ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิต

English for Life Skills

ฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิต สังคม วัฒนธรรม และการทำงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในการสื่อสารทางภาษาอังกฤษ และสามารถนำไปใช้ด้วยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง อีกทั้งเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้และทักษะในการสื่อสารทางภาษาอังกฤษไปต่อยอดในวิชาที่สูงขึ้นได้
ศึกษาและฝึกทักษะอังกฤษในการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อสื่อสารในบริบทที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิต สังคม วัฒนธรรม และการทำงาน โดยใช้โครงสร้างภาษา คำศัพท์ และสำนวนได้เหมาะสมตามมารยาทสากล
 -   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าห้องพักอาจารย์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรร
2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
4. เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1       อธิบายรายวิชา รูปแบบการเรียนการสอน และการประเมินผล และให้นักศึกษาอภิปรายเสนอแนะประเด็น แสดงความคิดเห็น
1.2.2       บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
1.2.3       กิจกรรมกลุ่ม
1.2.4       การนำเสนอผลงาน
     
ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด
ระยะเวลาที่มอบหมาย
1.3.2 ประเมินจากการส่งงานและความรับผิดชอบในการทำงาน
1.3.3 ประเมินจากการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4 การมีส่วนร่วมในห้องเรียน
1.3.5 การแต่งกาย
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็น      องค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
(1)    มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
(2)    สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
(3)    สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
2.2.2 การทำงานกลุ่ม
2.2.3 การนำเสนอผลงาน
2.2.4 แสดงบทบาทสมมติ
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
2.3.2 การนำเสนอในชั้นเรียน
2.3.3 รายงานที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาและจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
(1) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
(2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 ทำกิจกรรมกลุ่ม
3.2.2 อภิปรายและแสดงความคิดเห็น
3.2.3 ทำงานที่ได้รับมอบหมายและศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
3.2.4 นำเสนอผลงาน
3.3.1 การอภิปราย ซักถาม และแสดงความคิดเห็น
3.3.2 ประเมินจากกิจกรรมกลุ่ม และการนำเสนอผลงาน
3.3.3 ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องได้รับการฝึกประสบการณ์เพื่อเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับบุคคล และกลุ่มบุคคลต่างๆ โดยอาจารย์ผู้สอนต้องแนะการวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม และพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้
 
มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 ทำกิจกรรมกลุ่ม
4.2.2 อภิปรายกลุ่ม  
4.3.1 พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2 พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินตนเอง เพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.4 ประเมินจากผลงานจากกิจกรรมกลุ่ม
นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชา และพัฒนาทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
(1)         เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
(2)         สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
(3)    ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และ
         สอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
5.2.2 นำเสนอผลงานโดยใช้ computer และโปรแกรม Power point
5.2.3 ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
5.3.1 ประเมินจากการนำเสนอผลงานจากโปรแกรม Power point
5.3.2 ประเมินจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและการอ้างอิงแหล่งที่มาได้ถูกต้อง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-2 สอบกลางภาค 8 20%
2 หน่วยที่ 1-3 สอบปลายภาค 18 20%
3 หน่วยที่ 1-5 งานที่ได้รับมอบหมาย/กิจกรรม/การนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 50%
4 หน่วยที่ 1-5 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
     Jack R. Richards et al. 2013. Interchange student’s book 1. Cambridge University Press: Golden Cup Printing Co. Ltd
     Jack R. Richards et al. 2013. Interchange workbook 1. Cambridge University Press: Golden Cup Printing Co. Ltd
     Jack R. Richards et al. 2013. Interchange student’s book 2. Cambridge University Press: Golden Cup Printing Co. Ltd
     Jack R. Richards et al. 2013. Interchange workbook 2. Cambridge University Press: Golden Cup Printing Co. Ltd
     TOEIC practice test
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
 2.1   การสังเกตการสอนของผู้ร่วมทีมสอน
 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
3.2 การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ