ท่อความร้อน

Heat Pipe

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของท่อความร้อน และการลักความร้อน ทฤษฎีเบื้องต้น การเลือกท่อบรรจุ การเลือกวัสดุพรุน การเลือกของไหลทำงาน การประกอบ การทดสอบสมรรถนะ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับท่อความร้อนไปประยุกต์ใช้ในงานทางวิศวกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในการกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการของท่อความร้อน และการลักความร้อน ทฤษฎีเบื้องต้น การเลือกท่อบรรจุ การเลือกวัสดุพรุน การเลือกของไหลทำงาน การประกอบ การทดสอบสมรรถนะ
- นักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาเชิงวิชาการผ่านระบบ E-Learning ในรายวิชาการท่อความร้อน
- อาจารย์ประจำรายวิชาจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (ช่วงเวลาชั่วโมงกิจกรรม)
- อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาผ่านกลุ่มไลน์
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ ขององค์กรและสังคม
ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกาที่กำหนดหรือได้ตกลงกันไว้ มีการปลูกฝังความรับผิดชอบให้นักศึกษา ตั้งแต่การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย การทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์ โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น
ประเมินจาการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกําหนด ระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม การมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญในเนื้อหาของวิชาท่อความร้อน สามารถใช้ความรู้และทักษะในวิชาท่อความร้อน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
เน้นหลักการทางทฤษฏีของท่อความร้อน และยกตัวอย่างการประยุกต์การใช้งานของท่อความร้อนในงานวิศวกรรมจริง เน้นการแก้โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานทางวิศวกรรมด้านท่อความร้อน
มีการทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค และประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาของท่อความร้อนได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบท่อความร้อน โดยใช้หลักการวิจัย การศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ เป็นต้น
สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและผู้อื่น
ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น เพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
ประเมินจากการสังเกต และการถามตอบ การทำงานเป็นกลุ่ม
มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2, 3, 4 และ 5 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 10% 25% 10% 25%
2 1, 2, 3, 4 และ 5 การศึกษาค้นคว้า การทำงานกลุ่มและผลงาน การนำเสนอ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1, 2,3 และ 4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ประดิษฐ์ เทอดทูล. (2536). ท่อความร้อน. เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สัมพันธ์ ฤทธิเดช. (2550). เทคโนโลยีท่อความร้อน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. P. Dunn and D. A. Reay, Heat pipes, 3rd edition, Pergamon Press, Oxford, England. 1982. ประชา ยืนยงกุล (2561). ท่อความร้อนและการประยุกต์.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
สามารถดาวโหลดจากเว็บไซท์ วิชาท่อความร้อน
เอกสารประกอบการสอนรายสัปดาห์สามารถดาวโหลดจากเว็บไซต์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในห้องเรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บไซท์รายวิชา ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีสรุปและวางแผนการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ