ปฏิบัติงานหล่อโลหะสำหรับครูช่างอุตสาหกรรม
Foundry Practices for Industrial Professional
1) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในงานหล่อโลหะ
2) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานงานหล่อโลหะ
3) เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติการทำกระสวน การทำกล่องไส้แบบ
4) เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติการทำแบบหล่อทราย การทำไส้แบบทราย
5) เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติการหลอมอะลูมิเนียม การหลอมเหล็กหล่อเทา
6) เพื่อให้ผู้เรียนจัดทำชุดการสอนงานหล่อโลหะ
7) เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานหล่อโลหะสำหรับครูช่างอุตสาหกรรม
เพื่อให้นักศึกษาได้มีองค์ความรู้ทางด้านปฏิบัติงานหล่อโลหะสำหรับครูช่างอุตสาหกรรมที่เป็นกระบวนการ โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาผ่านกลวิธีการสอน มีการวางระบบการประเมินผลการเรียนรู้ และการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับการพัฒนามาตรฐานผลการเรียนรู้ครบทั้ง 6 ด้านตามกรอบของ TQF คือด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านทักษะพิสัย จึงได้พัฒนากลวิธีการสอนโดยการเน้นการเรียนการสอนแบบสาธิต และลงมือปฏิบัติจริงตามใบงานที่กำหนด ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้นักศึกษาสามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงเมื่อทำการศึกษาครบตามเนื้อหาสาระที่ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุง
ปฏิบัติการสำหรับการเป็นครูช่างอุตสาหกรรม เกี่ยวกับความปลอดภัยในการหล่อโลหะ พื้นฐานงานหล่อโลหะ การทำกระสวน การทำกล่องไส้แบบ การทำแบบหล่อทราย การทำไส้แบบทราย การหลอมอะลูนิเนียม การหลอมเหล็กหล่อเทา และจัดทำชุดการสอนงานหล่อโลหะ
ตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนาส่งเสริมให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม ส่งเสริมให้นักศึกษามีการพพัฒนาจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพโดยการสอดแทรกจรรยาบรรณวิชาชีพตลอดระยะเวลาในการเรียนการสอน
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมตลอดระเวลาที่ดำเนินการสอน ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา การทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. ประเมินจากงานที่มอบหมายให้นักศึกษา เช่น การทำรายงาน การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ไม่ลอกงานเพื่อน
4. ประเมินผลพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน และการสอบ เช่น การแต่งกายที่ถูกระเบียบ การมีสัมมนาคารวะต่อผู้ใหญ่ การทุจริตในการสอบ
5. ประเมินจากการรับฟังคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน
6. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม
ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ที่นักศึกษาต้องได้รับในรายวิชาปฏิบัติงานหล่อโลหะสำหรับครูช่างอุตสาหกรรมครอบคลุมตามจุดมุ่งหมายรายวิชา ประกอบไปด้วยความปลอดภัยในงานหล่อโลหะ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย พื้นฐานงานหล่อโลหะ ได้เรียนรู้ถึงแบบหล่อชนิดต่าง ๆ เมื่อจะทำการหล่อโลหะให้ได้ชิ้นงานตามที่ต้องการ ลงมือปฏิบัติการทำกระสวน การทำกล่องไส้แบบ การทำแบบหล่อทราย การทำไส้แบบทราย และสามารถที่จะปฏิบัติทำการหลอมอะลูมิเนียม การหลอมเหล็กหล่อเทา รวมทั้งการจัดทำชุดการสอนงานหล่อโลหะ อีกทั้งยังปลูกฝังให้นักศึกษามีเจตนคติที่ดีแก่วิชาปฏิบัติงานหล่อโลหะสำหรับครูช่างอุตสาหกรรม ตลอดจนนักศึกษาต้องสามารถบูรณาการความรู้วิชานี้กับวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น วิชาโลหะวิทยาในงานวิศวกรรม งานอบชุบโลหะ เป็นต้น
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ ประกอบด้วยการบรรยาย การอภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ
1. ประเมินจากการตอบข้อซักถามการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. ประเมินจากการงานที่มอบหมาย
3. ประเมินจากรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4. ประเมินความรู้จากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้เมื่อจบการศึกษา โดยเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเองเป็นสำคัญ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ประกอบด้วยการทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหาบทความข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ
1. ประเมินจากการตอบข้อซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. ประเมินจากแบบฝึกหัด รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. ประเมินจากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค
ผลการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบส่งเสริมให้นักศึกษา ได้รับการฝึกประสบการณ์ในการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ เช่น การวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม สภาวะผู้นำและผู้ตาม การทำงานเป็นทีม
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ประกอบด้วยการมอบหมายงานในการทำงานเป็นทีม การนำเสนอรายงาน การทีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
1. ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
2. ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายกลุ่ม การตอบข้อซักถาม
3. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4. ประเมินความรับผิดชอบงานกลุ่ม การส่งงานตามเวลา
การช่วยเหลือในการทำงาน
5. ประเมินตนเอง และเพื่อน
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยการกำหนดกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล การวิเคราะห์เชิงตัวเลข และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเทคนิคเฉพาะทางช่างอุตสาหกรรม และการจัดสัมมนา
1. ประเมินจากแบบฝึกหัด
2. ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. ประเมินทักษะการใช้ภาษาจากเอกสาร การรายงานและงาน
มอบหมาย
4. ประเมินทักษะการใช้สื่อ การใช้ภาษา จากการแสดงความ
คิดเห็น
5. ประเมินจากคุณภาพของข้อมูลที่ใช้ประกอบในรายงาน
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข การใช้เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนการดูและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยในรายวิชาวิศวกรรมการหล่อโลหะ กำหนดให้นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติตามใบงานที่กำหนดทั้งหมด 17 ใบงาน ซึ่งครอบคลุมตามเนื้อหาสาระของรายวิชา โดยเน้น Hands-On เป็นสำคัญ นอกเหนือจากผลการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ ตามข้อที่ 1 - 5
-ประเมินจากทักษะการปฏิบัติตามใบงานที่กำหนดแต่ละสัปดาห์
- ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1. คุณธรรม จริยธรรม | 2.ความรู้ | 3. ทักษะทางปัญญา | 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | 6.ทักษะพิสัย | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1 | 2 | 3 | 4 | 1 | 2 | 3 | 1 | 2 | 1 | 2 | 3 | 4 | 1 | 2 | 3 | 1 | 2 |
1 | 34012403 | ปฏิบัติงานหล่อโลหะสำหรับครูช่างอุตสาหกรรม |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | ประเมินจาก - การตรงต่อเวลา - ความรับผิดชอบ - การมีวินัย - การเข้าร่วมกิจกรรม - พฤติกรรมที่แสดงออก | ทุกสัปดาห์ | 10% | |
2 | 1. ประเมินจาก - รายงานและคุณภาพของข้อมูลที่รายงาน - การนำเสนอ - การอภิปราย - การตอบข้อซักถามและทำแบบฝึกหัด - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - ทักษะการใช้ภาษา - ทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยี 2. ประเมินจากการสอบกลางภาค 3. ประเมินจากการสอบปลายภาค | ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ที่ 9 สัปดาห์ที่ 18 | 10% 10% 15% | |
3 | 1. ประเมินจาก - การทำงานเป็นทีม - ตนเองและเพื่อน - ความรับผิดชอบงานกลุ่ม - การจัดสัมมนา | ทุกสัปดาห์ | 10% | |
4 | ประเมินจากการปฏิบัติตามใบงานที่กำหนด | สัปดาห์ที 1-8 และ สัปดาห์ที 10-16 | 45% |
พีรพันธ์ บางพาน. 2534. คู่มือปฏิบัติงานหล่อโลหะ 1. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.
สุภชัย ประเสริฐสกุล. ม.ป.ป. เทคโนโลยีงานหล่อโลหะ. วิทยาเขตขอนแก่น.
J. T. H. Pearce. และ บัญชา ธนบุญสมบัติ. 2542. เทคโนโลยีและโลหะวิทยาของเหล็กหล่อผสม. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
มนัส สถิรจินดา. 2529. เหล็กกล้า (Steel). กรุงเทพฯ : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
วีระพันธ์ สิทธิพงศ์. 2532. โลหะวิทยากายภาพสำหรับวิศวกร 1. กรุงเทพฯ : นิยมวิทยา.
สุภชัย ประเสริฐสกุล. มปป. โลหะวิทยากายภาพสำหรับวิศวกร 4. วิทยาเขตขอนแก่น.
เอกสารสัมมนา. ม,ป,ป. งานหล่อโลหะ.
วีระพันธ์ สิทธิพงศ์. 2532. โลหะวิทยากายภาพสำหรับวิศวกร 1. กรุงเทพฯ : นิยมวิทยา.
สุภชัย ประเสริฐสกุล. มปป. โลหะวิทยากายภาพสำหรับวิศวกร 4. วิทยาเขตขอนแก่น.
เอกสารสัมมนา. ม,ป,ป. งานหล่อโลหะ
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 การสะท้อนความคิดของนักศึกษา
1.3 เปิดโอกาสให้นักศึกษาสอบถามผลคะแนนในการทำงานเพื่อเรียนรู้ถึงข้อผิดพลาดจะสามารถนำไปปรับปรุงตนเองและเตรียมพร้อมในการสอบต่อไป
1.4 ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
1.5 ให้นักศึกษาประเมินวิธีการสอน การจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนที่ส่งผลกระทบกับการเรียนรู้ของนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.4 สาขาวิชาตั้งคณะกรรมการประเมินการสอนจากการสังเกตการสอน การสัมภาษณ์นักศึกษา
3.1 การประชุมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การปรับปรุงรายละเอียดรายวิชา
3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.4 ให้ผู้สอนเข้ารับการอบรมกลยุทธ์การสอน การวิเคราะห์ผู้เรียน การวิจัยในชั้นเรียน ในรายวิชาที่มีปัญหาอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา มีการประชุมผู้สอนเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไข
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบวิธีสอน ข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงประมวลรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 ผู้สอนมีการทบทวนการเรียนการสอนทุกครั้งที่ทำการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในครั้งถัดไป และมีการประเมินผลการสอนโดยผู้เรียนเป็นผู้ประเมินทุกภาคการศึกษา และนำผลที่ได้มาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาในปีการศึกษาถัดไป
5.3 ขั้นตอนการทบทวนและวางแผนปรับปรุงรายวิชา
1) พิจารณาผลประเมินการสอนโดยนักศึกษา
2) การทบทวนเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
3) เสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชาเสนอต่อประธานหลักสูตร
4) เสนอหัวหน้าสาขาและกรรมการคณะเพื่อวางแผนในการปรับปรุงปีการศึกษาต่อไป