การจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

Strategic Management for Logistics and Supply Chain

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ปัญหา แนวคิดเกี่ยวกับความเสี่ยง  และอภิปราย สำหรับการวางแผนทางเชิงกลยุทธ์ของระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อให้บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาให้มีศักยภาพตามปรัญญาของหลักสูตรที่ตั้งไว้ คือการประสิทธิภาพในระบบของโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  และรองรับการเปลี่ยนแปลงทางพลวัต
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ  หลักการวิเคราะห์ปัญหา แนวคิดเกี่ยวกับความเสี่ยงและอภิปราย สำหรับการวางแผนทางเชิงกลยุทธ์ของระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
2.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ  การวางแผนทางเชิงกลยุทธ์ของระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
2.3 เพื่อให้นักศึกษามีแนวคิดการแก้ไขปัญหา ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ ในระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
2.4  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ  ในการวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยของระบบโลจิสติกส์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทาง ธุรกิจ และการบริหารความเสี่ยง  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาหลักการวิเคราะห์ปัญหา แนวคิดเกี่ยวกับความเสี่ยง  และอภิปราย สำหรับการวางแผนทางเชิงกลยุทธ์ของระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการประสานความรู้ในแขนงต่างๆมาใช้ในการแก้ ปัญหาและวางแผน โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายโดยเน้นการเลือกกลยุทธ์ทางธุรกิจ การวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยของระบบโลจิสติกส์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทาง ธุรกิจ การบริหารความเสี่ยง
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ  -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา 1)  มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม 2)  แสดงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ 3)  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรมและจริยธรรม 4)  เคารพในระเบียบและกฎเกณฑ์ขององค์กรและสังคม
ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด   สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม    สอดแทรกคุณธรรม และจริยธรรม    เน้นการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อระเบียบข้อบังคับของ          มหาวิทยาลัย
1.3.1   การขานชื่อ  การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา 1.3.2   สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย 1.3.3   สังเกตและพิจารณาพฤติกรรมของนักศึกษา 1.3.4   สังเกตและให้ข้อคิดเห็นการแต่งกายของนักศึกษา
2.1.1  เข้าใจ และวิเคราะห์หลักการและทฤษฎีพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ 2.1.2  สามารถนำไปประยุกต์ในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ได้ 2.1.3  เข้าใจ และวิเคราะห์หลักการของศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ เช่น หลักเศรษฐศาสตร์ หลักกฎหมาย หลักการจัดการ เป็นต้น และสามารถนำมาประยุกต์หรือเป็นพื้นฐานของ    โลจิสติกส์
2.2.1 ใช้การสอนหลายรูปแบบ  โดยเน้นหลักการทฤษฏีและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ 2.2.2 ให้นักศึกษาปฏิบัติการโลจิสติกส์ โดยนำหลักการทางทฤษฏีมาประยุกต์ใช้ 2.2.3 มอบหมายให้ทำรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning 2.3.3  พิจารณาจากงานที่ได้รับมอบหมาย
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา 3.3.1 มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในสถานการณ์จริง 3.3.2 สามารถแก้ปัญหาทางโลจิสติกส์ได้โดยนำหลักการต่างๆมาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม 3.3.3 มีความใฝ่หาความรู้
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน 3.2.2   วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการแก้ไขปัญหาทางโลจิสติกส์ 3.2.3   ให้กรณีศึกษาเพื่อค้นคว้าหาข้อมูล
3.3.1   พิจารณาจากผลงานของนักศึกษา 3.3.2   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา 3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการสักถาม
4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ               4.1.1  สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี               4.1.2  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย          4.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ               4.2.1  กำหนดการทำงานเป็นกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ  การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน               4.2.2  ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
 4.2.1  กำหนดการทำงานเป็นกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ  การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน               4.2.2  ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
 
4.3.1  พิจารณาจากาการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา               4.3.2  ประเมินผลจากการงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1.1  มีทักษะการใช้ภาษาไทยในการอธิบายหลักการและสถานการณ์ตลอดจนการสื่อสารความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ              5.1.2  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน              5.1.3  มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในอันที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ตลอดจนนำเสนอข้อมูลโดยใช้คณิตศาสตร์หรือสถิติ              5.1.4  ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้
5.2.1   ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล 5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.3   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 5.2.4   มอบหมายงานที่มีภาษาอังกฤษ
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2   ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน 5.3.3   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปรา
 6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ               6.1.2  มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
 6.2.1  สาธิตการปฏิบัติการ โดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.2  ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
6.3.1   สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
6.3.2   พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 30% 30%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ศ.ดร.สาธิต พะเนียงทอง. การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์. ซีเอ็ดยูเคชั่น. กรุงเทพฯ     ไชยยศ ไชยมั่นงค, มยุขพันธ์ ไชยมั่นคง. กลยุทธ์โลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก. ซีเอ็ดยูเคชัน. กรุงเทพฯ
เอกสารการสัมมนา หลักสูตร การวางแผนการดำเนินงานโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ