การบริหารทรัพยากรมนุษย์

Human Resources Management

รู้ความหมายและโครงสร้างของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เข้าใจการวิเคราะห์งานการกำหนดรายละเอียดของงานและคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน เข้าใจการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหา และการคัดเลือกบุคลากร เข้าใจการเริ่มต้นปฏิบัติงาน การปฐมนิเทศ การฝึกอบรม และการพัฒนาบุคลากร เข้าใจการบริหารค่าจ้างและเงินเดือน สวัสดิการ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การเลื่อนตำแหน่งและการโยกย้าย


เข้าใจการสร้างขวัญ และการจูงใจ ภาวะผู้นำ แรงงานสัมพันธ์ และการพ้นจากงาน เข้าใจเรื่องอุบัติเหตุและความปลอดภัยจากการทำงาน จริยธรรมงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการวิจัยงานด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์
เพื่อให้นักศึกษา มีความรู้หลักการและทฤษฎี หน้าที่งานบริหารทรัพยากรมนุษย์ และมีความรู้ ความเข้าใจสถานการการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน
ศึกษาถึงความหมายและโครงสร้างของการจัดากรทรัพยากรมนุษย์ การวิเคราะห์งาน การกำหนดรายละเอียดของงาน และคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหา และการคัดเลือกบุคลากร การเริ่มต้นงาน การปฐมนิเทศ การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การเลื่อนตำแหน่งและการโยกย้าย ขวัญและการจูงใจของพนักงาน การใช้ภาวะผู้นำ แรงงานสัมพันธ์ การจัดสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงาน รวมถึงการออกจากงาน 
 
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2. มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
3. ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
4. ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
 
1. จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งหันทางธุรกิจ
3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
1. การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
2. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
1. ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
2. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
2. มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
3. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
2. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
2. การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
3. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
 
1. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2. พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 6 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
1 BBABA204 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม จากการเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ความรู้ จากการวิเคราะห์กรณีศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 ทักษะทางปัญญา การสอบกลางภาคและปลายภาค 9 50%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ จากงานที่มอบหมายให้นักศึกษาทำ เช่น วิเคราะห์กรณีศึกษา และนำเสนอหน้าชั้นเรียนตลอดจนการแสดงความคิดเห็น ตลอดภาคการศึกษา 20%
5 ทักษะการวิเคราะห์ การคำนวณ การสอบกลางภาคและปลายภาค 9 และ 17 10%
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2545
ดร.วนิดา วาดีเจริญ และคณะ. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากแนวคิดทฤษฎี สู่ภาคปฏิบัติ.
พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น, 2556
ดร.กัญญ์วรา  สมใจ. การจัดการทรัพยากรมนุษย์.เอกสารประกอบการสอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
1. ประเมินผู้สอนประเมินรายวิชาโดยนักศึกษา
2. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เพื่อสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา การตอบคำถามภายในชั้นเรียน การอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
ผลการเรียนของนักศึกษา และการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาว่ามีความเข้าใจหรือไม่ โดยใช้การพูดจาสื่อสารระหว่างกัน เกี่ยวกับความรู้ต่างๆ
ไม่มี
การทวนสอบการตั้งคณะกรรมการสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
การให้นักศึกษา ได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง และสังเกตวิธีการแก้ปัญหา เพื่อให้มีความเข้าใจในเนื้อหารายวิชา และตรงกับสถานการณ์ปัจจุบันยิ่งขึ้น