การบัญชีระหว่างประเทศ

International Accounting

ศึกษาถึงปัญหาการบัญชีที่พบของธุรกิจระหว่างประเทศ  ซึ่งดำเนินงานในประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจ สังคม  วัฒนธรรมและกฎหมายที่แตกต่างกัน  วิเคราะห์ความแตกต่างทางการบัญชีของประเทศต่างๆ  และสาเหตุขั้นพื้นฐานที่เกิดความแตกต่าง  ผลกระทบของเงินตราต่างประเทศต่อการบัญชีและศึกษาความพยายามของสถาบันวิชาชีพระหว่างประเทศในการพัฒนาวิชาชีพทางบัญชี  รวมถึงความรับผิดชอบตามมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละด้านดังนี้ (ตาม Domain of Leaning)
          ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ข้อ 1 (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
ด้านความรู้
ข้อ 2 (1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
ข้อ 2 (2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ด้านทักษะทางปัญญา
ข้อ 3 (2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
ข้อ 3 (3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
          ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
          ข้อ 4 (1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
          ข้อ 4 (3) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อ 5 (2) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
ข้อ 5 (3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
เพื่อให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรและเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
 
 
 
 
 
 
ศึกษาถึงปัญหาการบัญชีที่พบของธุรกิจระหว่างประเทศ  ซึ่งดำเนินงานในประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจ สังคม  วัฒนธรรมและกฎหมายที่แตกต่างกัน  วิเคราะห์ความแตกต่างทางการบัญชีของประเทศต่างๆ  และสาเหตุขั้นพื้นฐานที่เกิดความแตกต่าง  ผลกระทบของเงินตราต่างประเทศต่อการบัญชีและศึกษาความพยายามของสถาบันวิชาชีพระหว่างประเทศในการพัฒนาวิชาชีพทางบัญชี
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการโดยกำหนดเวลาไว้วันละ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 15.30-16.30 น.
ข้อ 1 (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
เน้นความสำคัญของการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน ให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อตกลงของรายวิชา
สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด
ข้อ 2 (1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
ข้อ 2 (2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
เน้นหลักการทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้เป็นไปตามเนื้อหาสาระของคำอธิบายรายวิชา ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลโดยการทำงานเป็นกลุ่ม
ประเมินจากการทดสอบกลางภาคและปลายภาค ประเมินจากงานที่มอบหมาย
ข้อ 3 (2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
ข้อ 3 (3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
ให้นักศึกษาเรียนรู้จากข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน ให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอและเสนอแนะข้อคิดเห็นในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์
ประเมินจากการนำเสนอข้อมูลของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน ประเมินจากการซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม
ข้อ 4 (1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 4 (3) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน
ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
ข้อ 5 (2) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
ข้อ 5 (3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณ มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
ประเมินจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ ประเมินจากผลงานที่ได้สืบค้นทางอินเตอร์เน็ต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ข้อ 1 (2) ข้อ 2 (1) (2) ข้อ 3 (2) (3) ข้อ 4 (1) (3) ข้อ 5 (2) (3) สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9/17 60 คะแนน
2 ข้อ 1 (2) ข้อ 2 (1) (2) ข้อ 3 (2) (3) ข้อ 4 (1) (3) ข้อ 5 (2) (3) วิเคราะห์กรณีศึกษา รายงาน และงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30 คะแนน
3 ข้อ 1 (2) ข้อ 4 (1) (3) จิตพิสัย/เข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 คะแนน
คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาการบัญชีระหว่างประเทศ. การบัญชีระหว่างประเทศ. คณะบัญชีการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยพายัพ.
ชูศรี เที้ยศิริเพชร. 2545. เอกสารคำสอนกระบวนวิชา การบัญชีระหว่างประเทศ. ภาควิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประไพพิศ สวัสดิ์รัมย์. 2550. ระบบบัญชีระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ แหล่งที่มา: http://www.price.moc.go.th/content1.
aspx?cid=1
ศิริลักษณ์ ศุทธชัย. 2553. การบัญชีระหว่างประเทศ. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Timothy Doupnik and Hector Perera. 2007. International Accounting. Singapore: Mc Graw-Hill.
 1. สภาวิชาชีพบัญชี  www.fap.or.th  2. กรมสรรพากร  www.rd.go.th  3. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  www.sec.or.th  4. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  www.dbd.go.th  5. สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ www.price.moc.go.th
 
ใช้การทดสอบย่อย  ในแต่ละบท
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัย
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงการพัฒนาการบัญชีระหว่างประเทศ
ให้กรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบ และ การตัดเกรด
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ เป็นผู้นำเสนอข้อสอบ และ การตัดเกรด  ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2  ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน  วิธีการประเมิน  และ เนื้อหารายวิชา