การจัดการความเสี่ยง

Risk Management

1.1 รู้ความหมายและความสำคัญของผลกระทบของความเสี่ยง
1.2 เข้าใจการกำหนดวัตถุประสงค์ ระบุความเสี่ยง และประเภทของความเสี่ยง
1.3 เข้าใจแนวทางการประเมินความเสี่ยง
1.4 ทำแผนการจัดการความเสี่ยง ติดตามประเมินผล และรายงานความเสี่ยง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการเรียนรู้กระบวนการบริหารความเสี่ยง และแนวทางการจัดการความเสี่ยงเพื่อติดตามและประเมินผลความเสี่ยง
ศึกษาความหมาย ความสำคัญและผลกระทบของความเสี่ยง กระบวนการของการบริหารความเสี่ยง การกำหนดวัตถุประสงค์ การระบุความเสี่ยง ประเภทของความเสี่ยง ฝึกทักษะในการประเมินความเสี่ยง การจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง การติดตามประเมินผลและการรายงานความเสี่ยง
1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและต่อผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1.1.2 มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม
1.1.3 มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน
1.1.4 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.5 มีจิตสำนึกและมีนโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
บรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.3.1 ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
1.3.2 การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี นิติศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์
2.1.3 มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผนการปฏิบัติการ การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.2.2 ใช้การสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎี และปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.3 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด หรือรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3.1 ประเมินจากสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมาย และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.1.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
3.1.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.1.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้
3.1.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
3.2.1 การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงงานโดยให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 วิเคราะห์กรณีศึกษา เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ / ระบบสารสนเทศที่เหมาะสม
3.3.1 ประเมินจากโครงงาน หรือรายงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงาน
3.3.2 ประเมินจากกรณีศึกษา
4.1.1 มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่าง อย่างสร้างสรรค์
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่ม ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่ม
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
4.3.2 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
5.1.2 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีสิทธิภาพ
5.1.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.5 สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ และสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย
5.1.6 ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
5.1.7 ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต และทำรายงานโดยให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.2.2 ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
5.2.3 การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย
6.1.1 การคิดเชิงระบบ 
6.1.2 การคิดวิเคราะห์
6.1.3 การนำเสนอ และการสื่อสาร
 
6.2.1 กรณีศึกษา
6.2.2 การกำหนดสถานการณ์จำลอง
6.2.3 การศึกษาองค์ธุรกิจ
 
6.3.1 แนวคิดตามหลักการบริหารจัดการองค์กร การบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานสากล
6.3.2 การวิเคราะห์ที่นำหลักการทางทฤษฎีการจัดการและการบริหารองค์กรเข้ามาประยุกต์ใช้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระการเรียนรู้ การวัดผลการเรียนรู้ โดยวิธีการทดสอบ แบ่งออกเป็น การวัดผลกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน สัปดาห์ที่ 8 วัดผลกลางภาคเรียน สัปดาห์ที่ 17 วัดผลปลายภาคเรียน วัดผลกลางภาคเรียน 30% วัดผลปลายภาคเรียน 30%
2 มีทักษะการคิดเชิงระบบ คิดวิเคราะห์ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี 1. การค้นคว้า วิเคราะห์ และการนำเสนอ จากกรณีศึกษา 2. การศึกษา วิเคราะห์ระบบงาน การจัดการและการบริหารความเสี่ยงขององค์กรธุรกิจ สัปดาห์ที่ 11 และสัปดาห์ที่ 14-15 30%
3 มีคุณธรรม จริยธรรม โดยมีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1. ความรับผิดชอบ 2. ความตรงต่อเวลา 3. การมีส่วนร่วม ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. Enterprise Risk Management and COSO: A Guide for Directors, Executives and Practitioners
2. หนังสือ บริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ พิมพ์ครั้งที่ 2 อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
1.หลักการแนวคิดของการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (TRIS)
2. หลักการควบคุมภายใน และบริหารความเสี่ยง (ตสน.)
1.1 จากการสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ในระหว่างการจัดการเรียนการสอน 
1.2  จากการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในระหว่างหลังสอบกลางภาค และระหว่างการเรียนหลังสอบกลางภาค (ภาคปฎิบัติ)
2.1 ผลงานของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาระหว่างเรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยปรับเปลี่ยนวิธีการสอน ปรับปรุงเนื้อหาสาระในการสอนระหว่างเรียนตามความเหมาะสม และยืดหยุ่น โดยประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง ตามกรอบเวลา
4.1 มีการกำหนดคะแนนการวัดการเรียนรู้ และเกณฑ์การวัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง
4.2 ประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยใช้วิธีการแบบอิงกลุ่ม จากนำนำมาแปลงค่ามาตรฐานแบบอิงเกณฑ์
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยปรับปรุงรายวิชาทุกภาคเรียน หรือตามข้อเสนอแนะและผลตามข้อ 2