เทคโนโลยีขนมอบ

Bakery Technology

1.1 อธิบายโครงสร้าง และองค์ประกอบของแป้งสาลี ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่มีต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ขนมอบ
1.2 รู้และเข้าใจถึงสมบัติและหน้าที่ต่างๆ ของวัตถุดิบที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ขนมอบ
1.3 สามารถใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในการทำขนมอบ ชนิดต่างได้อย่างถูกต้อง
1.4 รู้และเข้าใจสาเหตุการเสื่อมเสีย การเก็บรักษา การตรวจสอบ และการควบคุมคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์ขนมอบ
1.5 มีทักษะในการทำผลิตภัณฑ์ขนมอบและพิจารณาเลือกใช้วิธีการผลิตที่ต้อง
1.6 สามารถศึกษาค้นคว้าข่าวสารทันสมัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ขนมอบจากสื่อต่างๆได้
1.7 รู้และเข้าใจถึงสุขลักษณะและการจัดโรงงานเบเกอรี่
        เพื่อพัฒนาและปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาให้ได้มาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร และเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของรายวิชาที่เน้นในด้านความรู้ ความเข้าใจทฤษฏีพื้นฐานด้านโครงสร้างองค์ประกอบทางกายภาพและเคมีของแป้งสาลี สมบัติและหน้าที่ต่างๆของวัตถุดิบที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ขนมอบเพื่อนำความรู้มาพัฒนาทักษะการวิเคราะห์คุณภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากผลงานวิจัยใหม่ ๆ ในด้านเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ขนมอบชนิดต่างๆ
         ศึกษาโครงสร้าง ชนิด ส่วนประกอบพื้นฐานของข้าวสาลี ลักษณะกายภาพและเคมีของแป้งสาลี สมบัติและหน้าที่ต่าง ๆ ของวัตถุดิบที่ใช้ในการทำขนมอบ วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำขนมอบ การผลิตผลิตภัณฑ์ขนมอบที่ใช้ยีสต์ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผงฟูและขนมอบชนิดต่างๆ การควบคุมคุณภาพและการเสื่อมเสียของผลิตภัณฑ์ขนมอบ สุขลักษณะและการจัดโรงงานเบเกอรี่หัวข้อ
         Fundamental study on structure, types and composition of wheat; physicochemical properties of wheat flour; properties and functional of bakery raw materials; instruction of bakery tools and equipments; production of yeast dough products, leavening products and other types of bakery products; quality control and spoilage of bakery products; hygienic and bakery plant design
      จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ โดยอาจารย์แจ้งให้นักศึกษาทราบในใบกำหนดการสอนที่แจกให้กับนักศึกษา
3.1  วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. .โทร. 084-0853879 , 0838657722
3.2  e-mail ; pinubon@hotmail.com และ jiratawan@gmail.com เวลา 20.00 -21.00 น. ทุกวัน
  1.1 มีมีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
  1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
  1.3 มีมีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
  1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
  1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning)
2. การสอนแบบบรรยาย
3. การสอนแบบปฏิบัติ
        โดยปลูกฝังให้นักศึกษาคำนึงถึงการเลือกใช้วัตถุดิบ ส่วนผสมที่มีคุณภาพดี การใช้สารเสริมในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์การเก็บรักษาการใช้สารเคมีในการยึดอายุการเก็บรักษาผลิตตามที่อนุญาตให้ใช้ได้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
1. ผลงานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2. โครงการกลุ่ม
3. การสังเกตพฤติกรรมระหว่างการปฏิบัติการ
4. การนำเสนอผลงานปฏิบัติการและการถามตอบ
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาหลักการแปรรูปธัญพืชและผลิตภัณฑ์
2.1.2  ความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.1.3  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
2.1.4  รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์
1. กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
2. การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning)
3. การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ
4. การสอนแบบปฏิบัติ
        โดยการมอบหมายงานให้มีการค้นคว้าความรู้ใหม่ทางอินเตอร์เน็ตและการนำเสนอผลงานค้นคว้า และฝึกปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนมอบชนิดต่างๆได้อย่างมีทักษะ
1. โครงการกลุ่ม
2. การสังเกต
3. การนำเสนองาน
4.  ข้อสอบอัตนัย
5. ข้อสอบปรนัย
6. แบบทดสอบวัดด้านการปฏิบัติ
3.1.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
3.1.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.1.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
1. การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning)
2. การสอนฝึกปฏิบัติการ
3. การสอนในห้องปฏิบัติการ
4. การสอนแบบสาธิต
5. การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ
          โดยดำเนินการแบ่งกลุ่มนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหัวหน้ากลุ่มและผู้ปฏิบัติ สังเกตการใช้ทักษะ และให้คำแนะนำ จนสามารถปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการ หรือการใช้เครื่องมือ การผลิตขนมอบชนิดต่างๆได้
1. การเขียนบันทึก
2. โครงการกลุ่ม
3. การสังเกต
4. การนำเสนองาน
5. ข้อสอบปรนัย
6. แบบทดสอบวัดด้านการปฏิบัติ
      โดยติดตามการทำงานของกลุ่มปฏิบัติเสร็จสิ้นตามกำหนดและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ รวมถึงการสอบปฏิบัติการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ธัญพืชเป็นรายบุคคลหลังเสร็จสิ้นการสอนภาคปฏิบัติ
4.1.1  มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม
4.1.2   สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3   วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.1.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning)
2. การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ
         โดยบรรยายและให้คำแนะนำ ทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามกำหนด ตรงต่อเวลา เข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ และการทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นทีม ซักถามความเข้าใจและร่วมกันแก้ปัญหา ในขณะเรียน แบ่งกลุ่มนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติจัดให้มีหัวหน้ากลุ่มและผู้ปฏิบัติ
1. งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2. การเขียนบันทึก
3. โครงการกลุ่ม
4. การสังเกต
5. การนำเสนองาน
5.1.1  สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.2  สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
5.1.4 มีวิจารณญานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
5.1.5  สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
5.1.6  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1.7  สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่าง    เหมาะสม
1. กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
2. การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning)
3. การสอนฝึกปฏิบัติการ
4. การสอนแบบสาธิต
5. การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ
          สอนวิธีการคำนวณสูตร การแปลงสูตรการผลิต และคำนวณต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ขนมอบทุกชนิดที่ฝึก
ปฏิบัติ มอบหมายงานค้นคว้างานวิจัยใหม่ๆ ความรู้ที่เกี่ยวข้องทางอินเตอร์เน็ตหรือแหล่งสารสนเทศอื่นๆ และนำเสนองานด้วยคอมพิวเตอร์
 โดยประเมินจากการสอบปฏิบัติจริงในการคำนวณสูตรหาร้อยละของผลผลิตและคำนวณต้นทุนการผลิตด้วยตนเอง สังเกตทักษะการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์และความน่าสนใจ การถามตอบความเข้าใจหลังการนำเสนอ
       นักศึกษามีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงาน/ปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันอย่างชัดเจน
1.  การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning)
2.  ปฏิบัติการในห้องทดลอง
3.  การอธิบาย ซักถาม ทำความเข้าใจก่อนปฏิบัติการ
1. ผลงานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2. การสังเกต การซักถาม - ตอบ
3. การนำเสนองาน 
4. การทดสอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCFT113 เทคโนโลยีขนมอบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 - 1.4, 4.1 , 4.3 ,4.4 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน สัปดาห์ที่ 1-15 5 %
2 2.1, 2.2 ,2.3 ,2.4 ,3.3 ,4.1 ,4.2 ,5.2 ,5.4 ,5.6 การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 5 %
3 1.3, 1.5, 2..1, 2.3, 3.4, 4.1 การทดสอบย่อย 3 ครั้ง 4, 6, 10 15%
4 1.3, 1.5, 2.1, 2.3, 3.4, 4.1 การสอบกลางภาค สัปดาห์ 9 25 %
5 1.3, 1.5 ,2.1, 2.3, 3.4, 4.1, 5.6, 6.1 การนำเสนองาน/การรายงาน/สอบปฏิบัติ 14 ,15 20%
6 1.3, 1.5 ,2.1, 2.3, 3.4, 4.1 การสอบปลายภาค 17 30 %
1.  จิตธนา แจ่มเมฆ และ อรอนงค์ นัยวิกุล. 2556. เบเกอรีเทคโนโลยีเบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ. 224 น.
2. Claus Schunemann and Gunter Treu . 1988. Baking, the art and science, A practical handbook for the baking industry. Baker Tech. Inc., Calgary, Alberta, Canada. 336 p.
 
ABC Machinenary.2558.Wheat flour milling process.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา

http://www.bestflourmill.com (15เมษายน 2559)

Aish, J.L., Rippon, E.H., Barlow, T., and Hattersley, S.J. (2004). Ochratoxin A. In Mycotoxins in Food, Detection and Control (N. Magan and M. Olsen, eds), pp. 307–38. Cambridge, England: Woodhead Publishing Limited Allrecipes. 2559. Choereg easter bread [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://allrecipes.com/recipe /84405/ choereg-armenian-easter-bread/ (20 มีนาคม 2559)
     1.  Bakery industry .2559. Wheat flour milling flow. [ระบบออนไลน์].แหล่งที่มาhttp://www.bakerybazar.com (15เมษายน 2559
     2.  Misterie. 2559. Parelsuiker. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา
http://www.misterie.be/Recept/Recept/Bak%20-%20Brood%20- %20Boterpistolets.html (23 มีนาคม 2559)
     3.  NIAS Genebank.2559.Triticum compactum wheat.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา
https://www.gene.affrc.go.jp/databases-plant_images_detail_en.php?plno=3110470019 (12 เมษายน 2559)
    4.  North Dakota State University. 2559. Wheat grain and structure. [ระบบออนไลน์].                                          แหล่งที่มาhttps://www.ag.ndsu.edu/pubs/plantsci/smgrains/a1196_15.pd f(12 เมษายน 2559
 1.  ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียน
  2.  สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
  3.  ข้อเสนอแนะของนักศึกษามาใช้ในการปรับปรุงรายวิชา
      โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยคณบดี และจากผู้ทีมผู้สอน รวมถึงผลการเรียนของนักศึกษา
        แนวทางการปรับปรุงการสอนโดยอาจารย์ประจำหลักสูตรประชุมเพื่อกำหนดกลไกและวิธีการปรับปรุงการสอน โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ร่วมกันเพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษาและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
 
         ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการประเมินผลคะแนนการนำเสนอรายงานกลุ่มหน้าชั้นเรียน และเปิดการอภิปรายในชั้นเรียน โดยยกตัวที่และที่ต้องปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบปฏิบัติการ การส่งรายงานปฏิบัติการสอบกลางภาคและสอบปลายภาคให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้าน
         จากผลการประเมินที่ได้ในข้อ 1 และ 2 นำมาวางแผนเพื่อปรับปรุง สอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นปรับปรุงรายวิชาทุก3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตาม ข้อ 4 รวมถึงการปรับปรุงรูปแบบของการสอนปฏิบัติการ ให้มีความหลากหลายและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน