การจัดการห่วงโซ่อุปทาน

Supply Chain Management

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความหมาย ขอบเขต วัตถุประสงค์ และความจำเป็นของการจัดการห่วงโซ่อุทานที่มีต่อการตัดสินใจในส่วนประสมทางการตลาด และการดำเนินงานด้านการตลาด  รวมถึงสามารถนำความรู้ด้านการตลาดมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบห่วงโซ่อุปทานได้อย่างเหมาะสมตามสภาพแวดล้อมของการตัดสินใจในธุรกิจจริง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มการจัดการห่วงโซ่อุทานที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาถึงบทบาทของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน กระบวนการธุรกิจที่ครอบคลุมจากผู้จัดส่งวัตถุดิบ จนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย  ความสัมพันธ์ระหว่างห่วงโซ่อุปทานและกลยุทธ์ของธุรกิจ การให้บริการลูกค้า  การพิจารณาผู้จัดจำหน่าย วัตถุดิบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทาน การจัดการสินค้าคงคลัง การขนส่งและการบริการ การจัดซื้อในห่วงโซ่อุปทาน  ตลอดจนการแก้ไขปัญหาประเด็นความร่วมมือในบริษัท และระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้อง
อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตรมความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์   (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีความซื่อสัตย์สุจริต  ซื่อตรงต่อหน้าที่  ต่อตนเองและต่อผู้อื่น  ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความกตัญญู  ความเสียสละ ความอดทน  ความเพียรพยายาม มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดความพอประมาณ  ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน มีความเคารพต่อกฎ  ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีจิตสำนึกและมีนโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง  ความดี  และความชั่ว
บรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย  การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี  นิติศาสตร์  ศิลปะศาสตร์  และวิทยาศาสตร์ มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด  การเงิน  การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผนการปฏิบัติการ การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2 .  ใช้การสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎี และปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
3.    มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด หรือรายงาน  และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1  ประเมินจากสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
2  ประเมินจากงานที่มองหมาย และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม  กิจกรรม  หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
2 สามารถสืบค้น  จำแนก  และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้
4  มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
1.การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงงานโดยให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
2 วิเคราะห์กรณีศึกษา เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ/ระบบสารสนเทศที่เหมาะสม
1.  ประเมินจากโครงงาน หรือรายงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงาน
 2  ประเมินจากการศึกษา
1    มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
   2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
3  ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
1. จัดกิจกรรมกลุ่ม ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
2.  มอบหมายงานรายกลุ่ม
ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
5.1.1.  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์  สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
5.1.2     สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีสิทธิภาพ
5.1.3     สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4     สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง  ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.5     สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ และสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย
5.1.6     ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
5.1.1    มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต และทำรายงานโดยให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.2.2     ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
5.2.3     การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1,2.1.2 , 2.1.3,2.1.4 การทดสอบ -การสอบกลางภาค -การสอบปลายภาค 9 17 30% 30%
2 3.1.2 , 3.1.3, 4.1.2 , 5.1.3 การวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้า การนำเสนอรายงาน -การทำรายงาน/งานที่มอบหมาย -การส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1.1,1.1.5 การเข้าชั้นเรียน -การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
     เอกสารประกอบการสอน วิชาการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เรียบเรียงโดย อ เก็จวลี  ศรีจันทร์
การจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้า เอกสารประกอบการเรียน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วิทยา สุหฤทดำรง การจัดการห่วงโซ่อุปทาน, 2554
คำนาย อภิปรัชญาสกุล  โลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน, 2553
การจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้า เอกสารประกอบการเรียน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
    2.1  ผลการเรียการเรียนของนักศึกษา
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
    3.1  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
    3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้
 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น
 4.2 การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม