การออกแบบวงจรความถี่สูง

High Frequency Circuit Design

เพื่อให้นักศึกษามี ความรู้   ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติทางไฟฟ้า  และพารามิเตอร์ของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ความถี่สูงโดยการประยุกต์ใช้ความรุ้ด้านวิศวกรรมสายส่ง สมิธชารต์ และวงจรข่ายไฟฟ้า เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และการออกแบบวงจรกรองความถี่ อุปกรณ์สารกึ่งตัวนําย่านความถี่วิทยุ วงจรข่ายการแมตช์ การออกแบบวงจรขยายออสซิลเลเตอร์และมิกเซอร์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทฤษฎีการวิเคราะห์และการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ความถี่สูง เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนําความรู้เพื่อวิเคราะห์แก้ปัญหาด้านวิศวกรรมวงจรอิเล็กทรอนิกส์ความถี่สูง และมีความสามารถออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ความถี่สูง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิงและการออกแบบวงจรด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จําลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์ความถี่สูง
ศึกษาเกี่ยวกับ การออกแบบวงจรอิมพีแดนซแมตชิ่ง เอส-พารามิเตอร คุณสมบัติของทรานซิสเตอรที่ความถี่สูง การออกแบบวงจรขยายโดยการใช เอส-พารามิเตอร วงจรขยายสัญญาณรบกวนต่าง วงจรขยายสัญญาณกําลัง วงจรขยายที่มีแบนดวิดท กวาง วงจรออสซิลเลเตอร วงจรสังเคราะหความถี่ สายสงไมโครสตริป อุปกรณพาสซีฟสําหรับความถี่สูง วงจรมิกเซอร การออกแบบวงจรกรองความถี่ พาสซีฟ วงจรรวมและแบงสัญญาณ อุปกรณ แปลงอิมพีแดนซ
 
               -อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการของนักศึกษา (3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)
               -สถานที่ให้คำปรึกษาฯ อาคาร อท.3 ชั้น 204 ห้องปฎิบัติการการออกแบบความถี่สูง 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคลื่นความถี่วิทยุ
การไม่สร้างสิ่งรบกวนหรือขัดขวางการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุขององค์กรและสังคม ไม่ประกอบกิจกรรมใดเกี่ยวกับ
วงจรความถี่สูงที่มีอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินโดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
-  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละและซื่อสัตย์
-  มีวินัย ตรงต่อเวลา และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
-  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
-  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์
-  เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
-  สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าต่อบุคคล องค์กร และสังคม
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับวงจรความถี่สูง เช่นการรบกวนสัญญาณระหว่างสถานีวิทยุ ข้อควรระวังในการปฏิบัติงานทางด้านวงจรความถี่สูง
 - กําหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
       - พฤติกรรมการเข้าเรียน การแต่งกายและการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่กำหนดและตรงต่อเวลา
       - ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
       - ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์สายส่ง สมิธชาร์ตและการประยุกต์ใช้งาน การวิเคราะห์วงจรข่ายความถี่วิทยุ การออกแบบวงจรกรองความถี่ อุปกรณ์สายกึงตัวนำย่านความถี่วิทยุ วงจรข่ายการแมตช์ การออกแบบวงจรขยาย วงจรออสซิลเลเตอร์ และวงจรมิกเซอร์
บรรยาย อภิปราย การทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงาน และมอบหมายงานให้ค้นคว้าข้อมูล โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ทดสอบย่อย และการสอบปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
- นำเสนอสรุปผลการค้นคว้าข้อมูลที่มอบหมาย และกรณีศึกษาจากการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอนในการออกแบบวงจรความถี่สูง
- มอบหมายงานให้นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่กำหนด และนำเสนอ
- อภิปรายกลุ่ม
- วิเคราะห์กรณีศึกษาในการออกแบบวงจรความถี่สูงกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน
- ทดสอบย่อย และการสอบปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นการออกแบบอย่างเป็นขั้นตอน
- นำเสนอสรุปผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
- พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
- พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
- พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
-  จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
-  มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล เช่น การค้นคว้าแนวโน้มเทคโนโลยีด้านวงจรความถี่สูงในปัจจุบัน
หรือการอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับวงจรความถี่สูง
-  ประเมินตนเอง และเพื่อน ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
-  รายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
-  รายงานการศึกษาด้วยตนเอง
- พัฒนาทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข
- พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และการนำเสนอในชั้น
เรียน
- พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
- พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้องมูลทางอินเตอร์เน็ต
- พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การทำ
บันทึกบทความบน Web Blog
- ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองจาก Website และการทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
 - การจัดทำรายงานและนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
- การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 (ผลการเรียนรู้ 5 ด้าน) ทดสอบย่อย1 ทดสอบย่อย2 ทดสอบย่อย3 สอบปลายภาค การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 4 9 17 16 10 % 10 % 10 % 40 %
2 (ผลการเรียนรู้ 5 ด้าน) วิเคราะห์กรณีศึกษา การนำเสนอผลงานศึกษาค้นคว้าที่มอบหมาย การทำงานกลุ่มและผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 20 %
3 (ผลการเรียนรู้ 5 ด้าน) การเข้าชั้นเรียนการแต่งกาย การมีส่วนร่วมในการอภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
 
     Reinhold Ludwig and PavelBretchko. RF Circuit Design Theory and Applications. New Jersey;Prentice-Halll: 2000.
Guillermo Gonzalez. Microwave Transistor Amplifier Analysis and Design. 2ed. New Jersey;Prentice-Halll: 1997.
1.Ulrich L. Rohde and David P. Newkirk. RF/Microwave Circuit Design For Wireless Applications.John Wiley & Sons. 2000.
2.ChrisBowick. RF Circuit Design. Boston; 1997.
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้  ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

-   สังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ดังนี้

ผลการสอบ

การทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน

การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา  ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงการพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการประจำสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา  ตามที่กำหนดในรายวิชา เช่น ข้อสอบ  รายงาน วิธีให้คะแนนสอบและคะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ