การแปลงานเขียนทางวิชาการ

Academic Writing Translation

เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้รูปแบบ ลักษณะงานเขียนทางวิชาการ ฝึกทักษะการแปลงานเขียนทางวิชาการในสาขาต่างๆ จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในด้านการแปลงานเขียนเชิงวิชาการ และสามารถนำความรู้จากการฝึกปฏิบัติและแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริงไปใช้ในวิชาชีพ รวมถึงเป็นพื้นฐานของวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การเรียนรู้รูปแบบลักษณะงานเขียนทางวิชาการ ฝึกทักษะการแปลงานทางวิชาการในสาขาต่างๆ จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่

ความมีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
1.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณของการแปลในเนื้อหาของบทเรียน
1.2.2 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
1.2.3 กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.1 การทดสอบความเข้าใจในการสอบกลางภาคและปลายภาค
1.3.2 การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจ ทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องลักษณะของงานเขียนทางวิชาการ หลักการแปลงานเขียนทางวิชาการ ส่วนในทางปฏิบัติ เน้นการฝึกแปลงานเขียนทางวิชาการจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้เกี่ยวกับการแปลกับศาสตร์ต่างๆ อย่างเหมาะสม
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
2.2.1 ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
2.3.2 การฝึกปฏิบัติการแปลข้อเขียนประเภทต่าง ๆ ทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.3 ผลงานจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการแปลงานเขียนประเภทต่าง ๆ ในระดับประโยค ย่อหน้า และข้อความ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1 ให้นักศึกษาวิเคราะห์งานแปลและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานแปลงานเขียนทางวิชาการ
3.2.2 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารจริง
3.2.3 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายนอกชั้นเรียนโดยเลือกเอกสารเอง
3.3.1 การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
3.3.2 การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
3.3.3 การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักนำความรู้ในศาสตร์ของตน มาช่วยเหลือสังคมโดยรวมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
จัดให้นักศึกษาได้ทำฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารทางวิชาการและนำผลงานมาเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ
ประเมินจากการฝึกปฏิบัติการแปลของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการแปลอย่างเหมาะสม และสามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบท
ประเมินจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา ได้แก่
5.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการแปลในบทเรียนต่าง ๆ
5.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line
5.2.4 ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารทางวิชาการ
5.3.1 การทดสอบความรู้ด้านภาษาในการสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.2 ผลงานการทำแบบฝึกปฏิบัติการแปลในชั้นเรียน
5.3.3 ผลการทำงานมอบหมายนอกชั้นเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล