การวางแผนและควบคุมการผลิต

Production Planning and Control

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเกี่ยวกับการวางแผนและการจัดการการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงการจัดการวัสดุคงคลัง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษาทางด้านรูปแบบการผลิต การพยากรณ์ความต้องการ การวางแผนการผลิตรวม การวางแผนกำลังการผลิตและวัสดุ การจัดการวัสดุคงคลัง การจัดลำดับงาน และการวางแผนโครงการ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการวางแผนและควบคุมการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้
ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทลักษณะของการวางแผนและควบคุมการผลิต การไหลเวียนของข้อมูลในระบบควบคุมการผลิต เทคนิคการพยากรณ์ การวางแผนกระบวนการผลิต การวิเคราะห์ต้นทุนและผลกำไรเพื่อใช้ในการตัดสินใจ การวางแผนบริหารความต้องการวัสดุ การหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด การจัดตารางการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง การกำหนดการผลิตการควบคุมเชิงปริมาณ การบริหารและการจัดการห่วงโซ่อุปทานเบื้องต้น ตลอดจนการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการวางแผนและควบคุมการผลิต
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1   มีวินัย ตรงต่อเวลา  รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  เคารพกฎระเบียบวินัยและ
ข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม             
1.1.2   สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.3   มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 1.2.1 อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษา
1.2.2 มอบหมายงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน
1.2.3 สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพระเบียบข้อบังคับ
1.3.1   ประเมินผลจากการเข้าเรียน
1.3.2   ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตและตรงเวลา
1.3.3   สังเกตพฤติกรรมการตอบข้อซักถามและการยกตัวอย่างเปรียบเทียบใน ด้านการรักษากฎระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคมองค์กรให้เห็นความมีคุณค่า มีเกียรติ รู้สึกภูมิใจในตนเองและสถาบัน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1     บรรยายหลักการ ทฤษฎี ตามคำอธิบายรายวิชา อภิปรายระหว่างอาจารย์และนักศึกษา  
2.2.2      ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้หลักการวางแผนและควบคุมการผลิตเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
2.2.3     มอบหมายงานเป็นกลุ่ม
2.2.4      สรุปเนื้อหาบทเรียน
2.3.1   ให้โจทย์ปัญหา ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาคด้วยข้อสอบ
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.3 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.4 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 มอบหมายงาน
3.3.1 พิจารณาจากผลงานที่มอบหมาย
3.3.2 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม
4.1.2  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.3  รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.4  มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1   มอบหมายโจทย์ให้ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม, รายบุคคล และมีการนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาโจทย์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
4.3.1   ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
4.3.2   สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.3 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1   นำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.2   ทดลองใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์มาคำนวณในการแก้ปัญหาโจทย์ต่างๆ 
5.2.3   อธิบายวิธีการใช้เครื่องคำนวณในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
5.3.1   ผลจากการประเมินผลการแจ้โจทย์ปัญหาและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.3.2     ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการร่วมกันแก้ปัญหาโจทย์โดยใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ในเรื่องของการพยากรณ์ การจัดการสินค้าคงคลัง เป็นต้น
 
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
6.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาและกำหนดระยะเวลาในการส่งงาน
6.2.2 การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างถูกวิธีและการบำรุงรักษา
6.3.1 นักศึกษาส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด
6.3.2 มีการกำหนดคะแนนในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3, 2.4, 3.3, 5.4 2.1, 3.2, 3.4, 5.5 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8,17 30% 30%
2 1.3, 3.5, 6.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า รายงานและการนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 15%
3 1.2 2.5, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 4.4, 6.1 การส่งงานตามเวลาที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 15%
ผศ.ดร.บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์ (2552), การวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning and Control), พิมพ์ครั้งที่ 1, บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ
ผศ.ดร.บรรหาญ ลิลา, การวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning and Control), สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด,กรุงเทพ,2553.
 
           1.   ชุมพล ศฤงคารศิริ (2545), การวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning and Control), พิมพ์ครั้งที่ 9, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น, กรุงเทพฯ
           2.   Stephen N. Chapman (2006), Fundamentals of Production Planning and Control, Pearson Education.
งานวิจัยเกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมการผลิต
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ