การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง

Electric Power System Analysis

1. สามารถอธิบายการแทนรูปแบบของระบบไฟฟ้ากำลังเบื้องต้นได้
2. สามารถอธิบายสมการวงจรข่าย และการแก้ปัญหาระบบไฟฟ้ากำลังเบื้องต้นได้
3. สามารถอธิบายคุณลักษณะของโหลดโฟล์วเบื้องต้นได้
4. สามารถวิเคราะห์คุณลักษณะการเกิดความผิดพร่องแบบสมมาตร และแบบไม่สมมาตรเบื้องต้นได้
5. สามารถอธิบายการเกิดแรงดันเกินในระบบไฟฟ้ากำลังเบื้องต้นได้
6. สามารถอธิบายการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลังเบื้องต้นได้
7. สนับสนุนให้นักศึกษาเกิดการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบอิสระ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ  ในระบบเทคโนโลยีระบบไฟฟ้ากำลัง เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียน และการทำงานในอนาคตที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับการแทนรูปแบบของระบบไฟฟ้ากำลัง สมการวงจรข่าย และการแก้ปัญหาระบบไฟฟ้ากำลัง การศึกษาโหลดโฟล์ว การวิเคราะห์ฟอล์ตแบบสมมาตร และแบบไม่สมมาตร แรงดันเกินในระบบไฟฟ้ากำลัง การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลังเบื้องต้น
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1  มีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานในสังคม
1.1.2  เคารพสิทธิ และรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.3  มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม
1.2.1  บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา
1.2.2  กำหนดให้นักศึกษาทำรายงานการศึกษาเชิงวิเคราะห์อย่างอิสระ เพื่อนำเสนอแบบอภิปรายกลุ่ม
1.2.3  กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมติ
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และระหว่างการเรียน
1.3.2  การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้ และตรงต่อเวลา
1.3.3   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
1.3.4   ประเมินผลความรู้ และความเข้าใจตามเนื้อหาที่ศึกษา
1.3.5   ประเมินผลการนำเสนอรายงาน การนำเสนอแบบอภิปรายกลุ่มตามที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง สอดคล้องตามคำอธิบายรายวิชา
2.1.1  มีความรู้ และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎี และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ และเทคโนโลยีของระบบไฟฟ้ากำลัง
2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การคำนวณเชิงตัวเลข  ทักษะการใช้งานด้านภาษาต่างประเทศ  การใช้เทคโนโลยีจากแหล่งความรู้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
บรรยาย  แบบทดสอบ การตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น และมอบหมายให้ศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาจากประสบการณ์ระหว่างการฝึกประสบการณ์เพื่อนำเสนอรายงาน การค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม และการสรุปผลการศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับภายในชั้นเรียน
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทางทฤษฏี และการใช้กระบวนการทางความคิดเชิงวิเคราะห์
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์ และนำเสนอผลงาน
3.1.1  สนับสนุนให้นักศึกษาใช้ทักษะ ความรู้ และความเข้าใจทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพตามสาขาตนเองถนัดในการรวบรวม วิเคราะห์  และการสรุปข้อมูลที่ได้
3.1.2  สนับสนุนให้นักศึกษานำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อการวิเคราะห์อย่างมีระบบ
3.2.1   การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำรายงานการศึกษาที่ให้ใช้ทักษะการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา อย่างอิสระ พร้อมการนำเสนอผลงาน
3.2.2   การนำเสนออภิปรายกลุ่ม พร้อมสร้างคำถาม และตอบคำถามในระหว่างการนำเสนอผลการศึกษาที่ได้
3.3.1  ความสมบูรณ์ของเนื้อหา และรูปเล่มรายงาน
3.3.2  การนำเสนอผลงาน ความรู้ และความเข้าใจ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจากคำถามที่ได้รับ
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2  พัฒนาทักษะและมารยาทในการเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงาน/การสัมมนา/การอภิปราย
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำ และผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ธุรกิจ หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3   การนำเสนอรายงาน และเข้าร่วมกิจกรรม
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อนด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.3   ทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาต่างๆในระหว่างการรวบรวมข้อมูล และการนำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   ให้อิสระในการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ผลการศึกษา
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1.1  พัฒนาความรู้ ความชำนาญในการใช้เครื่องมือ
6.1.2  พัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ การวิเคราะห์ปัญหา และสามารถประยุกต์ความรู้ทางวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาได้
6.2.1  มอบหมายงาน และให้คำปรึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม
6.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
6.3.2   ประเมินจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และการเสนอความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2 ด้านความรู้ 3 ด้านทักษะทางปัญญา 4 ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 32022415 การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2 สอบรายหน่วย (หน่วยที่ 1, 2 และ 3) สอบรายหน่วย (หน่วยที่ 4, 5 และ 6) 8 และ 16 30% 30%
2 1.1.3, 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2, 4.1.2, 4.1.3, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3, 6.1.1, 6.1.2 - รายงานการศึกษา การวิเคราะห์ และสรุปผลกรณีศึกษาตามที่มอบหมาย - เล่มรายงาน - การตอบคำถาม การแสดงความเห็น 14, 15 และ 17 30%
3 1.1.3, 1.1.2, 1.1.3, 4.1.1 การเข้าชั้นเรียน ความสนใจ มารยาทในชั้นเรียน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความมีน้ำใจ ในระหว่างการศึกษา รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มหาวิทยาลัย หรือคณะฯจัดขึ้น ตลอดภาคการศึกษา 10%
- เอกสารประกอบการสอนของผู้สอน
 
-  พิชัย  อารีย์. “การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง”, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2552, พิมพ์ที่ : บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2552
-  รศ.ดร.ชำนาญ  ห่อเกียรติ. “การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง”
-  Goran Anderson. “Power System Analysis”, EEH- Power System Laboratory, September 2012.
-  Prof. P.S.R Murty. “Power System Analysis”, BS Publications.
-  Fundamentals of Power System.
-  เอกสาร Per Unit System
-  เอกสารประกอบเรื่อง ระเบียบวิธี Jacobi และ Gauss-Seidel
-  เอกสารประกอบเรื่อง Examples of Gaussian Elimination.
-  เอกสารประกอบเรื่อง Metrix
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ผ่านกิจกรรมในการนำแนวคิด และความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การนำเสนอผลงาน/การอภิปราย/การสัมมนาระหว่างนักศึกษาผู้นำเสนอ กลุ่มนักศึกษาผู้ฟัง และผู้สอน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์พฤติกรรมความสนใจของนักศึกษา และแบบสอบถาม
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   เนื้อหา ความรู้และความเข้าใจ ระหว่างการนำเสนอผลการศึกษา
ข้อมูล ณ. ปัจจุบัน ยังไม่มีการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ