กระบวนการผลิตขั้นสูง

Advanced Manufacturing Processes

1.1. เข้าใจกระบวนการผลิตทั้งแบบ Conventional and Unconventional 1.2. สามารถวิเคราะห์กระบวนการผลิตโดยใช้มูลฐานทางวิศวกรรมหรือหลักการทางวิศวกรรมขั้นสูง 1.3. สามารถค้นคว้าจากเอกสารวิจัยและสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง 1.4. สามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานทางวิศวกรรมช่วยวิเคราะห์ปัญหาได้ 1.5. มีกิจนิสัยในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม มีความรับผิดชอบ
การปรับปรุงรายวิชาได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีกระบวนการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไป และอาจจะปรับปรุงจากองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากประสบการณ์ในอุตสาหกรรมหรือจากผลงานวิจัยที่เกิดขึ้น
ศึกษาคุณสมบัติของวัสดุในงานวิศวกรรม กระบวนการผลิตแบบธรรมดา (งานตัดปาดผิวโลหะ งานเชื่อมต่อ งานขึ้นรูป) กระบวนการผลิตพิเศษ (เลเซอร์ ลำของไหลความเร็วสูง การตัดปาดผิวด้วยกระแสไฟฟ้า การตัดปาดผิวด้วยเคมีไฟฟ้า) การทำต้นแบบเร็ว เครื่องมือในกระบวนการ ส่วนประกอบของเครื่องมือกลและการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องมือกล การวางแผนงานและความเหมาะสม Study structural properties of engineering materials, conventional manufacturing (metal removal, joining, forming) unconventional manufacturing process (laser, water jet, electrical discharge machining, electro-chemical machining), rapid prototyping, processing tools, elements of machine tool and machine tool component design, optimization and planning issues.
ตามนัดหมาย หรือ นัดหมายเป็นครั้งๆ ไป ตามเหตุความจำเป็น
4.1.1.1 สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมที่ซับซ้อนเชิงวิชาการหรือวิชาชีพโดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นและเมื่อไม่มีข้อมูลทางจรรยาบรรณวิชาชีพหรือไม่มีระเบียบข้อบังคับเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นก็สามารถวินิจฉัยอย่างผู้รู้ด้วยความยุติธรรมและชัดเจนมีหลักฐานและตอบสนองปัญหาเหล่านั้นตามหลักการเหตุผลและค่านิยมอันดีงามให้ข้อสรุปของปัญหาด้วยความไวต่อความรู้สึกของผู้ที่ได้รับผลกระทบ 4.1.1.2 ริเริ่มในการยกปัญหาทางจรรยาบรรณที่มีอยู่เพื่อการทบทวนและแก้ไข 4.1.1.3 สนับสนุนอย่างจริงจังให้ผู้อื่นใช้การวินิจฉัยทางด้านคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการกับข้อโต้แย้งและปัญหาที่มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 4.1.1.4 แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรมจริยธรรมในสภาพแวดล้อมของการทำงานและในชุมชนที่กว้างขวางขึ้น
4.1.2.1 การจัดการเรียนการสอนต้องมุ่งจัดให้เป็นการเรียนการสอนแบบการใช้ปัญหาและโครงงานเป็นฐาน และให้นักศึกษาฝึกเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มกำหนดปัญหาฝึกแก้ปัญหา 4.1.2.2 แทรกการสอนเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพ จากกรณีศึกษาต่างๆ ให้นักศึกษาและเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ และนำมาเป็นกฎเกณฑ์ในการเรียนการสอนในหลักสูตร 4.1.2.3 ฝึกนักศึกษาให้จัดการกับข้อโต้แย้งต่างๆ โดยผ่านการเรียนการสอนที่ฝึกให้นักศึกษาหัดนำเสนอและจัดให้มีการเรียนการสอนแบบสองทาง ระหว่างอาจารย์และนักศึกษาหรือนักศึกษาด้วยกันเอง 4.1.2.4 การจัดการเรียนการสอนควรฝึกทำงานเป็นทีม และควรฝึกให้แต่ละคนเป็นผู้นำทีมด้วยกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
4.1.3.1 ประเมินผลการเรียนทุกครั้งและเปิดเผยให้นักศึกษาได้ทราบผลการประเมินเพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 4.1.3.2 ประเมินผลจากการมีวินัยและความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรหรือการกระทำในขณะเรียน 4.1.3.3 ให้คะแนนจากการนำเสนอหรือให้คะแนนจากการสังเกตจากการลงปฏิบัติงานและแจ้งนักศึกษาทราบทุกครั้ง 4.1.3.4 ประเมินผลจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ผลการดำเนินการในแต่ละครั้งเมื่อทีมมอบหมายให้เป็นผู้นำทีม
2.1.1 กระบวนการผลิตทั้ง Conventional and Unconventional 2.1.2 กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมที่นักศึกษาปฏิบัติงาน ถอดบทเรียน และทำวิจัย 2.1.3 การใช้มูลฐานทางวิศวกรรม หรือ หลักการทางวิศวกรรมขั้นสูง ประยุกต์กับกระบวนการผลิต 2.1.4 การใช้คอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการวิเคราะห์กระบวนการผลิต
2.2.1 นักศึกษาต้องฟังบรรยาย ค้นคว้าจากเอกสารทางวิชาการ ตำรา โดยเน้นภาษาอังกฤษ 2.2.2 นักศึกษาต้องนำเสนอผลการถอดบทเรียนจากประสบการณ์การทำงานหรือประสบการอุตสาหกรรม 2.2.3 นักศึกษาต้องนำมูลฐานทางวิศวกรรมหรือหลักการทางวิศวกรรมขั้นสูงไปประยุกต์ในรูปแบบการใช้นวัตกรรมการศึกษา เช่น WBL, PjBL, PBL เป็นต้น 2.2.4 นักศึกษาต้องส่งงานที่ได้รับมอบมาย
2.3.1 ประเมินจากรายงาน ไฟล์นำเสนอ และนำเสนอ 2.3.2 ประเมินจากการทดสอบย่อย 2.3.3 ประเมินจาการสอบกลางภาคและปลายภาค 2.3.4 ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
3.3.1 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.3.2 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.3.3 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 กรณีศึกษาทางการผลิตในอุตสาหกรรม 3.2.2 การนำเสนอผลการค้นคว้า การถอดบทเรียน การใช้หลักการขั้นสูงอธิบาย 3.2.3 ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงในอุตสาหกรรม ถอดบทเรียน เตรียมงานวิจัย
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ และการเข้าชั้นเรียน เป็นต้น
4.1.1 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ธุรกิจ หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา 4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
4.5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 4.5.1.1 มีทักษะการใช้ภาษาไทยในการอธิบายหลักการและสถานการณ์ตลอดจนการสื่อสารความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.5.1.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน 4.5.1.3 สามารถคัดกรองข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าปัญหาสรุปปัญหาและเสนอแนะแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ 4.5.1.4 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มบุคคลต่างๆทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพรวมถึงชุมชนทั่วไปโดยการนำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพรวมทั้งวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าที่สำคัญ
4.5.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติในหลากหลายสถานการณ์ 4.5.2.2 มอบหมายกรณีศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้าหรือนำเสนอ 4.5.2.3 ฝึกให้นักศึกษาฝึกออกแบบ ฝึกทำการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย 4.5.2.4 ฝึกให้มีการสื่อสารหรือนำเสนอให้กับผู้รับข้อมูลหลายระดับ เช่น นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ
ประเมินผลจากการนำเสนอผลงาน 4.5.3.1 การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือคณิตศาสตร์และสถิติ 4.5.3.2 การอธิบายกรณีศึกษาต่างๆที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียนและนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุม หรือในสถานประกอบการจริง
4.6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลาเครื่องมืออุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.6.1.2 มีทักษะในการออกแบบทางวิศวกรรม ซึ่งต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางฝีมือ และประสบการณ์การทำงานและฝึกทักษะการวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้ความรู้เชิงลึกหรือหลักการทางวิศวกรรม
4.6.2.1 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ 4.6.2.2 ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
4.6.3.1 พฤติกรรมการปฏิบัติงานและการจดบันทึก 4.6.3.2 ผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล