช้วิธีการสอน  ให้ปฏิบัติงานตามใบงานที่มอบหมาย สร้างสรรค์ผลงานตามหลักการและวิธีการที่ถูกต้อง 
         ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 43000003 ศิลปหัตถกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,1 2,2 2.3 2.4 4.4 5.1 สอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 5, 9, 13, 17 10% 15% 10% 15%
2 3.1., 3.2 6.1., 6.2., 6.3 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานการปฏิบัติงานของนักศึกษาและการนำเสนองาน ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1 1.2 1.3 1.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การส่งงาน และการเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.  2537.  รูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทย.  กรุงเทพฯ:  กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
          กระทรวงอุตสาหกรรม.
ธิตินัดดา  จินาจันทร์.  2543.  สืบสานล้านนา.  เชียงใหม่:  คณะกรรมการจัดงานสืบสานล้านนา.
นฤทธิ์  วัฒนชมภู.  2555.  ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย.  กรุงเทพฯ:  วาดศิลป์.
แน่งน้อย  ปัญจพรรค์.  2534.  เครื่องเงินในประเทศไทย.  กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์เริงรมย์.
บาสเสท พีตา.  2553.  ทิศทางใหม่ของวัสดุไทย.  กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ.
ปานฉัตร  อินทร์คง.  2559.  การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม แนวคิด รูปแบบและการวิเคราะห์.         
          กรุงเทพมหานคร:  อันลิมิตพริ้นติ้ง.
ไพฑูรย์  ทองทรัพย์.  2555.  สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้.  นครสวรรค์:  มหาวิทยาลัยราชภัฎ.
วิบูลย์  ลี้สุวรรณ.  2546.  ศิลปะชาวบ้าน.  กรุงเทพฯ:  อมรินทร์.
สันต์ทัศน์  เพ็ญจันทร์.  2554.  ภูมิปัญญาเชิงช่างเชียงใหม่.  เชียงใหม่:  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สาวิตรี  เจริญพงศ์.  2537.  วิวัฒนาการของศิลปหัตถกรรมในสังคมไทย.  กรุงเทพฯ:  โรงพิมพ์
          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านการอภิปราย และแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ที่มีต่อการพัฒนาการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป ปีถัดไป
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนและบันทึก
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.4   การส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นในการเรียนการสอน ทั้งด้านบวกและลบ
       เชิงเหตุและผล จากการสัมภาษณ์ในลักษณะรายบุคคล รายกลุ่ม  
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรง
3.2   ศึกษารูปแบบวิธีการสอน จากสื่อต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางการวางแผนปรับปรุง
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหลักสูตร  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 ปรับวิธีการสอน ที่จะส่งผลให้นักศึกษามีความสุขในการเรียนรู้