การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรมโยธา

Computer Application in Civil Engineering

เข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานด้านวิศวกรรมโยธาได้
 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจ พฤติกรรม ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานด้านวิศวกรรมโยธาและสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
พื้นฐานพฤติกรรมขององค์ อาคารที่รับแรงอัด  แรงดัด   แรงบิด  แรงเฉือน   แรงยึดหน่วง และพฤติกรรม ร่วมของแรงเหล่านี้    การออกแบบองค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดย วิธีหน่วยแรงใช้งาน    และ วิธีกำลัง  ออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
 
นักศึกษาสอบถามได้ในห้องเรียน นอกเวลาเรียนที่ ห้องพักอาจารย์
หรือในระบบ Application Line
มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
                        1.1.2     มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อ
                                    ขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
                        1.1.3     เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของ
                                    ความเป็นมนุษย์
                        1.1.4     เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
                        1.1.5     มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพพัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร ตามข้อบังคับสภาวิศวกรดังนี้
1.1.5.1  ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ 1.1.5.2        ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ
 1.1.5.3 ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
1.1.5.4  ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ผลประโยชน์ แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน
1.1.5.5  ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ จากผู้รับเหมา หรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่ กับผู้ว่าจ้าง
1.1.5.6  ไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุมเกินความเป็นจริง
1.1.5.7 ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำ
1.1.5.8 ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร
1.1.5.9  ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในงานที่ตนเอง   ไม่ได้รับทำ ตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง
1.1.5.10 ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง
1.1.5.11 ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
1.1.5.12 ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคา เว้น แต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความ
ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้น ทราบล่วงหน้าแล้ว
1.1.5.13 ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคา เว้น แต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความ ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้น ทราบล่วงหน้าแล้ว
1.1.5.4 ไม่ใช้หรือคัดลอกแบบ รูป แผนผัง หรือเอกสาร ที่เกี่ยวกับงานของผู้ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น
1.1.5.15 ไม่กระทำการใดๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของผู้ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
1.2.1     ลงชื่อเข้าเรียนทุกครั้ง
1.2.2     แจ้งกติกา ข้อตกลงมารยาทในการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก
1.2.3     มอบหมายเอกสารอ่านประกอบ ภาพ วีดีทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนเพื่อเพิ่มเติม
              ประสบการณ์
1.2.4     มอบหมายแบบฝึกหัด รายงาน กำหนดวันส่ง การนำเสนอผลงาน ติดตามผล
1.2.5     บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา การกระทำผิดจรรยาบรรณวิศวกร อภิปราย
              กลุ่ม
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2     มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3     ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4     ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
เข้าใจและสามารถออกแบบอาคารประเภทต่างๆ ระบบของโครงสร้าง การจัดระบบผัง คานและแผ่นพื้น วิเคราะห์และเข้าใจแรงประเภทต่างๆ ที่กระทำต่อโครงสร้างอาคาร สามารถ วิเคราะห์โครงข้อแข็ง และรู้แนวทางปฏิบัติการออกแบบอาคารเบื้องต้น โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
บรรยาย อภิปราย  และการทำงานกลุ่ม โดยมอบหมายให้เลือกรูปแบบอาคารทางสถาปัตยกรรมและนำมาออกแบบโครงสร้างโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และนำมาเสนอให้ผู้เรียนร่วมชั้นได้เข้าใจทั่วถึงกัน
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและ ทฤษฎี
2.3.2 ประเมินจากการแนวคิด ความถูกต้อง และการนำเสนอของโครงงานกลุ่ม
2.3.3 ประเมินจิตพิสัยผู้เรียน
พัฒนาความสามารถในการคิด และความเข้าใจ ให้เป็นไปตามระบบในทางทฤษฎีและ ปฏิบัติ เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพต่อไป
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์ ออกแบบและแก้ไขปัญหา และ การนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวัดผลตามจุดประสงค์การสอน
3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วน
ตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์และออกแบบระบบโครงสร้างอาคารกรณีศึกษา และมีวิธีตรวจสอบความถูกต้อง
4.2.2 การนำเสนอรายงานและมีวิธีการตรวจสอบความเข้าใจและถูกต้อง
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการค้นคว้า หาข้อมูล คิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน
            และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้าง
ห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้อง สนทนา Chat Room
ทักษะในการแสดงความคิดเห็น และยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นทางสังคมออนไลน์
5.1.6 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำแบบฝึกหัด และตรวจสอบความ
ถูกต้อง
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
                        5.3.1     ประเมินจากรายงานและรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
                        5.3.2     ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.1, 2.4,2.5, 3.1-3.5, 4.3-4.5, 5.1-5.5, 6.1-6.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 25% 25%
2 2.1,2.1, 2.4,2.5, 3.1-3.5, 4.3-4.5, 5.1-5.5, 6.1-6.2 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1-1.5, 2.2,2.3,2.5 3.1-3.5,4.2-4.5 5.1-5.5,6.1-6.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์(2527). การวิเคราะห์โครงสร้างะวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
ทักษิณ เทพชาตรี (2536), พฤติกรรมและการออกแบบโครงสร้างเหล็กวิศวกรรมสถานแห่งประเทศ ไทย
วินิต ช่อวิเชียร (2540), การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
ไพบูลย์ ปัญญาคะโป(2545). การออกแบบอาคาร, LIBRARY NINE
 
 
Manual CSI-SAP2000 
Manual CSI-ETAB2016
Manual CSI-SAFE2014
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น youtube
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็น จากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดม สมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการ เรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผล การ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
       4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
       4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย ตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการ สอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
      5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
      5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหา ที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ