จริยธรรม กฎหมาย และประเด็นสังคมวิชาชีพทางคอมพิวเตอร์

Ethical, Legal and Social Issues in Computer

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของจรรยาบรรณทางวิชาชีพ มีความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางวิชาชีพ จริยธรรมทางวิชาชีพคอมพิวเตอร์ การรักษาความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ และ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพคอมพิวเตอร์ การรักษาความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ และกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ไม่ให้ผู้อื่นมาทำความเสียหายกับผู้ใช้ มีความรับผิดชอบและมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพคอมพิวเตอร์
ศึกษาเกี่ยวกับประวัติและความเป็นมาของจรรยาบรรณทางวิชาชีพ นโยบายสาธารณะ วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ ความรับผิดชอบและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ การยอมรับความเสี่ยงและการชดใช้ต่อระบบคอมพิวเตอร์ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อาชญากรรมในระบบคอมพิวเตอร์ ประเด็นการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ให้ประหยัด
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านอีเมลล์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยในชีวิต ความสำเร็จทางธุรกิจ ผู้พัฒนาและ/หรือผู้ประยุกต์โปรแกรมจำเป็นมีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่นๆ อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 7 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม และจริยธรรมอย่างน้อย 7 ข้อตามที่ระบุไว้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้ อินเตอร์เน็ตโดยไม่ไปล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น อภิปรายกลุ่ม

กำหนดให้นักศึกษาทำงานตามที่มอบหมาย
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 งานที่ได้รับมอบหมายมีความ ถูกต้องและเหมาะสมทั้งด้านเนื้อหาและการอ้างอิง
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหม
มีความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมเบื้องต้น จริยธรรมในวิชาชีพคอมพิวเตอร์ การรักษาความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
บรรยาย  อภิปราย การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฏี และแนวคิดทางจริยธรรม
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้งานคอมพิวเตอร์
3.2.1 อภิปรายกลุ่ม
3.2.2 วิเคราะห์กรณีศึกษา ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
3.2.3 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
4.2.2 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม
5.1.2 ทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
5.1.3 ทักษะในการวิเคราะห์เหตุการณ์จากกรณีศึกษา
5.1.4 ทักษะในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อ เครื่องมือ และเทคโนโลยี ในการสื่อสารอย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-1.7, 2.1-2.7, 3.1-3.7, 4.1-4.4 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 30% 30%
2 1.7,2.3-2.4, 3.5-3.6, 4.1-4.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.4-1.6, 2.3-2.4, 3.5-3.6, 4.1-4.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. การปฏิรูปการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2543.
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. ๘ คุณธรรมพื้นฐาน. (โปสเตอร์), 2550.
จตุชัย แพงจันทร์. Master in Security. นนทบุรี : ไอดีซี อินโฟ ดิสทริบิวเตอร์ เซนเตอร์ จำกัด, 2550.
ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์. เอกสารเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550. ม.ป.ป.
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล. เอกสารข้อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการกระทำผิด พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, ม.ป.ป.
ดร.ไพจิตร สวัสดิสาร. การใช้คอมพิวเตอร์ทางกฎหมาย และกฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2547.
ธวัชชัย ชมศิริ. ความปลอดภัยของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : บริษัทโปรวิชั่น จำกัด, 2553.
บัณฑิต หลิมสกุล. ลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, 2539.
บุญสืบ โพธิ์ศรีและอุทัยวรรณ ฉัตรสุวรรณ. จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์, 2547.
ผศ.ดร. พิภพ วชังเงิน. จริยธรรมวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : บริษัท รวมสาส์น (1997) จำกัด.
พนิดา พานิชกุล. ความมั่นคงปลอดภัยสองสารสนเทศและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ไทยเจริญการพิมพ์, 2553.
พนิดา พานิชกุล. จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : ไทยเจริญการพิมพ์, 2553.
สุรีย์ มีผลกิจ. คุณธรรม จริยธรรม สามัคคีธรรม ตามแนวทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : บริษัทคอนฟอร์ม จำกัด, 2550.
George W. Reynolds. Ethics in Information Technology. 2nd ed. Thomson Course Technology, 2007.
 
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550.
เอกสารข้อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการกระทำผิด พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ประเมินโดยนักศึกษา
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ