หลักเศรษฐศาสตร์

Principles of Economics

ทราบปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ทราบบทบาทและหน้าที่ของหน่วยเศรษฐกิจแบบต่างๆ ทราบถึงกลไกและแนวคิดในด้านอุปสงค์ อุปทาน ภาวะดุลยภาพ

ความยืดหยุ่น การแทรกแซงราคาของรัฐบาล

ทราบทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค ทราบทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิต ทราบรายรับและกำไรสูงสุดของผู้ผลิต ทราบดุลยภาพของหน่วยผลิตและอุตสาหกรรมทั้งตลาดแข่งขันสมบูรณ์และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ทราบถึงทฤษฎีปัจจัยการผลิต ทราบถึงผลตอบแทนปัจจัยการผลิต รู้รูปแบบการทำงานของระบบเศรษฐกิจ กลไกและแนวคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค รู้ความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค รู้ความหมายและวิธีการคำนวณรายได้ประประชาชาติ เข้าใจองค์ประกอบของรายได้ประชาชาติ และการกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพ เข้าใจอุปสงค์และอุปทานของเงิน สถาบันการเงิน เข้าใจภาวะเงินเฟ้อ  ภาวะเงินฝืด เข้าใจทฤษฎีและนโยบายการเงิน  นโยบายการคลัง นโยบายการค้าและการเงินระหว่างประเทศ  

เข้าใจการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมหภาคและการพัฒนาเศรษฐกิจ    
1. เพื่อเพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล
2. เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำมาใช้ได้กับสถานการณ์ปัจจุบัน                
ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ หน้าที่และบทบาทของหน่วยเศรษฐกิจแบบต่างๆ กลไกและแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค ในด้านอุปสงค์ อุปทาน ภาวะดุลยภาพ ความยืดหยุ่น การแทรกแซงราคาของรัฐบาล ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภคทั้งทฤษฎีอรรถประโยชน์ และเส้นความพอใจเท่ากัน ทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิต ดุลยภาพของหน่วยผลิตและอุตสาหกรรมในตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ ทฤษฎีปัจจัยการผลิต และผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิต พร้อมทั้งรูปแบบและการทำงานของระบบเศรษฐกิจ  กลไกและแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค ในด้านการวัดรายได้ประชาชาติ  รายได้ประชาชาติดุลยภาพ องค์ประกอบและตัวกำหนดรายได้ประชาชาติ  การบริโภค  การออม  การลงทุน   รายได้และรายจ่ายของรัฐบาล  ระบบธนาคาร ตลาดเงิน อุปทานของเงิน  อุปสงค์ของเงิน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ ภาวะเงินเฟ้อ  ภาวะเงินฝืด ตลาดแรงงาน  การจ้างงาน นโยบายการเงิน นโยบายการคลังและการว่างงาน ทฤษฎีและนโยบายการค้าและการเงินระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้
- อาจารย์ผู้สอนประจำรายวิชา แจ้งช่องทางการส่งงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย
- อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
   ( เฉพาะรายที่ต้องการ)
              พัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกในเรื่อง ความซื่อสัตย์สุจริต  ซื่อตรงต่อหน้าที่  ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ตรงต่อเวลา  เคารพในกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม มีมโนธรรมสามารถแยกแยะความถูกต้องความดีความชั่ว  โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้                

มีความซื่อสัตย์สุจริต  ซื่อตรงต่อหน้าที่  ต่อตนเองและต่อผู้อื่น  ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความกตัญญู  ความเสียสละ ความอดทน  ความเพียรพยายาม มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดความพอประมาณ  ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน มีความเคารพต่อกฎ  ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีจิตสำนึกและมีนโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง  ความดี  และความชั่ว
1 บรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม
2 ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย  การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1. ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
2. การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
           มีความรู้ ในทฤษฏีเศรษฐศาสตร์จุลภาค กลไกราคา บทบาทหน้าที่ของหน่วยเศรษฐกิจพฤติกรรมผู้ผลิตและผู้บริโภค การกำหนดราคาและปริมาณการผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์และแข่งขันไม่สมบูรณ์ ทฤษฎีปัจจัยการผลิต และผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิต และแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค ในด้านรายได้ประชาชาติ รายได้ประชาชาติดุลยภาพ  องค์ประกอบของรายได้ประชาชาติ  ภาวะเงินเฟ้อ  ภาวะเงินฝืด ทฤษฎีและนโยบายการเงิน การคลัง การค้าและการเงินระหว่างประเทศ ตลอดถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้  และมีความรู้ตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้                

มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของเศรษฐศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจที่ครอบคลุมในทุกหลักสูตรวิชาที่เลือกเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของเศรษฐศาสตร์ในด้านบริหารธุรกิจทางการตลาด  การเงิน  การผลิต  การดำเนินงาน  การจัดองค์การ  ทรัพยากรมนุษย์  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกระบวนการบริหารธุรกิจ  การวางแผน  การควบคุมและการประเมินผล  การดำเนินงาน  การปรับปรุงแผนงาน  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านเศรษฐศาสตร์รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและมีผลกระทบอย่างเท่าทัน
1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ใช้การสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎี และปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
3. มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด หรือศึกษากรณีศึกษา  และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1.    ประเมินผล จากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.   ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย หรือ ศึกษากรณีศึกษา  และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
 ผู้เรียนสามารถสืบค้น  จำแนก  และวิเคราะห์ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทเรียนเพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม ตลอดจนถึงมีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์  โดยมีทักษะทางปัญญาตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้                
1    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม  กิจกรรม  หรือแนวทางจากการเรียนเศรษฐศาสตร์ในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
2    สามารถสืบค้น  จำแนก  และวิเคราะห์ข้อมูล ทางด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3    สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้จากเนื้อหาในบทเรียน และใช้ประสบการณ์จากการเรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
4    มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่เป็นอยู่
3.2.1    การมอบหมายงานให้นักศึกษาฝึกทักษะทางด้านการวิเคราะห์ปัญหาสภาพทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน
3.2.2    วิเคราะห์กรณีศึกษา  เกี่ยวกับการศึกษากลไกตามแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค
3.3.1    ประเมินจากเอกสารรายงาน
3.3.2    ประเมินจากกรณีศึกษา
             พัฒนาผู้เรียนให้สามารถทำงานเป็นกลุ่ม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้  ประสานงานได้   โดยมีทักษะดังกล่าวตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้                
4.1.1    มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2    มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม  การประสานงาน  การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3    มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.4  มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่าง อย่างสร้างสรรค์
4.2.1    จัดกิจกรรมกลุ่ม ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา เพื่อตอบคำถามในชั้นเรียน
4.2.2    มอบหมายงานรายกลุ่ม
4.3.1    ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ และคำตอบที่ได้รับในห้องเรียน 
4.3.2    สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานค้นคว้าข้อมูลสารสนเทศทางเศรษฐศาสตร์จุลภาค และสามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง  ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา  ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการเรียน การทำงานมอบหมายและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี   โดยมีทักษะดังกล่าวตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้                
5.1.1     สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์  สถิติ และ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในทางธุรกิจ
5.1.2     สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีสิทธิภาพ
5.1.3     สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4     สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง  ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.5     สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ และสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย
5.1.6     ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
5.1.7     ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
5.2.1     มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต และทำรายงานโดยให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.2.2     ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
5.2.3     การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1-5 บทที่ 6-10 - การสอบกลางภาค - การสอบปลายภาค 9 และ 17 30 %
2 บทที่ 1 การวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้า การนำเสนอรายงาน -การทำรายงาน/งานที่มอบหมาย -การส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 การเข้าชั้นเรียน -การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - การตอบคำถามในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
เอกสารประกอบการสอน และ PowerPoint วิชา  หลักเศรษฐศาสตร์  อาจารย์ดร.ธัญวดี สุจริตธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  ภาคพายัพ  เชียงใหม่
             ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. เศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์,
                       2548.
             วันรักษ์  มิ่งมณีนาคิน. หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค.พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์
                        มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.
             วันรักษ์  มิ่งมณีนาคิน.  หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค.พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์
                        มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.
หนังสือพิมพ์วิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจของธุรกิจต่าง ๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ผู้จัดการ ฯลฯ
วารสาร นิตยสาร บทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ทางการจัดการ และ เว็บไซด์ข่าวทางธุรกิจ
รายการข่าวทางเศรษฐกิจ หรือข่าวเศรษฐกิจ   
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ได้ดังนี้

ตั้งโจทย์/คำถาม ถามนักศึกษาระหว่างในชั้นเรียน และภายหลังจบการบรรยาย การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น
4.2  การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน  เพื่อให้นักศึกษามีแนวทาง ในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ