งานฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

Basic Computer Engineering Skills

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติการพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม ที่เกี่ยวกับเครื่องมือวัด เครื่องมือกลพื้นฐาน เทคนิคการใช้อุปกรณ์ ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการนำความรู้ ความเข้าใจในการฝึกปฏิบัติการพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม ที่เกี่ยวกับเครื่องมือวัด เครื่องมือกลพื้นฐาน เทคนิคการใช้อุปกรณ์ ความปลอดในการปฏิบัติงาน
 -  อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านทางบอร์ดประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์หรืออีเมลล์
 -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้ 1.ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 2.มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 3.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 4.เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 5.เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 6.สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม 7.มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม ความซื่อสัตย์ การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ 2. อภิปรายกลุ่ม 3. กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องหรือกำหนดบทบาทสมมติ
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงต่อเวลา 2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม 3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4. ประเมินผลจาการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ในการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือกลพื้นฐาน และเทคนิคการใช้อุปกรณ์ต่างๆทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ตลอดจนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
อภิปราย เกี่ยวกับการใช้งาน เครื่องมือวัด เครื่องมือกลพื้นฐาน เทคนิคการใช้อุปกรณ์ ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
ประเมินจากการงานที่ได้มอบหมาย และทดสอบการปฏิบัติงานในหัวข้อต่างๆ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์
สอนการคิดอย่างมีระบบ โดยการยกตัวอย่างจากสภาพต่างๆ วิเคราะห์กรณีศึกษา และการสะท้อนแนวคิดจากพฤติกรรมของนักศึกษา
วัดผลจากการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายหรือใบงาน และ สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1. พัฒนาทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศีกษา 2. มอบหมายงานและให้ส่งตามกำหนดเวลา
1. ประเมินพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม และความรับผิดชอบ 2. ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
1. พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 2. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมลล์ และสื่อสารสังคมออนไลน์ต่างๆ 3. ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย การนำเสนองานกลุ่ม
เน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ดังข้อต่อไปนี้ 1. มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัด เคริ่องมือกลพื้นฐาน และเทคนิคการใช้อุปกรณ์ต่างๆทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ตลอดจนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
สังเกตขั้นตอนปฏิบัติงานและความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2
1 ENGCE101 งานฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 4.1 ทดสอบ 3, 13 20%
2 1.1, 8.1 การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 2.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
เจน สงสมพันธุ์. เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ 1, โรงเรียนอิเล็กทรอนิกส์กรุงเทพ ; 2533
 
เรืองวิทย์ นนทะภา และคณะ. เอกสารการสอนวิชาสื่อและเทคโนโลยีการสอน. กรุงเทพฯ : ม.ป.ป.
 
สมโชค ลักษณะโต. ปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4. สถาบันอิเล็กทรอนิกส์        กรุงเทพรังสิต ; 2552
 
อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. งานฝึกฝีมือ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2554.
 
Charles A. schuler. Electronics principles and appications, 1979 by mc graw-hill, INC
 
United State of America. Technology of Machine Tools. Fourth Edition, Mcgraw - hill, New          York, 1990.
 
http://www.com5dow.com, July 25, 2011.
 
http://www.mwit.ac.th/~physicslab/content_01/electricitis/index-4.htm, June 10, 2011.
 
http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/electric4/weekall.html, May 20, 2011.
 
http://wbi.wk.ac.th/users/panya/03.pdf, June 13, 2011.
ไม่มี
- เว็บไซต์สืบค้น หรือสารานุกรม ได้แก่ Google, Wikipedia
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ได้ดังนี้ 1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ด้วยวิธีการดังนี้ 1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอนหรือหัวหน้าหลักสูตร 2. ผลการเรียนของนักศึกษา 3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา 2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 2. ประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ