การวัดและเครื่องมือวัดสำหรับวิศวกรรมเกษตรอิเล็กทรอนิกส์

Instruments and Measurements for Agritronics Engineering

ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับหน่วยและมาตรฐานของการวัดทางไฟฟ้า ประเภทและลักษณะของเครื่องมือวัด การวิเคราะห์การวัด การวัดกระแสและแรงดันทั้งไฟฟ้าตรงและสลับโดยใช้เครื่องมือวัดแบบแอนาลอกและดิจิทัล การวัดกำลัง ตัวประกอบกำลัง พลังงาน ความต้านทาน ความเหนี่ยวนำ ความเก็บประจุ การวัดทางความถี่และทางเวลา สัญญาณรบกวน ทรานสดิวเซอร์ เครื่องวิเคราะห์สเปกตรัมและออสซิโลสโคป รวมถึงการเขียนโปรแกรม LabVIEW ในการออกเครื่องมือวัดเบื้องต้น
ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับหน่วยและมาตรฐานของการวัดทางไฟฟ้า ประเภทและลักษณะของเครื่องมือวัด การวิเคราะห์การวัด การวัดกระแสและแรงดันทั้งไฟฟ้าตรงและสลับโดยใช้เครื่องมือวัดแบบแอนาลอกและดิจิทัล การวัดกำลัง ตัวประกอบกำลัง พลังงาน ความต้านทาน ความเหนี่ยวนำ ความเก็บประจุ การวัดทางความถี่และทางเวลา สัญญาณรบกวน ทรานสดิวเซอร์ เครื่องวิเคราะห์สเปกตรัมและออสซิโลสโคป รวมถึงการเขียนโปรแกรม LabVIEW ในการออกเครื่องมือวัดเบื้องต้น
ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับหน่วยและมาตรฐานของการวัดทางไฟฟ้า ประเภทและลักษณะของเครื่องมือวัด การวิเคราะห์การวัด การวัดกระแสและแรงดันทั้งไฟฟ้าตรงและสลับโดยใช้เครื่องมือวัดแบบแอนาลอกและดิจิทัล การวัดกำลัง ตัวประกอบกำลัง พลังงาน ความต้านทาน ความเหนี่ยวนำ ความเก็บประจุ การวัดทางความถี่และทางเวลา สัญญาณรบกวน ทรานสดิวเซอร์ เครื่องวิเคราะห์สเปกตรัมและออสซิโลสโคป รวมถึงการเขียนโปรแกรม LabVIEW ในการออกเครื่องมือวัดเบื้องต้น
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม (จุดดำ) 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (จุดโปร่ง)
1.2.1 สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และความเสียสละ ก่อน หลังหรือระหว่างการบรรยายเนื้อหาทางวิชาการ 1.2.2 นำกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเวลาในการเข้าเรียน การแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนามาบังคับใช้ โดยให้นักศึกษาถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด(จุดดำ) 1.2.3 นำตัวอย่างกรณีศึกษาในเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ความเสียสละและความซื่อสัตย์สุจริตมาให้นักศึกษาอภิปรายเป็นรายกลุ่ม พร้อมตอบข้อซักถามของอาจารย์ผู้สอน
1.3.1 ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการแต่งตัว ความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย 1.3.2 ประเมินจาก ผลจากคุณภาพของงานทีได้รับมอบหมาย และมีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2.1.1 นักศึกษาด้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้ 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม (จุดดำ) 2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม (จุดโปร่ง)
บรรยาย อภิปรายเกี่ยวกับกับหน่วยและมาตรฐานของการวัดทางไฟฟ้า ประเภทและลักษณะของเครื่องมือวัด การวิเคราะห์การวัด การวัดกระแสและแรงดันทั้งไฟฟ้าตรงและสลับโดยใช้เครื่องมือวัดแบบแอนาลอกและดิจิทัล การวัดกำลัง ตัวประกอบกำลัง พลังงาน ความต้านทาน ความเหนี่ยวนำ ความเก็บประจุ การวัดทางความถี่และทางเวลา สัญญาณรบกวน ทรานสดิวเซอร์ เครื่องวิเคราะห์สเปกตรัมและออสซิโลสโคป รวมถึงการเขียนโปรแกรม LabVIEW ในการออกเครื่องมือวัดเบื้องต้น
2.3.1 การทดสอบย่อย 2.3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี 2.3.3 ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด หรือการตอบคำถามนั้นเรียน
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ในการสอนอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้ 3.1.1สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (จุดดำ)
3.2.1 ให้นักศึกษาทำการวิเคราะห์และเขียนขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาจากใบงานและ กรณีศึกษาทางการประยุกต์ใช้เครื่องวัดทางไฟฟ้าและการประยุกต์ใช้โปรแกรม LabVIEW 3.2.2 การอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ศึกษาการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรม LabVIEW เพื่อการออกแบบและแก้ปัญหา โดยการนำทฤษฎีที่เหมาะสมมาใช้
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา 3.3.2 วัดผลจากการนำเสนอผลงานตามที่ได้รับมอบหมาย 3.3.3 สัมภาษณ์ และสังเกตพฤติกรรม การแก้ไขปัญหา
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้ 4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ (จุดดำ) 4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม (จุดโปร่ง)
4.2.1 กำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม 4.2.2 กำหนดกิจกรรมที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ 4.2.3 มีการมอบหมายงาน และให้ส่งตามกำหนดเวลา
4.3.1 ประเมินจากรายงานกลุ่มที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมาย
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาต้องมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ขั้นต่ำดังนี้ 5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ (จุดโปร่ง) 5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ (จุดดำ)
5.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าการณีศึกษาด้วยตนเองจากเว็บไซต์ 5.2.2 อภิปรายในห้องเรียนตามเวลาและจังหวะที่เหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละเรื่อง 5.2.3 ให้นักศึกษานำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.4 ติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาผ่านกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย หรือ ไลน์เป็นต้น
5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง 5.3.2 ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน 5.3.3 ประเมินจากการสังเกตจำนวนความถี่ในการใช้กลุ่มที่ตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะในโซเชียล มีเดีย
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ดังข้อต่อไปนี้   6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (จุดดำ)
6.2.1 อธิบายและสาธิตการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือในการใช้งาน และวิธีการให้เข้าใจและปฏิบัติถูกต้องตามหลักการ 6.2.2 มอบหมายให้ลงมือปฏิบัติทดลองตามกำหนดเวลา 6.2.3 ให้มีการแบ่งกลุ่มในการปฏิบัติงาน มีการแบ่งความรับผิดชอบกัน 6.2.4 นำเสนอโดยใช้รูปแบบโจทย์ปัญหาของกรณีศึกษาและตัวอย่างวิธีแก้ปัญหา ที่เหมาะสม
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ ในเรื่องเวลา วิธีการและผลงานที่ได้รับ การทำงานร่วมกัน 6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติการทดลอง รวมทั้งงานที่มอบหมาย 6.3.3 สังเกตพฤติกรรมการเขียนโปรแกรมและจดบันทึก 6.3.4 พิจารณาผลการปฏิบัติงานการเขียนโปรแกรมในชั้นเรียน 6.3.5 ให้คะแนนผลการปฏิบัติงานโปรแกรมต่างๆ โดยเปิดเผย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAG501 การวัดและเครื่องมือวัดสำหรับวิศวกรรมเกษตรอิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.2,4.1.3 1) ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการแต่งตัว ความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย 2) ประเมินจาก การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3) ประเมินจาก ปริมาณการกระทำทุจริต ในด้านการส่งงาน การนำเสนอผลงานและการสอบของนักศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 2.1.2,2.1.4 1) ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 2) สอบกลางภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี 3) ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 4) สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นข้อสอบที่มีมีความเข้าใจ วิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ทฤษฎี 4 8 12 17 5% 20% 5% 20%
3 3.1.1,5.1.1, 6.1.1 1) วัดผลจากทักษะในการลงมือปฏิบัติตามใบงานตามที่ได้รับมอบหมายและคุณภาพของใบงานที่ทำเสร็จแล้ว 2) ประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ความเข้าใจ วิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแก้ปัญหาจาก Case Study ที่มอบหมาย (Flip Study) ตลอดภาคการศึกษา 15 20% 10%
เอกสารประกอบการสอนจากอาจารย์ผู้สอน
เว็บไซต์ ในหัวเรื่องที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
เว็บไซต์ ในหัวเรื่องที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง