มีนวิทยา

Ichthyology

๑.๑ เข้าใจลักษณะของปลา
๑.๒ เข้าใจระบบต่างๆของปลา
๑.๓ เข้าใจพฤติกรรมของปลา
๑.๔ ปฏิบัติการจำแนกชนิดของปลา
๑.๕ มีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาด้านมีนวิทยา
๑. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของปลา และเป็นพื้นฐานการเรียนในรายวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
๒. เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับลักษณะของปลา ระบบโครงร่างและการเคลื่อนที่ของปลา ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก ระบบสืบพันธุ์ ระบบขับถ่าย และออสโมเรกูเลชั่น อนุกรมวิธานของปลา
จัดให้นักศึกษาเข้าพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการที่เกี่ยวข้องสัปดาห์ละ๒ ชั่วโมง โดยอาจารย์จะแจ้งวันและเวลาให้นักศึกษาทราบ
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมสาธารณะ 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการ หรือวิชาชีพ
 
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอนทุกรายวิชารวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและเสียสละ เป็นต้น
ประเมินการมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด ประเมินจากความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ประเมินจากความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ประเมินจากผลงานที่ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นหรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน ประเมินจากพฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ
2.2 มีความรอบรู้
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมีการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
-การทดสอบย่อย
การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
-ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
-ประเมินจากแผนงานหรือโครงการที่นำเสนอ
-ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
-ประเมินจากรายวิชาฝึกงานหรือสหกิจศึกษา
  3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ   3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ

 3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้
บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาทางการเกษตร เพื่อ
-ค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ ประเมินข้อมูลและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
-การอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิด
วิเคราะห์ข้อมูลและประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้มาหรือเลือกใช้ความรู้ที่เรียนมาแก้ไขโจทย์ปัญหาที่กำหนด
-ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า
ประเมินจากผลงานการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
- การสัมภาษณ์หรือการสอบปากเปล่า
-การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ
4.1 ภาวะผู้นำ 4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ
-สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
-สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้
-มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
-มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-สามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
5.1 มีทักษะการสื่อสาร 5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองสถานการณ์เสมือนจริงหรือแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษาหรือในการปฏิบัติงานจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
-ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอและ
การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูล
-ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ประมวลผลและแปลความหมาย
-การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
6.1 มีทักษะทางวิชาชีพ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
-ประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติอย่างความถูกต้อง
-ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
-ความสำเร็จและคุณภาพของผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีจิตสำนึกและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมสาธารณะ มีจรรยาบรรณทางวิชาการ หรือวิชาชีพ 1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ 2 มีความรอบรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ ใฝ่รู้และรู้จักวิธ๊การเรียนรู้ ภาวะผู้นำ มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ มีทักษะการสื่อสาร มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะทางวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
1 BSCAG301 มีนวิทยา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๑.๑.๓ การเข้าชั้นเรียน/ความสนใจ/ความตรงต่อเวลา/การไม่ทุจริต ตลอดภาคการศึกษา ๑๐ %
2 ๒.๑.๑, ๑.๑.๑, ๓.๑.๒ สอบกลางภาค ๒๐%
3 ๒.๑.๑, ๑.๑.๑, ๓.๑.๒ สอบปลายภาค ๑๗ ๒๐%
4 ๑.๑.๑, ๑.๑.๒, ๒,๑,๑, ๒.๑.๓, ๕.๑.๒, ๔,๑,๔, รายงานที่นักศึกษาจัดทำในแต่ละบทปฏิบัติการ ๓,๕,๗,๑๐,๑๒,๑๓,๑๕,๑๖ ๑๐ %
5 ๑.๑.๑,๒.๑.๒, ๓.๑.๒ การอภิปรายกลุ่ม ๑,๒,๔,๖,๙,๑๑,๑๓,๑๔,๑๖ ๕ %
6 ๒.๑.๑, ๓.๑.๑, ๖.๑.๑ ปฏิบัติการ ๓,๕,๗,๑๐,๑๒,๑๓,๑๕,๑๖ ๑๐ %
7 ๑.๑.๒, ๑.๑.๓, ๕.๑.๒, ๒.๑.๒, ๕.๑.๓ งานที่มอบหมาย ๑,๒,๔,๖,๙,๑๑,๑๓,๑๔,๑๖ ๑๐ %
8 ๔.๑.๑, ๔.๑.๒, ๔.๑.๓, ๒.๑.๓, ๕,๑,๓ การนำเสนองานในชั้นเรียน ๓, ๑๕ ๑๐ %
9 ๕.๑.๑ สื่อที่ใช้ในการนำเสนองาน ๓, ๑๕ ๕ %
วิมล เหมะจันทร. ๒๕๔๐. ชีววิทยาปลา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สุภาพ มงคลประสิทธิ์ และ ประจิตร วงศ์รัตน์. 2541. มีนวิทยา (ปฏิบัติการ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , กรุงเทพฯ.
สืบสินธุ์ สนธิรัตน์. 2527. ชีววิทยาของปลา. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 185 น.
Lagler, K.F. ; J.E. Bardach ; and R.R. Miller. 1962. Ichthyology. John Wiley and Sons,
Inc. 545 pp.
Carpenter, K. E. 1998. The Living Marine Resourse of The Western Central Pacific, Volume2.
FAO, Rome. P. 688- 1396.
_____. 1999. The Living Marine Resourse of The Western Central Pacific, Volume3. FAO, Rome.
P. 1397-2068.
_____. 1999. The Living Marine Resourse of The Western Central Pacific, Volume4. FAO, Rome.
P. 2069- 2790.
_____. 2001. The Living Marine Resourse of The Western Central Pacific, Volume5. FAO, Rome.
P. 2791- 3379.
_____. 2001. The Living Marine Resourse of The Western Central Pacific, Volume6. FAO, Rome.
P. 3380- 3970.
Doi, A. and M. Kottelat. 1998. Hemimyzon nanensis, a new balitorid fish from the Chao Phraya
basin, Thailand. Ichthyol. Res. 45 (1): 7-11.
Kottelat, M. 1990. Indochinese Nemacheilines. A Revision of Nemacheiline Loaches (Pisces:
Cypriniformes) of Thailand, Burma, Laos, Cambodia and southern Viet Nam.
Verlag Dr. Friedrich Pfeil, Munchen, Germany.
_____. 2001. Fishes of Laos. Gunaratne Offset Ltd., Sri lanka.
Moyle, P.B. and J.J. Cech. 2000. Fishes, An Introduction to Ichthyology. Prentice-Hall, Inc.
Upper Saddle River, NJ. USA.
Nelson, J. S. 2001. Fishes of the World 4th. John Wiley & Don, Inc, New York. USA.
 
๑.๑ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
๑.๒ แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
๒.๑ การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
๒.๒ ผลการเรียนของนักศึกษา
๒.๓ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
๓.๑ สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
๓.๒ ปรับปรุงการสอนตามผลการประเมินผู้สอนเป็นรายวิชา
๔.๑ การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
๔.๒ มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
๕.๑ ปรับปรุงรายวิชาทุก ๕ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔