การจัดการพลังงานและของเสียในอุตสาหกรรมอาหาร

Energy and Waste Management in Food Industry

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การจัดการพลังงาน สมดุลพลังงาน การจัดการของเสีย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการของเสีย ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้และประยุกต์ใช้ได้จริง
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพลังงานและหลักการเบื้องต้นของการอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน สมดุลพลังงาน แผนอนุรักษ์พลังงาน การจัดการของเสียทางอุตสาหกรรมอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


Basic of energy and the principles of conservation and energy management. The energy balance. Plan for energy conservation, management of industrial waste, food and related laws.
อาจารย์ผู้สอน แจ้งเวลาให้นักศึกษามาปรึกษานอกตารางเรียนในครั้งแรกของการเรียนการสอน โดย จัดสรรเวลาให้อย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต

1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม **

1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ *

1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม

1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึง เข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพ*
1.2.1 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด

1.2.2 สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม ผู้สอนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
1.3.1   การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา

1.3.2   พิจารณาจากการทำงานในระหว่างเรียนและระหว่างการสอบ

1.3.3   การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมอาหาร **

2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาของสาขาวิชาเฉพาะด้านการผลิตและนวัตกรรมอาหาร *

2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง *

2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือ ที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 

2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ 
บรรยาย อภิปรายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพลังงานและของเสียในอุตสาหกรรมโดยยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมอาหาร พร้อมทั้ง มอบหมายงานให้นักศึกษาจัดทำ
2.3.1   คะแนนแบบทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
2.3.2 งานที่ได้รับมอบหมาย
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ **

3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 

3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมการผลิตและนวัตกรรมอาหารได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ *

3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ *

3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ *
ทำการสอนโดยอธิบายขั้นตอนในการพิจารณาการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ใช้ตัวอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงประกอบการสอน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดด้วยตนเอง และแสดงความคิดในการเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา มอบหมายการบ้าน แบบฝึกหัด งานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา และเข้าศึกษาดูงานในอุตสาหกรรมที่มีระบบการจัดการพลังงานและของเสีย
ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา และงานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม

4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน **

4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ *

4.1.5 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
ให้นักศึกษาได้ทำงานทั้งกลุ่มและเดี่ยว
ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดงานที่จะได้รับมอบหมาย 
นักศึกษาสามารถกำหนดบทบาทในการทำงาน รวมทั้งให้นักศึกษามีบทบาทในการให้ความเห็น กับผลงานของคนอื่น หรือกลุ่มอื่น 
ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย รายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 สามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี *

5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการ แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ *

5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 

5.1.5 สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม *
มอบหมายให้นักศึกษาได้ทำงานทั้งกลุ่มและเดี่ยว  โดยจัดทำรายงานที่อ้างอิงข้อมูลต่างๆ ที่สืบค้นมาได้ และนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงานและการที่นำเสนอ
6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ 

6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ *

6.1.3 มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง **
สอนทักษะในการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพลังงานและการกำจัดของเสียต่างๆ และการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการตรวจวัดค่าต่างๆ ได้ พร้อมทั้งเข้าศึกษาดูงานในสถานประกอบการต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะมอบหมายงานให้นักศึกษาดำเนินการด้วยตนเอง
ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3
1 ENGFI206 การจัดการพลังงานและของเสียในอุตสาหกรรมอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม 1.3.1   การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา 1.3.2   พิจารณาจากการทำงานในระหว่างเรียนและระหว่างการสอบ 1.3.3   การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดภาคการศึกษา 5 คะแนน
2 ความรู้ 2.3.1   คะแนนแบบทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค 2.3.2 งานที่ได้รับมอบหมาย 5, 9, 15 และ 17 25 คะแนน
3 ทักษะทางปัญญา ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา และงานที่ได้รับมอบหมาย 5, 9, 15 และ 17 25 คะแนน
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย รายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ตลอดภาคการศึกษา 15 คะแนน
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประเมินจากรายงานและการที่นำเสนอ สัปดาห์ที่มอบหมายให้ส่งงานและนำเสนอ 15 คะแนน
6 ด้านทักษะพิสัย ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย สำปดาห์ที่มอบหมายให้ส่งงาน 15 คะแนน
เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์. 2559. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 5. สยามสเตชั่นเนอรี่ซัพพลายส์. กรุงเทพ.
สมพงษ์ หิรัญมาศสุวรรณ. 2552. กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ พื้นฐานและการคำนวณออกแบบ. พิมพ์ครั้งที่ 1. สยามสเตชั่นเนอรี่ซัพพลายส์. กรุงเทพ.
อังก์คิริ ทิพยารมณ์.2559. การจัดการของเสียอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์. กรุงเทพ.
 
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4