หลักการเกษตร

Principles of Agriculture

  เพื่อศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ความรู้พื้นฐานทางด้านการผลิตพืช ความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์ หลักการเลี้ยงสัตว์ ความรู้พื้นฐานในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรตลาดสินค้าทางการเกษตร
    เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการผลิตทางด้านการเกษตร และ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านการผลิตให้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ความรู้พื้นฐานทางด้านการผลิตพืช ความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์ หลักการเลี้ยงสัตว์ ความรู้พื้นฐานในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรตลาดสินค้าทางการเกษตร
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษา
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 - มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
-สอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะที่สอนเนื้อหา โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
 - กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
  - ให้งานมอบหมายและกำหนดเวลาส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
- ร้อยละ 90 ของนักศึกษา เข้าเรียนตรงเวลา
- ร้อยละ 95 ของนักศึกษา ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด
- ไม่มีการทุจริตในการสอบ
- มีวินัยต่อการเรียน ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
- มีความรู้ ความเข้าใจ ทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของวิชาที่ศึกษา
-  ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต    เป็นต้น
- มอบหมายนักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติมและจัดทำเป็นรายงานตลอดจนนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
-  ทดสอบโดยสอบข้อเขียนในการการทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
-  การประเมินผลจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- มีทักษะทางการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ
- การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL)
               - ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
               -แนะนำให้ใช้ความรู้ทางทฤษฏีเพื่อการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานในการผลิตทางด้านการเกษตรรวมทั้งด้านการปลูกพืชการเลี้ยงสัตว์และการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรตามที่ได้รับมอบหมาย
- ฝึกให้วิเคราะห์ปัญหาจากกรณีศึกษาที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว โดยให้ไปค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ ร่วมกับการค้นคว้าจากฐานข้อมูล
- ทดสอบโดยข้อเขียน และสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน
- ดูจากรายงาน การนำเสนอรายงานและการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นในชั้นเรียน
- มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
- สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
 
- มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษา
   ทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
- ให้นักศึกษาแบ่งงานและกำหนดความรับผิดชอบของแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
- ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานที่ทำเป็นกลุ่มหรือโครงงาน
-ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่มทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ
- สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
-สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
 
-มีการนำเสนองานกลุ่มต่อชั้นเรียน พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อเน้นให้นักศึกษาใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจนและกระชับ
- กำหนดให้มีการนำเสนอในรูปแบบของ PowerPoint
- ประเมินจากผลงานที่ต้องวิเคราะห์เชิงปริมาณ
- ประเมินจากการใช้สื่อและภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานและการนำเสนอในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ทักษะทางปัญญา ด้านทักษะ พิสัย ความรู้ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 1 2 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 21011340 หลักการเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 5.3 การทดสอบย่อย (Quiz) อย่างน้อย 5 ครั้ง 1-15 15%
2 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 5.3 การสอบกลางภาค 9 25%
3 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 4.1 4.3 งานมอบหมายเพาะ ปลูกบำรุงดูแลรักษาพืชและการตัดแต่ง การจำหน่าย 4-16 20%
4 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 4.1 4.3 5.1 5.2 5.3 รายงานกลุ่มนำเสนอผลการดำเนินการปลูกและดูแลรักษา 16 5%
5 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 5.3 สอบปลายภาค 17 20%
6 1.3 4.1 4.2 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม 1-15 5%
7 1.3 4.1 4.2 การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ 1-15 5%
8 1.3 4.1 4.2 4.3 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม โดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 15 5%
นคร  ณ. ลำปาง. 2527.  หลักการผลิตพืช   ภาควิชาพืชไร่   คณะเกษตรศาสตร์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หนังสือ/ตำรา เอกสารเพื่อใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า
กรมอาชีวศึกษา. 2526.  หลักการเลี้ยงสัตว์ทั่วไป    พิมพ์ครั้งที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ  สำนักพิมพ์
                              อักษรเจริญทัศน์
กนกมณฑล   ศรศรีวิชัย.  2528.  เทคโนโลยีและสรีรวิทยา หลังเก็บเกี่ยว ภาควิชาชีววิทยา     คณะวิทยาศาสตร์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
คณาจารย์ ภาควิชาพืชไร่นา. 2519.  หลักการกสิกรรม    ภาควิชาพืชไร่นา   คณะเกษตร      มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์     
ไพศาล   เหล่าสุวรรณ. 2525.  หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช   ภาควิชาพืชศาสตร์   คณะ        ทรัพยากรธรรมชาติ   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิรุฬห์  สุวรรณกิติ. 2517.  ชีววิทยา   แผนกชีววิทยา   คณะวิทยาศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิรัตน์  ชวาลกุล และ เกศิณี  ระมิงค์วงศ์. 2522 .  หลักการพืชสวน   ภาควิชาพืชสวน    คณะเกษตรศาสตร์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุวิทย์  เทียรทอง.  2536.  หลักการเลี้ยงสัตว์   พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร   พิมพ์ที่ 
                โอ. เอส. พริ้นติ้ง  เฮ้าส์
สายชล   เกตุษา.  2528.   สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ภาควิชาพืชสวน
                คณะเกษตร      มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เอกสารการสอนชุดวิชาพืชเศรษฐกิจ.  2544.  สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์   มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อภิพรรณ   พุกภักดี . 2526 .  ระบบการปลูกพืช   ภาควิชาพืชไร่นา   คณะเกษตร      มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
            อภิพรรณ   พุกภักดี และ คณะ. 2541.  หลักการผลิตพืช   ภาควิชาพืชไร่นา   คณะเกษตร                          
                     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   วิทยาเขตกำแพงแสน   นครปฐม
           ทับทิม   วงศ์ประยูร.  2543.  หลักเศรษฐศาสตร์   พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ ห้างหุ้นส่วนจำกัด
                    วี.  เจ. พริ้นติ้ง
จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพในรายวิชานี้ดังนี้
               - การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
               - แบบประเมินผู้สอนและรายวิชา
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
- การสังเกตการณ์สอนโดยอาจารย์ในสาขาวิชา
               - ผลการสอบ
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหารือกับอาจารย์ที่สอนวิชาอื่น ๆ ในสาขาวิชา และสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา
- มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ โดยให้อาจารย์ที่ไม่ได้ร่วมสอนช่วยประเมินหัวข้อ เนื้อหา ข้อสอบผลการเรียน และการตัดเกรด
- จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
- ปรับปรุงวิธีการสอนทุกปี
-ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
-สอดแทรกความรู้ประยุกต์ที่ทันสมัยทุกปี โดยเชิญอาจารย์พิเศษหรือผู้ทรงคุณวุฒิในภาคเอกชนมาให้ความรู้