เศรษฐศาสตร์จุลภาค

Microeconomics

1.1  เข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค
1.2 ประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคในสถานการณ์จำลองและกรณีศึกษาได้
1.3 นำแนวคิด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค มาอธิบายสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันได้
เพื่อให้เนื้อหาบางเรื่องสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเพิ่มเติมแบบฝึกหัดในทุกหน่วยเรียน
ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ หน้าที่และบทบาทของหน่วยเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ กลไกและแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค ในด้านอุปสงค์ อุปทาน ภาวะดุลยภาพ ความยืดหยุ่น การแทรกแซงราคาของรัฐบาล ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภคทั้งทฤษฎีอรรถประโยชน์และเส้นความพอใจเท่ากัน ทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิต ดุลยภาพของหน่วยผลิตและอุตสาหกรรมในตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1.1.2  มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม
1.1.3  มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดพอประมาณ ความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกัน
1.1.4  มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.5  มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
1.2.1  ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.2   กำหนดงานเป็นกลุ่มย่อย เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
1.2.3   จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกในการมีคุณธรรม จริยธรรม
1.2.4   ให้การยกย่องชมเชยผู้ที่มีความซื่อสัตย์ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
1.2.5   กำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบ
1.2.6   มีกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องความเสียสละเพื่อส่วนรวมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของรายวิชาที่ศึกษาเพื่อสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม มาตรฐานการเรียนรู้ครอบคลุมถึง
1.3.1  ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาและเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.2  ประเมินจากผลงานกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1.3.3  จำนวนการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
1.3.4  ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียน ด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์  ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์
2.1.3  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้ง การปรับปรุงแผนงาน
2.1.4  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.2.1  ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2.2.2  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษ
2.2.3  จัดการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
2.3.1   การทดสอบย่อย
2.3.2   การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3   ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
2.3.4   ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
2.3.5   ประเมินจากแผนธุรกิจหรือโครงการที่นำเสนอ
2.3.6   ประเมินจากผลการฝึกงานหรือสหกิจศึกษา
3.1.1  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
3.1.2  สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.1.3  สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆรวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้
3.1.4  มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
3.2.1  กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม
3.2.2  ใช้สถานประกอบการฝึกปฏิบัติงานจริง
3.2.3  มีการอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นผลการศึกษาและปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเสนอแนวทางการแก้ไข
3.2.4  เน้นถึงศาสตร์และศิลป์ รวมถึงรูปแบบในการนำเสนอผลงาน และให้นักศึกษาได้มีการนำเสนอผลงานจริง
3.3.1  ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
3.3.2  ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
3.3.3  ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
4.1.1  มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2  มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3  มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.4  มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
4.2.1  มอบหมายงานที่ต้องใช้การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
4.2.2   มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา
4.2.3   มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
4.2.4   มีกิจกรรมส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ เช่น ยกย่องชมเชยนักศึกษาที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีเด่น
4.3.1   ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม
4.3.2   ประเมินจากผลงานของนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
4.3.3   มีการร่วมประเมินทั้งอาจารย์และนักศึกษา
5.1.1  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
5.1.2  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4  สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.5  สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย
5.1.6  ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
5.1.7  ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
5.2.1  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
5.2.2  ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้
5.2.3   มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1   ประเมินจากการอธิบายหลักการเข้าถึงข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.2   ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
5.3.3   ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.4   ประเมินจากการทดสอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7
1 10002201 เศรษฐศาสตร์จุลภาค
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1-2.1.4 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 และ 2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 7,16 9 17 20 % 30 % 30 %
2 3.1.1-3.1.4, 4.1.1-4.1.4, 5.1.1-5.1.7 การทำงานกลุ่มและผลงาน การทำแบบฝึกหัดทบทวนท้ายบท ตลอดภาคการศึกษา 10 %
3 1.1.1 – 1.1.7, การเข้าชั้นเรียนและความประพฤติ ตลอดภาคการศึกษา 10 %
คิม ไชยแสนสุข.  เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1 (EC 111 S).  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2525.
จินตนา พรพิไลพรรณ และบุญธรรม ราชรักษ์.  เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1 (EC 111 H). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550.
นราทิพย์ ชุติวงศ์.  ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน.  หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน.  หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
วรัญญา ภัทรสุข.  เศรษฐศาสตร์ 1 (หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค).  2 th Ed กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
บัณฑิต ผังนิรันดร์.  เศรษฐศาสตร์จุลภาค.  กรุงเทพฯ : บริษัทธนสาร จำกัด, 2545.
ปรีดา นาคเนาวทิม.  เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1 (EC 111).  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2541.
ภราดร ปรีดาศักดิ์.  หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549.
สุพัตรา ราชรักษ์.  เอกสารคำสอนวิชา เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1.  เอกสารโรเนียวเข้าเล่ม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ไม่มี
เวปไซด์ต่างๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สารคดีเศรษฐกิจพอเพียง ตัวเลขทางเศรษฐกิจ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัย
 ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ไม่มี
จากผลการประเมินได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
       5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะ
       5.2  ปรับปรุงกรณีศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ