เทคนิคการตกแต่งเซรามิกในระบบอุตสาหกรรม

Ceramics Decoration Technique in Industrial System

รู้ประวัติความเป็นมาและรูปแบบลวดลายของผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ตกแต่งบนเคลือบในระบบอุตสาหกรรม การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งบนเคลือบ การเตรียมสีและออกไซด์สำหรับการตกแต่งบนเคลือบ การคัดลอกผลงานที่มีชื่อเสียงเพื่อการอนุรักษ์ การออกแบบลวดลายเพื่อใช้ตกแต่งบนเคลือบ การตกแต่งบนเคลือบด้วยวิธีการระบายสี รูปลอก ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคการตกแต่งบนเคลือบ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านการตกแต่งเซรามิกสภาวะที่ผ่านการเผาเคลือบ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ หลักการและทักษะการตกแต่งเซรามิกที่ผ่านการเผาเคลือบ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การออกแบบเซรามิก และการทำโครงงานเซรามิก
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาและรูปแบบลวดลายของผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ตกแต่งบนเคลือบในระบบอุตสาหกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งบนเคลือบ การเตรียมสีและออกไซด์สำหรับการตกแต่งบนเคลือบ การคัดลอกผลงานที่มีชื่อเสียงเพื่อการอนุรักษ์ การออกแบบลวดลายเพื่อใช้ตกแต่งบนเคลือบ การตกแต่งบนเคลือบด้วยวิธีการระบายสี รูปลอก ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคการตกแต่งบนเคลือบ
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ

3.มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม และ จริยธรรม ในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรรทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
               2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
               2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
               2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ใช้การเรียนการสอนหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทตโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือ ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการ้รียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในด้านต่างๆคือ
2.3.1   การทดสอบย่อย
2.3.2  การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
2.3.3   ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.5 ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
2.3.6 ประเมินจากแผนการดำเนินงานโครงการ
2.3.7 ประเมินจากการฝึกงานหรือสหกิจศึกษา
3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้กรณีศึกษา การจัดทำโครงงาน การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ สังงเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนอ โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษา และการนำเสนองาน
4.1.1  มีมนุษยสัมพนธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3   สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตา การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1.1   สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2   สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3   สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล โดยการใช้ตัวเลขเพื่อจัดการข้อมูล การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพกับสภาพของผู้สื่อสาร
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอข้อมูล
6.1.1   มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2   มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.1.3   มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
ใช้วิธีสอนด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา โครงงานและศิลปนิพนธ์ สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BTECE144 เทคนิคการตกแต่งเซรามิกในระบบอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย สอบกลางภาค สอบปลายภาค การปฏิบัติงานและผลงาน การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 8 สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 17 การปฏิบัติงานและผลงาน ตลอดภาคเรียน จิตพิสัย ตลอดภาคเรียน สอบกลางภาค 15 % สอบปลายภาค 15% การปฏิบัติงานและผลงาน 60% จิตพิสัย 10 %
1.กฎษดา พิณศรี ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และอุษา  ง้วนเพียรภาค.(2535). เครื่องถ้วยสุโขทัย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรู๊พ.
2.กรมศิลปากร. (2533). แหล่งเตาล้านนา. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
3.ไกรศรี  นิมมานเหมินทร์. (2526)  เครื่องถ้วยสันกำแพง. เชียงใหม่: ศูนย์หนังสือเชียงใหม่.
4.โกมล  รักษ์วงศ์.(มปป.). วัตถุดิบที่ใช้ในเครื่องปั้นดินเผาและเนื้อดินปั้น. นนทบุรี : โรงเรียนมารดานุเคราะห์
5.จอนห์ ซี ชอว์. แปลโดย สมพร วาร์นาโด, เอมอร  ตูวิเชียร และอุษณีย์  ธงไชย. (มปป.)  เครื่องปั้นดินเผาไทย. (เอกสารวิชาการชุดเครื่องปั้นดินเผา ลำดับที่ 1). ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
6.ดุษฎี  สุนทรารชุน. (2531). การออกแบบลายพิมพ์ผ้า. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
7.ประเสริฐ  ศีลรัตนา (2538). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์
8.ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และกฎษดา พิณศรี. (2533) เครื่องถ้วยในประเทศ. กรุงเทพฯ: แอคมี พริ้นติ้ง.
9.ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และคณะ. (บรรณาธิการ) (2539) ศิลปะเครื่องถ้วยในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอสถสภาเต็กเฮงหยู.
10.ปราสาท วงสกุล  ทองดุลย์  ธนะรัชต์  วิฑูรย์  ยะสวัสดิ์  สุจินต์  พิทักษ์  และดาวรุ่ง  พรสาธิต. (2538). สเปเชี่ยล : เบญจรงค์ไทย  เซรามิกส์. 1(2). 22-42
11.เปี่ยมสุข  เหรียญรุ่งเรือง. (มปป.)  ประวัติศาสตร์เครื่องปั้นดินเผา เล่ม 1 ยุคโบราณและตะวันออกไกล. (เอกสารคำสอนประกอบรายวิชาประวัติเครื่องเคลือบดินเผา) คณะมัณฑนะศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
12.ภุชชงค์ จันทวิช, ณัฏฐภัทร จันทวิช และสิงห์คม หงษ์จินตกุล. (บรรณาธิการ) (2542) เครื่องถ้วยเบญจรงค์และลายน้ำทอง (โครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย). กรุงเทพฯ : มรดกไทย.
13.พจน์ เกื้อกูล. (2512) เครื่องถ้วยและเตาสันกำแพง กรุงเทพฯ : ศิลปากร.
14.ไพจิตร  อิ่งศิริวัฒน์. (2546). สีเซรามิก. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
15.วิรุณ  ตั้งเจริญ.(2537). ออกแบบ 2 มิติ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
16.เวนิช สุวรรณโมลี. (มมป.) เทคนิคตกแต่งเซรามิกซ์. เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 365201 เทคนิคการตกแต่ง มหาวิทยาลัยศิลปากร.
17.ศุภกา  ปาลเปรม.(2537) .การแสดงศิลปะเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติ ครั้งที่ 7. “มุมนักทำเครื่องปั้นดินเผาสมัครเล่น” กรุงเทพ : อัมรินทร์พริ้นติ้ง. หน้า 124-133.
18. เศรษฐมันตร์  กาญจนกุล.(2543) .ลวดลายบาหลี. กรุงเทพฯ : เศรษฐศิลป.
19. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมกับวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และศูนย์วัฒนธรรมประจำจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ. (2524). เชิดชูเกียรติ นายไกรศรี  นิมมานเหมินท์. กรุงเทพฯ: ไตรรงค์การพิมพ์.
20. สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. (2539). โบราณคดีวิเคราะห์2 : เครื่องถ้วยบุรีรัมย์และเครื่องถ้วยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: ดอกเบี้ย.
21. สมศักดิ์ ธรรมาปรีชากร (มปป.) เครื่องถ้วยล้านนา  เครื่องถ้วยในเอเซียอาคเนย์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-22. กรุงเทพฯ: โอสถสภาเต็กเฮงหยู.
22. Ayers, J. (1980). Far Eastern Ceramics in the Victoria and Albert Museum. (2nd. ed.). Japan:Sotheby Parke Bernet Pub.
23. Bellaire, Marc (1975). Brush Decoration for.(6th )  Ohio : Professional Publications, Inc.
24. Bismarck, Beatrice von. (1993). Impressionist art vol.II. Germany : Ingo F. Walther
25. Brick, Tony.(1996). The Complete Potter’s Companion. Hongkong :  Conran Octopus.
26.Brown, M. Roxanna (1988). The Ceramics of South-East Asia Their Dating and Identification . (2nd ed) Singapore : Oxford University
27.Chappell, James. (1991). The Potter’s Complete Book of Clay and Glaze. (rev. edit). Newyork: Watson-Guptill Publications
28. Emmauel, Cooper. (2000). Ten Thousand years of Pottery (rev.) London : British Museum.
29. Gombrick, E.H.(1984). The Sense of Order. (2nd. ed.) Great Britain : Phaidon
30. Graham, Flight. (1991).Introduction To Ceramics. New Jersey : Prentice Hall.
31. Griffiths, Antony. (1980). Prints and Printmaking. London : British Museum.
32. Hopper, Robin. (1984). The Ceramic Spectrum : A Simplified Approach to Glaze & Color Development. (rev). Pennsylvania : Badnor.
33. John, Gibson. (1997). Pottery Decoration. Hongkong : G & B Arts International, Ltd.
ไม่มี
www.amaco.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์