การจำลองแบบปัญหา

Simulation Modeling

เพื่อผลิตวิศวกรระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานตามแนวทางของการจำลองสถานการณ์ การเลือกใช้ทฤษฎีต่าง ๆ ในรายวิชาช่วยประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบของอุตสาหกรรม และรองรับการเปลี่ยนแปลงทางพลวัต
เพื่อผลิตวิศวกรระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะและสมสามารถปฏิบัติงานในด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อผลิตวิศวกรอุตสาหการที่มีความสามารถปฏิบัติงานเฉพาะด้าน สามารถเข้าใจหลักการและปฏิบัติการเกี่ยวกับการจำลองสถานการณ์ ในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างตัวเลขสุ่ม ขั้นตอนการจำลองสถานการณ์ที่สนใจ การทดสอบตัวเลขสุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล การจำลองสถานการณ์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้งานในปัญหาทางอุตสาหกรรม และระบบแถวคอย
เวลาให้คำปรึกษานักศึกษา หลักเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 19.00 น. -20.00 น
คุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมนอกจากนั้นคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศความปลอดภัยในชีวิตความสำเร็จทางธุรกิจ ผู้พัฒนาหรือผู้ประยุกต์โปรแกรมจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ ได้แก่
1.ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรมจริยธรรมเสียสละและซื่อสัตย์สุจริตเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2.มีวินัยตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองวิชาชีพและสังคม
3.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
4.เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
 
1.ให้ความสำคัญกำหนดให้นักศึกษาเข้าห้องเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
2.ให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มในการเรียนแต่ละครั้ง
3.ให้ความสำคัญของคุณค่าคุณธรรมจริยธรรมเสียสละและซื่อสัตย์สุจริตต่อการปฏิบัติงานทางด้านการจำลองสถานการณ์
4. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มแล้วจัดทำรายงาน พร้อมทั้งนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1.3.1  การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงต่อเวลา
1.3.2  ประเมินการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและงานที่มอบหมาย
1.3.3  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4  ประเมินผลจากการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์หาผลลัพธ์ที่เหมาะสม
1.3.5  ประเมินจากการแต่งกายให้ตรงตามระเบียบ และปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของคณะและมหาวิทยาลัย
นักศึกษาต้องพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมีคุณธรรมจริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับการจำลองสถานการณ์ ตามหลักวิชาที่ศึกษานั้นเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้ เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคมดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1  พัฒนาความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และการวิจัยดำเนินงาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2  พัฒนาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาการจำลองสถานการณ์
2.1.3  พัฒนาความสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชา กับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4  พัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านการจำลองสถานการณ์  ด้วยวิธีการที่เหมาะสมรวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น การเลือกใช้ทฤษฎีต่าง ๆ ในรายวิชาช่วยประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น
2.1.5  พัฒนาความรู้และทักษะในวิชาการจำลองสถานการณ์ ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
2.2.1  บรรยายอภิปราย หลักการทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และการวิจัยดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจำลองสถานการณ์ รวมถึงหลักการออกแบบสร้างนวัตกรรมการจำลองสถานการณ์
2.2.2  มอบหมายงานศึกษาและค้นคว้าปัญหาทางด้านการจำลองสถานการณ์  และ การแก้ไขตัวแปรแบบปัญหา
2.2.3  ฝึกวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการจำลองสถานการณ์ และการเลือกใช้ทฤษฎีต่าง ๆ ในรายวิชาช่วยประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
2.2.4  มอบหมายให้แบ่งกลุ่ม โดยให้ศึกษาเกี่ยวกับการจำลองสถานการณ์ ในหัวข้อต่าง ๆ แล้วให้นำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.2.5  ให้ค้นหาโจทย์ปัญหาจากสถานประกอบการจริง เพื่อใช้เป็นโจทย์ในการจำลองสถานการณ์
2.3.1  สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  ประเมินผลจากการจัดทำรายงาน พร้อมทั้งนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3.3  ประเมินผลจากการเข้าเรียนตรงเวลา และการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบ และปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของคณะและมหาวิทยาลัย
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้ โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในขณะที่สอนนักศึกษา
3.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
3.1.1  พัฒนาความสามารถในความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2  พัฒนาความสามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3  พัฒนาความสามารถทางการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านการจำลองสถานการณ์ ได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4  พัฒนาความสามารถในด้านของจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5  พัฒนาความสามารถในด้านของการสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1  ฝึกวิเคราะห์จากกรณีศึกษา การจำลองสถานการณ์  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.2.2  มอบหมายงานสืบค้นด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.2.3  ฝึกการแก้ไขปัญหาโดยประยุกต์ใช้ตัวแปรแบบปัญหาอยู่เป็นประจำ
3.3.1  ประเมินผลจากการวิเคราะห์ด้วยหลักการ พร้อมอธิบายวิธีการใช้แก้ไขปัญหา แนวทางในการประยุกต์ใช้ตัวแปรแบบปัญหา จากกรณีศึกษา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.3.2  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาและวิธีการรวมถึงปริมาณแหล่งสืบค้นข้อมูล
3.3.3  ประเมินผลจากการประยุกต์ใช้ตัวแปรแบบปัญหาที่มอบหมายสามารถใช้งานได้จริง
 
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนคนที่มาจากสถาบันอื่น ๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชาหรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชาความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง
4.1  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพสามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม
4.1.2  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่มรวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
4.1.3  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางด้านการจำลองสถานการณ์ อย่างต่อเนื่อง
4.1.4  พัฒนาบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมายทั้งงานบุคคลและงานกลุ่มสามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5  พัฒนาจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงานและการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1  ฝึกให้นักศึกษาสามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.2  ฝึกให้นักศึกษาสามารถทำงานได้ตรงตามเวลา มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3  มอบหมายงานการปฏิบัติงานกลุ่มและปฏิบัติงานรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยีทางด้านการจำลองสถานการณ์  หรืออ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.4    จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อรณรงค์การปฏิบัติงานด้านการจำลองสถานการณ์  เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการทำงานและสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำเสนอการจัดบอร์ดหรือการที่ให้นักศึกษาปฏิบัติให้ถูกต้อง
4.3.1  นักศึกษาสามารถช่วยเหลือกันในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พยายามช่วยเหลือกันโดยตลอด
4.3.2  ประเมินผลจากการส่งงานได้ตรงตามกำหนด
4.3.3  ประเมินตนเองและเพื่อนร่วมกลุ่มด้วยแบบฟอร์มที่กำหนดและการสอบสัมภาษณ์การปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล
4.3.4  ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม
5.1  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
5.1.1  พัฒนาทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการจำลองสถานการณ์ ได้เป็นอย่างดี
5.1.2  พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาการจำลองสถานการณ์ ได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.   พัฒนาทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูดการเขียนและการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ของการจำลองสถานการณ์
5.1.5    สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรมเพื่อประกอบวิชาชีพในการจำลองสถานการณ์
5.2.1  ฝึกให้นักศึกษาได้ทำการออกแบบโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
5.2.2  ฝึกให้นักศึกษาได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาการจำลองสถานการณ์
5.2.3  มอบหมายรายงานและการนำเสนอจากหลักการของการจำลองสถานการณ์ หรือกรณีศึกษา
5.2.4  มอบหมายงานด้านการคำนวณเชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับงานที่เช่น การคำนวณการแก้ไขตัวแบบปัญหาโปรแกรมเชิงเส้น เป็นต้น
5.3.1  ประเมินผลจากการนำเสนอ การสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.2  ประเมินผลจากการประยุกต์ใช้ตัวแปรแบบปัญหา
5.3.3  ประเมินผลจากการคำนวณตามที่ได้ให้แบบฝึกหัด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.3,2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 3.1, 3.2, 3.3, 3.4, 3.5, 4.1, 4.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.4, 5.5 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 9 12 18 5% 30% 5% 30%
2 1.2, 1.3,2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 3.1, 3.2, 3.3, 3.4, 3.5, 4.1, 4.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.4, 5.5 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.2, 1.3,2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 3.1, 3.2, 3.3, 3.4, 3.5, 4.1, 4.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.4, 5.5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
สมควร  สงวนแพงและคณะ การจำลองแบบปัญหา (Simulation Modeling) โดยโปรแกรมEnterprise Dynamics. 2559
ผศ.ดร.วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร การวิเคราะห์แบบจำลอง . คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กรุงเทพฯ มานพ วราภักดิ์ การจำลองเบื้องต้น ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัย
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาการจำลองสถานการณ์
 
http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&frm=1&source=web&cd=17&cad=rja&ved=0CF0QFjAGOAo&url=http%3A%2F%2Fwuthichai.ie.engr.tu.ac.th%2FWuthichai_Simulation_201205.pdf&ei=BaNkUt_FBcbqrAf5-oGICg&usg=AFQjCNGJghi4pVlU3QG56ldEj5ghb3ywCA&sig2=BUjcBJKwoR1xX2yQFW9sDA&bvm=bv.54934254,d.bmk
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ