การบัญชีต้นทุน

Cost Accounting

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและบทบาทของการบัญชีต้นทุนองค์กรธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบของต้นทุนการผลิตและการบันทึกต้นทุนการผลิต เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และวิธีการบัญชีเกี่ยวกับระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ และระบบบัญชีต้นทุนช่วงการผลิตรวมทั้งวิธีการบัญชีเกี่ยวกับของเสีย ของสิ้นเปลือง งานที่บกพร่อง เศษซาก เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจวิธีการบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนมาตรฐานและการวิเคราะห์ผลต่างการบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้ การบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม เพื่อฝึกหัดให้นักศึกษานำความรู้เกี่ยวกับการบัญชีต้นทุนไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะการผลิตและสภาพของผลผลิตในแต่ละกิจการ เพื่อฝึกหัดการนำแนวคิด หลักการและวิธีการบัญชีต้นทุนไปใช้ในทางปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถของนักศึกษา ในการจัดทำบัญชีต้นทุน และการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมลักษณะการผลิตและสภาพของผลผลิตในแต่ละกิจการ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและฝึกปฎิบัติ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ความสำคัญและบทบาทของการบัญชีต้นทุนในองค์กรธุรกิจ ความหมายของต้นทุนต่าง ๆ ระบบบัญชีที่ใช้บันทึกต้นทุน วิธีการบัญชีและการควบคุมเกี่ยวกับวัตถุดิบค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิต ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ระบบการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต วิธีการบัญชีเกี่ยวกับของเสีย ของสิ้นเปลืองงานที่บกพร่อง เศษซาก การบัญชีต้นทุนมาตรฐานและการวิเคราะห์ผลต่างการบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้ การปันส่วนต้นทุนการผลิตและการบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสามารถขอคำปรึกษาได้ผ่านทางเฟสบุ๊คกลุ่ม Cost Accounting_4.2 (รหัส 60) หรือทาง Message Facebook
(1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
(2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
(1) สร้างวัฒนธรรมองค์กรในสาขาวิชาเพื่อปลูกจิตสำนึกให้กับอาจารย์และบุคลากร ในการรักษาระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย ความมีส่วนร่วมในการพัฒนาสาขาฯ คณะและมหาวิทยาลัย การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบในหน้าที่และความซื่อสัตย์สุจริต
(2) การสอนสอดแทรกในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในรายวิชา
(3) กำหนดกติกาการเข้าเรียน การส่งงานและการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
(4) จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
(1) สังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียนและความรับผิดชอบในการส่งงานที่ได้รับมอบหมายอย่างตรงเวลา
(2) มีการอ้างอิงเอกสารที่นำมาใช้ในการรายงาน/งานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้อง ชัดเจนและเหมาะสม
1) มีความรู้และเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการและวิธีการทางการบัญชี
    - แนวคิด และบทบาทของการบัญชีต้นทุนองค์กรธุรกิจ ส่วนประกอบของต้นทุนการผลิตและการบันทึกต้นทุนการผลิต
  - หลักการและวิธีการบัญชีเกี่ยวกับระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ และระบบบัญชีต้นทุนช่วงการผลิตรวมทั้งวิธีการบัญชีเกี่ยวกับของเสีย ของสิ้นเปลือง งานที่บกพร่อง เศษซาก และบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนมาตรฐานและการวิเคราะห์ผลต่างการบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้ การบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม
2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
    - มีความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ ประเภทธุรกิจ  ลักษณะการผลิตและสภาพของผลผลิตในแต่ละกิจการ และการกำหนดราคาขายของธุรกิจ
3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆโดยวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
    - เทคนิคการจัดทำบัญชีต้นทุนและการนำเสนองบต้นทุนการผลิต
4) เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีต้นทุนอย่างต่อเนื่องจากข่าวสารทางวิชาชีพผ่านสื่อออนไลน์
(1) การเรียนการสอนที่เน้นสมรรถนะมีการบรรยาย การฝึกปฏิบัติและมุ่งเน้นวิธีการปฏิบัติที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการปฏิบัติงานได้จริงจากการเรียนรู้
(2) การเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นวิธีการให้ผู้เรียนศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากการมอบหมายงานให้ฝึกปฏิบัติ
(3) การสอนแบบบรรยายและอภิปราย มุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน มุ่งสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนโดยการตั้งคำถาม ให้คิดวิเคราะห์เพื่อการค้นหาคำตอบที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้และจำเป็นต่อการศึกษาความรู้ที่ทันสมัยด้วยตนเองเป็นหลัก
(1) ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ
(2) ตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมายทั้งแบบฝึกหัดและกรณีศึกษาพิเศษ
(3) สังเกตพฤติกรรมการเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ทั้งการถามตอบในชั้นเรียนและการทำแบบฝึกหัด
(1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ จากสื่อทางออนไลน์เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของธุรกิจได้           
 (2) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
(1) การบรรยาย การยกตัวอย่าง กรณีศึกษา และการถามตอบในชั้นเรียน
(2) เปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้าและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(1) แบบฝึกหัดจากหนังสือและแบบฝึกหัดพิเศษ
(2) การสอบวัดผลในรายวิชา
(3) การประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
(1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
(2) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน และมีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
(1) กำหนดหัวข้อให้นักศึกษาทำงานกลุ่มเพื่อเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น
(2) ให้นักศึกษาจัดทำสื่อประกอบรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(1) ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานของนักศึกษา
(2) สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาเป็นรายบุคคลและพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม
(1) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมตามงานที่ได้รับมอบหมาย
(1) มอบหมายงานเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติและพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ที่จำเป็น เช่น การค้นคว้าด้วยตนเองทางสื่อออนไลน์ หรือการจัดทำและนำเสนอโดยการใช้ PowerPoint
(2) จัดทำสื่อประกอบการรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(1) ประเมินผลงานจากสื่อประกอบการรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยใช้รูปแบบที่เหมาะสมและทันสมัย
(2) ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอและการอภิปรายผล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC123 การบัญชีต้นทุน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรม จริยธรรม -การเข้าเรียน ไม่น้อยร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด -ประวัติการส่งงานตามที่มอบหมายตรงตามกำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา ทดสอบย่อย (บทที่ 1-2) 3 5%
4 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา ทดสอบย่อย (บทที่ 3-5) 6 15%
5 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา สอบกลางภาค (บทที่ 6) 9 15%
6 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา ทดสอบย่อย (บทที่ 7-8) 13 20%
7 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เล่มรายงานฉบับสมบูรณ์และการนำเสนอรายงาน (งานกลุ่ม) 17 10%
8 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา สอบปลายภาค (บทที่ 9 และ 10) 18 25%
เอกสารประกอบการสอน วิชาการบัญชีต้นทุน โดย อ.ดร.วรีวรรณ  เจริญรูป (ปรับปรุงครั้งที่ 3 ปี 2561)
Cost Accounting: A Managerial Emphasis (15th edition) By Charles T. Horngren, Srikant M. Datar, Madhav V. Rajan (2014)
Cost Accounting By: Cecily A. Raiborn and Michael R. Kinney (2010)
การบัญชีต้นทุน โดย รศ.ดร.มนวิกา  ผดุงสิทธิ์ (2557)
การบัญชีต้นทุน โดย รศ.สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์ (2555)
ข้อมูลความเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชีที่เว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ www.fap.or.th
เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
จดหมายข่าวของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (FAP Newsletter)
1.1 การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนรายบุคคลและผู้เรียนรายกลุ่ม
1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.3 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
1.4 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์
2.1 ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์
2.2 ผลการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแผนบริหารการสอน
2.3 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเรียนและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.4 ผลงานของนักศึกษาที่ได้มอบหมายในระหว่างเรียนและผลการสอบปลายภาคเรียน
2.5 การทดสอบประเมินผลการเรียนรู้
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนและหลักการบัญชีเพื่อประกอบการตัดสินใจ
3.1 แก้ไขเนื้อหาและยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับการผลิตของอุตสาหกรรมที่หลากหลาย และให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
3.2 สอบถามนักศึกษาถึง การเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
3.3 การวิจัยทั้งในห้องเรียนและการวิจัยนอกห้องเรียน
ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด
4.1 มีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่มของผู้เรียน โดยผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาที่ผิดปกติหรือไม่ และมีการแจ้งผลของคะแนนที่ได้รับเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
4.2 ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด
5.1 นำข้อมูลที่ได้ผลจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในรายวิชา การประเมินผู้สอนและนำผลการสอนมาใช้พัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไปให้ดีขึ้น
5.2 ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาทุกปี
5.3 ฝ่ายวิชาการเป็นผู้นำเสนอข้อสอบและการตัดเกรด ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2 ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และเนื้อหารายวิชา