ระบบการผลิตแบบลีน

Lean Production System

เข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดสำคัญในการควบคุมและพัฒนาระบบการผลิตแบบลีนอย่างต่อเนื่อง เข้าใจระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี เข้าใจเกี่ยวกับระบบการผลิตแบบดึงและการควบคุมคุณภาพแบบองค์รวม เข้าใจหลักวิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการผลิต แผนผังสายธารคุณค่า วงจรไคเซ็น เข้าใจเทคนิคในการลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรในหน่วยของนาที หกซิกม่า และเข้าใจดัชนีชี้วัดขีดความสามารถในกระบวนการผลิต
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการวางแผนการผลิตโดยใช้หลักการผลิตแบบลีนเป็นแนวทางเพื่อนำไปสู่ การนำความรู้ ความเข้าใจ ในระบบการผลิตแบบลีน ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านวิศวกรรมอุตสาหการให้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดสำคัญในการควบคุมและพัฒนาระบบการผลิตแบบลีนอย่างต่อเนื่อง ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี ระบบดึงและการควบคุมคุณภาพแบบองค์รวม วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการผลิต แผนผังสายธารคุณค่า วงจรไคเซ็น เทคนิคในการลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรในหน่วยของนาที หกซิกม่า และดัชนีชี้วัดขีดความสามารถในกระบวนการผลิต
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ให้คำปรึกษาเฉพาะกลุ่ม 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
      1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
      1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
       1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
      1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กรสังคมและสิ่งแวดล้อม
       1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1 บรรยายเนื้อหาความสำคัญของรายวิชาพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้นักศึกษาทราบเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิชาชีพในองค์กรและสังคม
1.2.2 ฝึกปฏิบัติงานตามแต่ละหัวข้อของการเรียนรู้
1.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษา ผลงาน และการทดสอบ
          2.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมแม่พิมพ์
2.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.5 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 บรรยายและมอบหมายงานให้นักศึกษาทำตามเงื่อนไขของรายวิชา
2.3.1 การทดสอบและดูจากผลงานของนักศึกษา
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาทำตามเงื่อนไขของรายวิชา
3.2.2 ให้นักศึกษาวิเคราะห์งาน และสามารถแสดงแนวความคิดในเชิงสร้างสรรค์ได้
3.3.1 ดูจากงานที่นักศึกษาส่งและการวัดผลโดยการสอบกลางภาคและปลายภาค
4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัว และส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
4.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 มีการให้งานทำในลักษณะกลุ่ม
4.2.2 นักศึกษาที่เรียนรู้ได้เร็ว ช่วยอธิบายเทคนิค ช่วยเหลือให้เพื่อน
4.2.3 การส่งงานที่ได้รับมอบหมายทันในเวลาที่กำหนด
4.3.1 การสังเกต
4.3.2 ความสำเร็จของงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 นักศึกษาสามารถส่งงานและนำเสนองานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1 ดูจากผลงานของนักศึกษา
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาและกำหนดระยะเวลาในการส่งงาน
6.2.2 การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างถูกวิธีและการบำรุงรักษา
6.3.1 นักศึกษาส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด
6.3.2 มีการกำหนดคะแนนในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.2,2.4,2.5, 3.1.1,3.1.2,3.1.3, 4.1.1,4.1.2,5.1.1,5.1.2,6.1.2,6.1.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 3 9 12 18 5% 20% 5% 20%
2 1.1.2,1.1.3,1.1.5, 2.1,2.2,2.4,2.5, 3.1.1,3.1.2,3.1.3, 4.1.1,4.1.2,5.1.1,5.1.2,6.1.2,6.1.3 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย อภิปราย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1.2,1.1.3,1.1.5, 3.1.1,3.1.2,3.1.3,4.1.1,4.1.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
รัชตวรรณ กาญจนปัญญาคม. 2552. การศึกษางานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์ท็อป จำกัด.
ผศ. ดร.มังกร โรจน์ประภากร.ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (TOYOTA Production System).สำนักพิมพ์ สสท. กรุงเทพฯ
นิพนธ์ บัวแก้ว.2547.การผลิตแบบลีน.สำนักพิมพ์ สสท. กรุงเทพฯ
สุรธันย์ ปาละพรพิสุทธิ์. 2017.LEAN 4.0 Manufacturing. ทรัพยากรทางปัญญาและประสิทธิภาพผลผลิต (ไอ พี อาร์ ไอ). กรุงเทพฯ
ธานี อ่วมอ้อ. 2010. TPM สำหรับโรงงานแบบลีน.อี.ไอ.สแควร์ พับลิชชิ่ง, บจก.
ยุพา กลอนกลาง, ดร. วิทยา สุหฤทดำรง. 2006. การผลิตแบบเซลลูล่าร์ (Cellular Manufacturing : One- piece Flow for Workteams). อี.ไอ.สแควร์ พับลิชชิ่ง, บจก.
Breakthrough Management Group with Neil DeCarlo. 2015. Lean Six Sigma. Book Briefing, วารสาร Productivity World.
ไม่มี
งานวิจัยเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิคการผลิตแบบลีน
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
2.2 ผลการทดสอบย่อย
2.3 ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
2.4 รายงานตามบทปฏิบัติการ
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษาโดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อปูพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
3.2 หาเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง
คาบเรียนสุดท้ายของการเรียน อาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาทำแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เพื่อประเมินผลสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรายวิชาตามทักษะต่างๆ ที่ปรากฏในหมวดที่ 4
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขาวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำสาขาวิชาพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสาหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป