การฝึกงานทางบริหารธุรกิจ

Job Internship in Business Administration

1. เข้าใจทักษะด้านการสื่อสารและการทำงานเป็นทีม
2. มีทักษะในการปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน
3. เพื่อเสริมสร้างและเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การทำงานในองค์กรและหน่วยงานทางวิชาชีพ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน ในการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านทักษะการสื่อสารและการทำงานเป็นทีม และนำความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตนไปใช้ในการพัฒนาการทำงาน
การศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนนักศึกษาจะเข้าฝึกปฎิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานนั้น โดยมีพนักงานที่ปรึกษาที่องค์กรมองหมายให้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบปฏิบัติงานของนักศึกษา มีการกำหนดลักษณะงานแผนการปฏิบัติงานให้นักศึกษา และนักศึกษาจะต้องทำรายงานภายหลังเสร็จสิ้นการปฎิบัติงานเพื่อการประเมินผลการศึกษา
อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มนอกชั้นเรียน ตามความต้องการของนักศึกษา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ดังนี้
3.1 วันพุธ (คาบกิจกรรม) เวลา 15.00 - 17.00 น. ของทุกสัปดาห์ ห้องพักอาจารย์ระบบสารสนเทศฯ โทร. 082-1859680
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral)
™ 1.1ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
˜ 1.2มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
™ 1.3มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
™ 1.4เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
l 1.5เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
™ 1.6สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
™ 1.7มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2.การสังเกต
2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge)
˜ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ และทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา
™ 2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
2.3 สามารถวิเคราะห์ออกแบบติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด
2.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
2.5 รู้เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
2.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
2.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2.การสังเกต
3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills)
™ 3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
™3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
1.งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2.การสังเกต
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility)
4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
™4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
™4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
™4.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
™4.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1.งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2.การสังเกต
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills)
5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
™5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
™5.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
1.งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2.การสังเกต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-1.7. 2.1, 2.2, 3.1,3.4, 4.2,4.4-4.6,5.3,5.4 การทดสอบรายบุคคล 7 9 10% 30%
2 2.1, 2.2, 3.1, 3.4, 4.2, 4.4, 4.5, 4.6 การฝึกปฏิบัติรายบุคคล ตลอดภาคการศึกษา 20% 10%
3 1.2- 1.6 ,4.2,4.4-4.6 พัฒนาการและพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา -ความตรงต่อเวลาในการเข้าทำงาน -การมีส่วนร่วมในการทำงาน 1-7,9-16 30%
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอนจัดทำโดยมหาวิทยาลัยฯ และแบบประเมินรายวิชา
- ผลการเรียนของนักศึกษา
- ผลการทดสอบและพัฒนาการของนักศึกษา
- นำผลจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนมาปรับเนื้อหา
4.1 ทวนสอบคะแนนสอบของนักศึกษาตามจุดประสงค์การสอนแต่ละหน่วยเรียน
4.2 ทวนสอบงานที่มอบหมายของนักศึกษาตามจุดประสงค์ก่อนสอนแต่ละหน่วยเรียน
 
5.1 ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการประเมินผู้สอน จากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ดำเนินการประเมินโดย มทร.ล้านนา น่าน
5.2 ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้องให้ทันกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย